• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

รายการหมอกล้าเล่า

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข

November 13, 2020 by Gla Leave a Comment

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข EP. 4 โรคอ้วน

เวลาที่มีคนบอกว่าคุณอ้วน จริงๆแล้วคุณอ้วน จริงหรือเปล่า เราจะมีวิธีเช็คและดูแลตัวเองยังไง มาชมคลิปนี้กันนะครับ 

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการหมอกล้าเล่า ผมหมอกล้านะครับ หรือชเนษฎ์ ศรีสุโข  

ทำไมใครๆ ก็พูดว่าตัวเองอ้วน แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าอ้วน ในทางการแพทย์ เรามีวิธีการเช็คโดยใช้ค่า BMI หรือ Body mass index นั่นคือ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม แล้วหารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ถ้าค่า BMI เกิน 25ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน  

เรามาลองคำนวณกันได้เลยนะครับตามสูตรนี้ได้เลยนะครับ 

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข

คนที่เป็นโรคอ้วน ควรที่จะลดน้ำหนัก เพราะลดวันนี้ สุขภาพดีวันนี้เลยครับ 

ที่มาของโรคอ้วน 

สำหรับโรคอ้วน จริงๆแล้วถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความซับซ้อนมากและเกี่ยวข้องกับเรื่องของไขมันในร่างกายที่เยอะขึ้นโดยตรง มี 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

1. พันธุกรรม  

2. โรคแอบแฝงที่อาจมีส่วนก่อให้เกิด โรคอ้วน เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน โรคทาง Metabolism หรือการทำงานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป  

3. อาหาร หากเรารับประทานไม่เหมาะสม โดยนำพลังงานเข้าร่างกาย มากเกินความจำเป็น ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือ ถูกเก็บสะสมเป็นไขมัน 

4. การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยเราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับปริมาณพลังงานที่เรารับประทานเข้าไป 

5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน การนอน ความเครียด ความยากจน หรือ อื่นๆ 

“ความอ้วน” ไม่ใช่แค่เรื่อง “ความสวยงาม” แต่เป็นปัญหาเชิงการแพทย์ เพราะส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย เกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้แก่  

– อาการกรน ส่งผลทำให้ Oxygen ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ 

– เข่าทรุด เข่าเสื่อม จากการที่ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาทางสมรรถภาพทางเพศ ทำให้มีบุตรยาก กรดไหลย้อน โรคหัวใจ โรคทาง Metabolism เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และยังมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย 

เมื่อไหร่ที่คุณควรต้องไปพบแพทย์ ?

เมื่อคุณรู้สึกว่า ความอ้วนทำให้เริ่มมีปัญหากระทบต่อสุขภาพของร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย ภูมิแพ้กำเริบ เข่าเสื่อมเข่าทรุด หลังพัง มีปัญหาหัวใจ  

คุณควรจะต้องรีบไปพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยผมแนะนำให้ไปพบคุณหมอ ที่สามารถรักษาด้วยการให้ยาลดน้ำหนักที่ควบคุมอย่างถูกกฎหมาย และที่สำคัญ เราต้องติดตามเรื่องของน้ำหนักและอาการอื่นๆร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ใช่กินแล้วน้ำหนักจะลดได้เลยในทันที อย่างไรก็ต้องใช้เวลา  

โดยส่วนตัวของผมเอง ผมรักษาด้วยการให้กินยา และติดตามคนไข้ทุกเดือน “อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง” รวมทั้งให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เพื่อเสริมให้การลดความอ้วนได้ผลดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ 

– การออกกำลังกาย วันละ 30-45 นาที นับเวลาตั้งแต่เหงื่อออกเป็นต้นไป การออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ไทเก๊ก มวยไทย หรืออื่นๆ  

– การควบคุมอาหาร เน้นอาหาร ต้ม นึ่ง ปลา ผักผลไม้ หรือวิตามินเสริม เพราะบางทีการที่เราจำกัดอาหารมากเกินไป จะทำให้วิตามินบางอย่างที่ละลายในไขมันไม่สามารถดูดซึมได้ดี 

– การปรับพฤติกรรมการนอน ให้หัวค่ำขึ้น เพราะการนอนดึก สมองจะรวน และทำให้อ้วนขึ้นได้ 

สำหรับวันนี้รายการหมอกล้าเล่า ก็ขอขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ สวัสดีครับ 

อ่านบทความย้อนหลัง “หมอกล้าเล่า”

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

หมอกล้าเล่า ตอนแรก The Origin

หมอกล้าเล่า ตอน 2 เรื่องสิว

10 คำแนะนำสิว

4 สาเหตุการเกิดสิว และการรักษา

Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: BMI, Body Mass Index, Obesity, ชเนษฎ์, รักษาโรคอ้วน, รายการ, รายการหมอกล้าเล่า, ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า, โรคอ้วน

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

October 30, 2020 by Gla Leave a Comment

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

EP. 1 หมอกล้าเล่า The Origin  

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่รายการ “หมอกล้าเล่า” ผมหมอกล้า หรือ ชเนษฎ์ ศรีสุโข 

วันนี้ผมพามาทัศนาจรที่ “บึงสีไฟ” จังหวัดพิจิตร ซึ่ง (เคย) เป็นบึงที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ที่นี่เป็นบึงน้ำจืด เลยทำให้มีจระเข้เยอะมาก และต่อมาก็มีบ่อจระเข้นี้เกิดขึ้นครับ (จากที่มาของเมืองชาละวันนั่นเอง)  

“บ่อจระเข้” อาจเรียกได้ว่าเป็น “Unseen ของจังหวัดพิจิตร” เลยก็ว่าได้ โดยส่วนตัวผมเองเกิดที่จังหวัดพิจิตรนะครับ และผมคิดว่าบางคนอาจไม่รู้ว่ามีที่แห่งนี้อยู่ เพราะที่นี่มักเป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ น่าจะเหมาะสำหรับใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และราคาก็ไม่แพงครับ 

หน้าบ่อจระเข้ มีไก่ที่ตายแล้วขายให้สำหรับคนที่อยากลองให้อาหารจระเข้ ราคาจานละ 20 บาท และมีผักบุ้งเป็นกำๆ สำหรับให้อาหารเต่า ราคากำละ 10 บาท  

คราวนี้ผมจะพาเดินด้านในของบ่อจระเข้ โดยรอบทางเดินทั้งหมดจะเห็นว่ากรงมีความสูงปิดจนถึงหลังคาด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใหญ่หรือเด็กตกลงไปในบ่อ เพราะว่าเมื่อก่อนมีกรงแค่ครึ่งเดียว แล้วมีคนเคยตกลงไปในบ่อ เรื่องนี้น่ากลัวมากครับ เพราะคนที่ตกลงไปนั้น เหลือแต่คอ… 

ผมเคยมานั่งนับจำนวนจระเข้ที่นี่ พบว่ามีจระเข้ ประมาณ 100 กว่าตัว และบริเวณด้านใน มีป้าย “ห้ามทิ้งขยะ” เนื่องจากในอดีตมีจระเข้บางตัวรูปร่างผอมแห้ง แล้วป่วยตายไป เพราะมากินถุงพลาสหรือขวดพลาสติก ซึ่งเกิดจากการคนที่มาเที่ยวโยนขยะลงไปในบ่อ ผมขอรณรงค์อย่าให้ขยะกับสัตว์นะครับ เพราะจะเป็นการทำร้ายพวกเขา 

โดยพื้นฐานนิสัยของจระเข้แล้ว เมื่ออากาศร้อนจระเข้จะชอบอยู่ในน้ำ แต่บางตัวก็ชอบอยู่บนบกซึ่งแล้วแต่สภาพอากาศครับ ตัวที่อยู่ในน้ำเค้าจะชอบทำตัวนิ่งๆเหมือนขอนไม้ แต่จริงๆแล้ว เขาพร้อมจะงับเหยื่อตลอดเวลา 

บริเวณตรงกลางทางเดินของบ่อ เราจะเห็น จระเข้ตัวใหญ่ตัวนี้ถูก staff ไว้ ตัวนี้มีชีวิตอยู่มานาน ผมเห็นมาตั้งแต่สมัยผมยังเป็นเด็ก และตอนนี้เค้าถูกเอามา staffไว้โชว์ให้คนที่มาเที่ยวได้ดู ซึ่งด้านล่างจะมีชื่อของจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์และรายละเอียดต่างๆ โดยจระเข้ที่บึงนี้เป็นจระเข้น้ำจืดครับ 

วันนี้ผมจะโชว์วิธีการให้อาหารจระเข้ โดยเราต้องโยนอาหารผ่านช่องเหล็กที่ทางบ่อจัดไว้ให้ พอเราโยนลงไปแล้ว จระเข้ก็จะมากินทันที เพราะมันพร้อมกินและพุ่งเข้ามาด้วยความรวดเร็ว 

จริงๆแล้ว ในสมัยก่อนเราสามารถให้อาหารจระเข้บริเวณบ่ออนุบาลอีกฝั่งนึงได้ แต่เค้ากลัวคนตกลงไป คือ ปกติแล้วมุมที่บ่ออนุบาลนี้ถ้าเราโยนอาหารลงไป เราจะเห็นจระเข้ที่อยู่บนบกรีบคลานมากินทันทีเลยครับ 

เอาหล่ะครับ ผมพาเดินออกมาชมวิวบึงด้านนอก ในสมัยก่อนตัวเมืองพิจิตรมีลักษณะเป็นบึงกับหนองน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทางด้านขวามีสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่าครับ มองตรงไปจะเห็นอาคารแปดเหลี่ยม ซึ่งด้านในมีพิพิธภัณฑ์น้ำจืด เป็นสถานแสดงพันธ์ปลาเฉลิมพระเกียรติและมีบ่อให้อาหารปลา พร้อมมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์มีจระเข้ตัวใหญ่ ชื่อเจ้าศรี มีอายุ 30 ปี ส่วนการเข้าภายในพิพิธภัณฑ์นั้นหากใครอยากเห็นว่าเป็นยังไง ต้องมาดูเองนะครับ 

สุดท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนให้ทุกคนมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ณ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์การให้อาหารจระเข้ ราคาไม่แพง รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์และได้ท่องเที่ยวไปในตัวครับ 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข 

(หมอกล้า) 

FB: www.facebook.com/chanesd

ประวัติผู้เขียน https://www.bloggla.com/?page_id=27

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า
Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: Chanesd, Chanesd Srisukho, Crocodilefeed, Phichitprovince, Srisukho, Thailand, ชเนษฎ์, บ่อจระเข้, บึงสีไฟ, พิจิตร, ศรีสุโข, ศาลาแปดเหลี่ยม, หมอกล้า, หมอกล้าเล่า, เด็กพิจิตร, เด็กเข้, เด็กเข้ห์, ให้อาหารจระเข้

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ

October 25, 2020 by Gla Leave a Comment

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ

บทความนี้เป็นการแกะสคริปต์ รายการหมอกล้าเล่า ตอนพิเศษ AI กับ วงการแพทย์

คุณรู้หรือไม่ว่า A.I. มีบทบาทสำคัญกับวงการแพทย์ ถ้าอยากรู้ติดตามดูคลิปนี้นะครับ  

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการหมอกล้าเล่า ผมหมอกล้านะครับ หรือ ชเนษฎ์ ศรีสุโข  

AI หรือ Artificial intelligence  ได้มีความสำคัญกับโลกของเราในปัจจุบันมากขึ้น จนกลายเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของโลกในยุคถัดไป 

AI คือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ การที่หุ่นยนต์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น มีการพัฒนาสมองที่ไปไกลกว่ามนุษย์ ซึ่งมีศัพท์คำนึงที่น่าสนใจ คือคำว่า “Singularity” 

โดย Singularity คือ วันที่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ จะมีความฉลาดเหนือมนุษย์ มี Productivity และสามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่า 

ย้อนไปในอดีต อะไรที่ทำให้เกิด “จุดเปลี่ยน” ของมนุษยชาติ  

จากหนังสือเรื่อง “Homo sapiens” หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนโดยนายแพทย์จากประเทศอิสราเอล ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นึงในอดีต ที่ทำให้มนุษย์เกิดการพัฒนาสมองอย่างก้าวกระโดด นั่นคือ เหตุการณ์ที่มนุษย์ได้ค้นพบ “ไฟ” 

การค้นพบไฟ ทำให้ แทนที่มนุษย์จะเอาสมองไปคอยตามหาแสงสว่าง อาหาร หนีศัตรู หรืออื่นๆ มันทำให้มนุษย์สามารถ “พลิกเกมส์” จาก “ผู้ถูกล่า” เป็น “ผู้ล่า” 

หลังจากนั้น สมองของมนุษย์ได้พัฒนาก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องมาคอยคิดเรื่องหนีอันตราย จึงทำให้เกิดการพัฒนาด้านภาษาควบคู่ไปกับวัฒนธรรม และในเวลาต่อมา “เรื่องเล่า” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น 

            ในหนังสือ “Homo sapiens” ได้กล่าวว่า หากเราปล่อยให้คนอยู่รวมกันตามธรรมชาติ จะอยู่รวมกลุ่มกันได้ไม่เกิน 150 คน ถ้าไม่มี เรื่องเล่า ความเชื่อ หรือสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน  สักพักคนกลุ่มนี้จะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ 

เรื่องเล่าร่วมกันในอดีต นั้นเริ่มมาจาก การบอกต่อๆกันว่า มีศัตรู แหล่งน้ำ หรือแหล่งอาหารอยู่ตรงไหน  

จนกระทั่ง “เรื่องเล่า” ได้พัฒนามาเป็น “หลักการมโนธรรม” ที่มีคุณค่า ซึ่งได้แก่ “ศาสนา” “คุณงามความดี” รวมไปถึง “ความเป็นชาติ” และ “กฎหมายต่างๆ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสเรื่องราวนั้นๆในประสบการณ์เดียวกันเลยด้วยซ้ำไปครับ 

เรื่องที่เล่ามานี้ คือ กลไกและวิวัฒนาการการพัฒนาของมนุษย์ โดยหลังยุคการค้นพบไฟและหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยี A.I. กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สำคัญที่ทำให้มนุษยชาติก้าวไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

บทบาทของ A.I. กับการแพทย์นั้น มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณหมอและทีมงาน รวมไปถึงทีมสาธารณสุข ในการช่วยดูแลผู้ป่วยหลายๆด้าน ได้แก่ 1. การตรวจ 2. การวินิจฉัย 3. การรักษา  

อาทิเช่น คุณหมอสามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถวินิจฉัยลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ คุณหมอสามารถตรวจความผิดปกติ (Pathology) ของสมอง ช่องท้อง หรือช่องอก ด้วยการอ่านภาพ Imaging ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CT หรือ X-ray เพื่อให้วินิจฉัยมีความผิดปกติได้ด้วยฟิล์มต่างๆ ทำให้คุณหมอและทีมสามารถวางแผนการรักษาร่วมกับคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในด้านคุณหมอผิวหนัง ระบบ A.I. เข้ามามีบทบาทในเรื่อง การสร้างภาพถ่ายของผิวหนังคนไข้ เพื่อช่วยคุณหมอในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของโรคผิวหนัง ทำให้การวางแผนการรักษารวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น 

ในด้านคุณหมอผ่าตัด ระบบ A.I. เข้ามามีบทบาทในเรื่องการใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) หรือแม้กระทั่ง สถานพยาบาลต่างๆ ก็มีหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการดูแลคนป่วย  

ถึงแม้ว่า A.I. จะมีบทบาทในด้านการแพทย์มากแค่ไหนก็ตาม กฎหมายของแต่ละประเทศยังคงให้คุณหมอและทีมเป็นผู้ดูแลและควบคุม เพื่อป้องกันความผิดพลาดของระบบ 

ในประเทศไทย มีคณะแพทย์หลายที่ ได้มุ่งเน้นเรื่องของการเรียนหมอและเรียนรู้เพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีร่วมด้วย ซึ่งบางที่ มีการผลักดันให้เรียนแพทย์จบ ป.ตรี และได้ปริญญาโทเกี่ยวกับด้านวิศวกรรม A.I. ร่วมด้วย   

ปัจจุบันนี้ การเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเทคโนโลยีการแพทย์ หรือ เทคโนโลยี A.I. เราพบว่า ได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นแรงงานที่ต้องการในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน 

เทคโนโลยี A.I. นั้น ก็ได้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่มีความรวดเร็ว คือ 5G และ 6G  ซึ่งทำให้คุณหมอสามารถทำอะไรได้อย่างฉับไวมากขึ้น อาทิเช่น คุณหมอสามารถดูแลคนไข้อีกซีกโลกนึงได้ผ่านทางระบบ A.I. ได้เลยครับ 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดยังคงเป็น “คุณหมอ” ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลคนไข้ เพราะการสื่อสารที่ดี การสื่อสารจากใจถึงใจ และการอธิบาย ทำให้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพื่อร่วมกันหาแนวทางดูแลรักษา ก่อให้เกิดความผูกพันที่ดีต่อกัน 

“องค์กร” ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทางการแพทย์ไทยโดยตรง คือ “แพทยสภา”  

“แพทยสภา” ก่อตั้งขึ้นตาม “พระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม” โดยคุณหมอในปัจจุบันสามารถร่วมเลือกตั้ง เพื่อให้มีทีมกรรมการ มาคอยดูแลเกี่ยวกับเรื่องการออกกฎหมายทางการแพทย์ และเป็นตัวแทนของแพทย์ไทย เพื่อนำเสนอนโยบายต่อรัฐบาล ซึ่งต่อไปเราจะต้องมีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมเรื่อง A.I. ซึ่งเรื่องที่เราได้ยินบ่อยๆ คือ การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine  

ในช่วงนี้ แพทยสภาก็มี “การเลือกตั้ง” ซึ่งปีนี้เราใช้ระบบออนไลน์ นี่ก็เป็นเรื่องของการที่ A.I. เข้ามีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมองย้อนไปในสมัยก่อน เราเลือกตั้งด้วยการใช้กระดาษและดินสอ 2B แต่ปัจจุบันไปจนถึงอนาคต คนรุ่นใหม่ๆ สามารถเลือกตั้งออนไลน์ได้ ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น 

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็น A.I. , Telemedicine หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “พวกเราทุกคนมีส่วนร่วม” เพื่อมา “เปลี่ยนแปลง” และ“พัฒนาการแพทย์” ไปด้วยกันนะครับ 

ขอบคุณครับ ชเนษฎ์ ศรีสุโข (หมอกล้า)

FB: www.facebook.com/chanesd

ประวัติผู้เขียน https://www.bloggla.com/?page_id=27

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ, รายการหมอกล้าเล่า Special Episode คุณหมอกล้าวิเคราะห์เรื่อง AI กับวงการแพทย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องนี้
Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: A.I., AI กับวงการแพทย์, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, วงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, แพทยสภา

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.