• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

บทความ

เตือนใจตน เมษารำลึก

April 24, 2010 by Gla 1 Comment

เตือนใจตน เมษารำลึก

บทความนี้ได้รับเกียรติตีพิมพ์ลงวารสาร demo-crazy.com ฉบับที่ 17 หน้า 29 เดือน มีค-เมย 53

ชเนษฎ์ ศรีสุโข

 

มีคนบอกคนไทยลืมง่าย เราชอบลืมประวัติศาสตร์ เราไม่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์…

ทุกวันนี้ คงไม่นับถึงเหตุการณ์ ตุลา14, 16 หรือ พฤษภา 35 แม้แต่เหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่ผู้ชุมนุมถูกตำรวจสลายการชุมนุมด้วยวิธีผิดสากล จนสูญเสียอวัยวะ บาดเจ็บ สูญสิ้นชีวิตกันไปมาก เหตุการณ์นี้คนจำนวนมากเริ่มไม่รำลึกถึงแล้ว และเชื่อว่าในอีกแต่ละปีที่ผ่านไป ผู้คนจะลืมเลือนกันไปมากขึ้น เหมือนงานตุลารำลึก ที่สุดท้ายเหลือเพียง “ญาติวีรชน” มากระทำพิธีรำลึกกันเท่านั้น

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: 2553, การชุมนุม, การเมือง, ทักษิณ, บทความ, ประเทศไทย, รุกราน, วิกฤต, เมษายน, เสื้อแดง

ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?

October 3, 2009 by Gla Leave a Comment

ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?

ชเนษฎ์ ศรีสุโข

จากการที่เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 52 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดการ อภิปราย “3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย” ที่ห้องประชุม อาคารศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ได้ปาฐกถาในหัวข้อ“แสวงหาสาระของประชาธิปไตยสำหรับเมืองไทย”

Link ปาฐกถา ส.ศิวลักษณ์

ข้าพเจ้า นายชเนษฎ์ ศรีสุโข ใคร่ขอแสดงความคิดเห็น ในวงสนทนาระดับหนึ่ง เพื่อถกประเด็นเชิงสร้างสรรเกี่ยวกับเรื่องสาระของประชาธิปไตยให้กระจ่างชัด ดังนี้

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: สถานการณ์บ้านเมือง, ส่วนตัว Tagged: 2549, discussion, กล้า, การเมือง, ชเนษฎ์, ถกเถียง, บทความ, รถถัง, รัฐประหาร, วิจารณ์, ศรีสุโข, ส.ศิวลักษณ์

บันทึกงานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์ ครั้งที่5

August 23, 2007 by Gla 10 Comments

งานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์ครั้งนี้ จัดขึ้นที่ โรงพยาบาลราชวิถี อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ชั้น11-12 (อาคารจอดรถ) เช่นเดียวกับปีที่แล้ว เนื่องด้วยด้วยความพร้อมของสถานที่ และความสะดวกสำหรับผู้เยี่ยมชม

จัดโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท) โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมกว่า 1,700 คน

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมและทำงานด้านการเตรียมการฝ่ายสถานที่

รวมถึงได้รับฟังคำบรรยายจากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ และบังเกิดความประทับใจมากกับการตอบคำถามรวมถึงการบรรยายของวิทยากร

ที่ประทับใจที่สุด คือ ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน

ทำให้ข้าพเจ้าย้อนตอบคำถามตัวเองหลายๆอย่าง ถึงเป้าหมายชีวิตของตนเอง และการมาเรียนหมอ

แม้จะได้ไม่ได้ชอบและอยากเรียนที่สุด แต่ข้าพเจ้ามีความมั่นใจว่าสามารถเรียนแพทย์และสามารถจบแพทย์ได้

รวมถึงหลังจบแพทย์ ทั้งการเรียนแพทย์ และการทำงานเป็นแพทย์ จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยยาก ลำบาก เผาผลาญพลังงานชีวิต มากมายเช่นไร

เป็นสิ่งที่ต้องสัมผัสด้วยตนเองจึงจะทราบความเป็นจริง

ตอนนี้ เรียนรู้จากคนใกล้ตัว และบุคคลในวิชาชีพแพทย์มากมาย เป็นการเตรียมตัว เตรียมใจ เพื่อจะพบกับชีวิตของความเป็นหมอ

งานนี้เป็นการตอบคำถามแก่น้องๆที่ยังไม่ทราบความเป็นจริง และน้องๆที่สนใจจะเรียนวิชาชีพแพทย์ รวมถึงน้องๆที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียนแพทย์

ต้องมารับทราบความเป็นจริง และเตรียมตัว เตรียมใจ รู้รายละเอียดเบื้องลึกของการเรียนแพทย์ รวมถึงการเรียนแพทย์ในแต่ละสถาบัน

ที่คัดลอกมาไว้นี้ เป็นเนื้อหาส่วนสำคัญ บางส่วน จากงานวันนั้น รวมถึงบทความจากหนังสือในงาน


ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า การเรียนแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่นักเรียนหลายคนคิด นักเรียนที่ตัดสินใจเข้ามาเรียนจะต้องพบกับความเหนื่อยยาก ตลอดทั้งชีวิตอาจจะต้องทิ้งการแสวงหาความสุขอย่างที่คนอื่นมี สิ่งที่จะต้องมี ความอดทน ขยัน เสียสละ และรับผิดชอบ การเรียนแพทย์ใช้เวลา 6 ปี หลังจากเรียนจบต้องทำงานใช้ทุนคืนให้ประเทศอีก 3 ปี หลังจากนั้นถึงจะมีโอกาสไปศึกษาต่อแพทย์สาขาเฉพาะทางอีก 3-5 ปี

พร้อมกันนี้ นักเรียนแพทย์จะต้องรักษาสุขภาพ ระมัดระวังอย่าให้ป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างศึกษา ซึ่งจะทำให้เรียนไม่ต่อเนื่อง ขณะที่เรียนหนักจนแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัว ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวนักเรียนต้องมีความเต็มใจ ต้องอยากเรียนเอง ไม่ใช่เพราะผู้ปกครองอยากให้เรียน หรือเรียนตามเพื่อน หรือเรียนเพราะอยากมีเกียรติ อยากมีรายได้ดี ซึ่งจะทำให้เมื่อเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่จบ

“มีนักเรียนบางคนเพราะตามใจพ่อแม่ เรียนตามเพื่อน ซึ่งไม่ได้อยากเรียนแพทย์จริงๆ หรือไม่ได้เต็มใจอยากเรียนแพทย์ เข้ามาจะมีปัญหามากในการเรียน บางคนสอบตกต้องเรียน 9-12 ปี เมื่อจบไปก็ไม่ได้เป็นแพทย์ บางคนเปลี่ยนเส้นทางไปเลย แต่บางคนก็ไปทำงานเป็นฝ่ายบริหารของโรงพยาบาล หรือห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งก็ถือว่าไม่ห่างจากวิชาชีพนัก จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ การสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หากไม่ตั้งใจเรียนจะสอบไม่ได้ ก็จะไม่ได้เป็นแพทย์เช่นกัน” ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร กล่าวถึงคนที่อยากเรียนแพทย์จริง ๆ แต่ไม่มีเงิน ขอให้แสดงความตั้งใจมุ่งมั่นให้ชัดเจน เพราะทุนที่ให้แก่ผู้เรียนแพทย์มีอยู่มากและเพียงพอ แต่เมื่อเรียนจบอาจต้องทำงานใช้คืนทุนนานกว่าคนอื่น

ในขณะนี้ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน แต่ที่เหมาะสม น่าจะไปถึง 1 ต่อ 800 คน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกนานกว่า 10 ปี แต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์เรียนจบประมาณ 1,250 คน การศึกษาแพทย์วิชาชีพเฉพาะทางในไทยรับได้ประมาณปีละ 300 คน ปัญหาในการเรียนการสอนแพทย์ขณะนี้อยู่ที่ปี 1-3 หรือชั้นพรีคลินิก อาจารย์จะสอนวิทยาศาสตร์แท้ ๆ โดยไม่ได้ระบุชัดเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับแพทย์ ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิรูปหลักสูตร

 

 

 

 


 

“ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นแพทย์?”

พญ.ชัญวลี ศรีสุโข

นักเขียนและสูติ-นรีแพทย์ 9 โรงพยาบาลพิจิตร

น้องๆที่รัก…

ในปีพ.ศ. 2545 สำนักพิมพ์สนุกอ่าน ได้รวมบทความเกี่ยวกับชีวิตนักศึกษาแพทย์ที่พี่เขียนลงเป็นตอนๆในนิตยสารใกล้หมอเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คเรื่อง“บันเทิงบันทึกนักศึกษาแพทย์” ตามมาด้วยพ็อคเก็ตบุ๊คเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตแพทย์ฝึกหัด “สวัสดีคุณหมอใหม่”ในปี พ.ศ. 2548 พี่จึงรู้ว่าน้องๆที่อยากเป็นแพทย์นั้น มีจำนวนมากมายทีเดียว น้องๆหลายคนติดต่อมา มีทั้งเขียนจดหมาย, อีเมล, และโทรศัพท์ แต่ละคนบอกว่า…อยากเรียนแพทย์มาก ทำอย่างไรจึงจะได้เรียนแพทย์? มีไม่น้อยที่ถามถึงเคล็ดลับที่ทำให้พี่สอบติดแพทย์ที่เขียนในหนังสือว่า เอาเท้าจุ่มน้ำเย็นจะได้อ่านหนังสือได้ทั้งคืนนั้น…เป็นเรื่องจริงไหม? น้องบางคนบอกว่าลองทำดูแล้วพบว่าไม่หลับทั้งคืนก็จริง แต่ไปหลับในห้องเรียนแทน ทำเอาเรียนไม่รู้เรื่องไปทั้งวัน

อันที่จริงคนเรานั้นมีเงื่อนไขต่างกัน ที่พี่เล่านั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่พี่พยายามกระทำเพื่อจะได้เป็นแพทย์ ชีวิตคนเรานั้น คนที่มีเงื่อนไขครบสมบูรณ์ ประเภทอยากเป็นอะไรก็เป็นได้มีน้อย ส่วนใหญ่อยากจะเป็นอะไร โดยเฉพาะเป็นให้เก่งให้ดี ต้องใช้ความพยายามสูงสุดทั้งนั้น ตอนเด็กๆชีวิตพี่ลำบาก เป็นเด็กกำพร้าขาดแคลน เผอิญไปรู้จักนักศึกษาแพทย์และทีมแพทย์จากญี่ปุ่นที่มาทำงานวิจัยที่โรงเรียน จึงใฝ่ฝันอยากเรียนแพทย์ การเป็นแพทย์ของพี่จึงเป็นเรื่องที่ลำบากฝ่าฝันกว่าจะประสบความสำเร็จแม้ไม่ใช่คนทุกคนที่จะเรียนแพทย์ได้ แต่การเรียนแพทย์ไม่ใช่ของไกลจนสุดเอื้อมการสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ อาศัยคุณสมบัติเพียง 2ประการจ๊ะน้อง ประการที่หนึ่ง เรียนดีเรียนเก่ง

คนจะเรียนแพทย์ได้ ควรเรียนเก่งเป็นอันดับต้นอย่างน้อยร้อยละสิบของนักเรียนทั้งหมด วิชาที่ต้องเก่งระดับยอดเยี่ยมได้แก่วิชาคณิตศาสตร์ ระดับดีถึงดีมาก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ส่วนอย่างอื่นๆอย่างน้อยต้องระดับดี ไม่ว่าสังคม ภาษาไทย พละศึกษาฯลฯ วิชาเหล่านี้แม้ไม่ใช่พื้นฐานของการเรียนแพทย์ทุกวิชา แต่การเรียนเก่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะวิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชามากมาย หลายอย่างอาศัยความจำที่เป็นเลิศ บางอย่างซับซ้อนเข้าใจยาก บางอย่างอาศัยการคำนวณ บางอย่างอาศัยภาษาอังกฤษที่แตกฉาน บางอย่างอาศัยความคิดเป็นเหตุเป็นผลฯลฯ เรียกว่าจะเรียนรู้ให้เข้าใจ เกือบทุกเรื่องล้วนต้องอาศัยสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดเป็นหลัก

ประการที่ 2 ร่างกายแข็งแรง โอบอ้อมอารี มีเมตตา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ ฯลฯ

อันที่จริงเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับหนึ่งเพราะเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะเป็นแพทย์ แต่ที่เขียนเป็นประการสอง เพราะแม้บางส่วนเป็นคุณสมบัติที่ครอบครัวและตนเองสร้างมา แต่บางส่วนอาจเป็นเรื่องสร้างขึ้นภายหลังได้ ข้อสอบเข้าแพทย์ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นข้อเขียน สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ส่วนหนึ่งมุ่งเน้นเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้

แค่มีคุณสมบัติ2 ประการนี้ น้องย่อมสอบเข้าแพทย์ได้แล้ว เย้…

แต่การสอบเข้าได้ ไม่ได้ประกันว่าน้องสามารถเรียนจนจบเป็นแพทย์ น้องนักเรียนหลายคนเมื่อสอบเข้าแพทย์ได้ คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จ บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของตนเองและผู้ปกครองจนเลือกใช้ชีวิตอย่างประมาท ในขณะความเป็นจริงคือ การจะเรียนจนจบแพทย์ได้ อาศัยคุณลักษณะที่จำเป็นอีกหลายประการ ขอยกมาเพียง7ประการได้แก่

ประการที่ 1  ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง ไม่มีโรคจิต โรคประสาท สามารถทนต่อสภาวะที่เครียดได้

แม้มีการคัดคุณสมบัติบุคคลก่อนเรียนแพทย์ แต่อาจไม่สามารถเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้หมดจริง คนที่มีร่างกายป่วยกระเสาะกระแสะ จิตใจอ่อนแอไม่อาจรับความกดดันใดๆ หรือเครียดง่าย ล้วนเป็นอุปสรรคของการเรียนแพทย์ ส่งผลให้น้องเรียนไม่จบ หรือเกิดความเครียด จนมีบางรายต้องปลิดชีวิตตนลง ซึ่งมีทั้งที่เป็นนักศึกษาแพทย์ และที่เรียนจนจบแพทย์แล้ว

ประการที่2 ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีวินัยและความรับผิดชอบ

คนที่สอบเข้าแพทย์ได้ ส่วนใหญ่ต้องมีวินัยในการใช้ชีวิต รับผิดชอบอ่านหนังสือ ติวความรู้ฯลฯ จนผลการเรียนดีเด่น แต่เมื่อสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ บางคนคิดว่า ขอเรียนให้ผ่านก็พอ ไม่จำเป็นต้องเอาจริงเอาจัง จึงย่อหย่อนวินัยและความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ฝากชีวิตไว้กับการดูแลเอาใจใส่ของแพทย์ ในแต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์ที่ถูกรีไทร์จากการขาดวินัยและความรับผิดชอบ สมัยที่พี่เป็นนักศึกษาแพทย์ เพื่อนนักศึกษาแพทย์ที่ถูกรีไทร์มีหลายคน ส่วนหนึ่งในจำนวนนั้นไม่อ่านหนังสือไปสอบ, ไม่ไปขึ้นวอร์ด(ตึกคนไข้), ไม่ดูแลคนไข้ที่รับผิดชอบ, บางคนไม่ไปเรียนแต่เพลิดเพลินกับการเล่นไพ่อยู่ที่หอทั้งวันทั้งคืน

ประการที่3ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่พร้อมจะใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น

ทันทีที่ก้าวเข้ามาในวิชาชีพแพทย์ เวลาส่วนตัวของน้องไม่ใช่ของน้องคนเดียว ไม่ว่าอยู่เวรหรือไม่ หากน้องถูกตาม น้องต้องพร้อม ไม่ว่าน้องจะทำอะไรอยู่ หากมีคนไข้อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิต ทุกอย่างที่ทำอยู่ต้องกลายเป็นรอง ด้วยการช่วยชีวิตคนไข้นั้นมีความสำคัญที่สุดสำหรับคนที่จะเป็นแพทย์

ประการที่ 4 ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีความอดทน

ทั้งอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย เช่นอยู่เวรทั้งคืน แต่เช้าต้องมาทำงานหรือมาเรียน เหมือนคนนอนหลับสบายทั้งคืน ทั้งอดทนต่อของที่น่ารังเกียจ เช่นต้องตรวจ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด  น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ อวัยวะที่เปื่อยเน่า ฯลฯ

น้องบางคนรักของสวยของงามมาก ไม่อาจทนได้กับสิ่งเหล่านี้ จนเปลี่ยนคณะเรียนก็มี

ประการที่ 5 ความเป็นแพทย์ต้องการคนสนใจใฝ่รู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง

วิชาแพทย์ เป็นวิชาที่กว้างและลึกไม่มีวันเรียบจบ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ การรักษา เวชภัณฑ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไปฯลฯ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แค่ในตำราอาจไม่พอที่ทำให้น้องสอบผ่าน รับใบอนุญาตหรือใบประกอบโรคศิลป์เพื่อเป็นแพทย์ได้

ประการ6 ความเป็นแพทย์ต้องการคนมีจริยธรรม

อันที่จริงวิชาใดๆในโลกนี้ล้วนต้องการคนมีจริยธรรมทั้งนั้น แต่ เรื่องนี้เป็นเรื่องกำหนดไว้ในคุณสมบัติของวิชาชีพแพทย์ ดังนั้นหากน้องทำผิดจริยธรรม ซึ่งอาจไม่ผิดร้ายแรงสำหรับบางอาชีพ แต่วิชาชีพแพทย์ถือว่าเป็นความผิดอย่างรุนแรง จนอาจเรียนไม่จบ เช่นโกหกหลอกลวง ประเภทไม่ได้ตรวจคนไข้บอกว่าตรวจแล้ว ลอกงานคนอื่นมาส่งอาจารย์เป็นงานตนเองเป็นต้น

ประการ7  ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีความมุ่งมั่น มีปณิธาน

น้องที่จะเรียนแพทย์ ควรเป็นผู้ต้องการเป็นแพทย์จริงๆ นั่นหมายความว่าน้องควรต้องเรียนรู้ เข้าใจ และศรัทธาวิชาชีพแพทย์ ซึ่งจะทำให้น้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่ก่อนสอบเข้าแพทย์ เมื่อสอบได้ การใช้ชีวิตแบบที่ความเป็นแพทย์ต้องการ จะส่งผลทำให้น้องประสบความสำเร็จ เรียนจบ ได้ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามที่น้องใฝ่ฝัน

น้องๆที่รัก…

ก่อนจบ พี่ขอฝากถึงท่านผู้ปกครองและน้องๆที่ต้องการเป็นแพทย์ในเรื่องที่สำคัญมากเรื่องหนึ่ง คือความเชื่อว่าวิชาชีพแพทย์นั้นร่ำรวย จนทำให้หลายคนอยากเป็นแพทย์เพราะเหตุนี้

วิชาชีพแพทย์นั้นยังไม่มีการตกงานตั้งแต่อดีตมาจวบปัจจุบัน แพทย์ไม่ยากจน แต่ก็ไม่ร่ำรวย เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ(ที่ทำงานอย่างเหนื่อยยาก, ทุ่มเทเวลา, และใช้สมองที่ชาญฉลาด เท่าๆกัน)… วิชาชีพแพทย์ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า จนมีอาจารย์แพทย์บางท่านบอกว่า…ค่าตอบแทนหมอน้อยกว่าหมอนวดฝ่าตีน มิหนำซ้ำยังมีความเสี่ยง ต่อการติดโรค ถูกฟ้องร้อง เสื่อมสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว(เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว)

อย่างไรก็ตาม แพทย์เป็นวิชาชีพที่มีโอกาสได้สร้างบุญบารมี การทำงานด้วยพรหมวิหาร4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์และผู้ตกทุกข์ได้ยาก สามารถสร้างความปลื้มปีติในหัวใจของตนเองและครอบครัวอย่างหาอาชีพอื่นเทียบเทียมได้น้อย มิหนำซ้ำ วิชาชีพแพทย์ยังทำให้ปลงตก เห็นความอนิจจังของชีวิต ด้วยการใกล้ชิดวัฎจักรเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน…

ดังนั้นหากลูกหลานท่านผู้ปกครองเลือกวิชาชีพนี้ จงภูมิใจ สนับสนุน
และช่วยเหลือเขา เพราะวิชาชีพนี้มีแต่ส่งเสริมให้เขาเกื้อกูลเอื้ออาทร เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก รวมทั้งสั่งสมแต่ความดีไปตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันที่คิดจะย่างก้าวเข้าสู่วิชาชีพแพทย์©

 

 

Posted in: วงการแพทย์ Tagged: งานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์, ชัญวลี, ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นแพทย์, บทความ, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, ศรีสุโข

อวดผลงานวิชาคอมพิวเตอร์

March 21, 2007 by Gla 12 Comments
การบ้านวิชาคอมพิวเตอร์ หัวข้อ “ชีวิตในรั้วโรงเรียนมัธยม” ไม่เกิน20 บรรทัด

 

นักศึกษาทุกคน ก่อนที่จะมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ ทุกคนย่อมเคยเป็นนักเรียน และผ่านโรงเรียนมัธยมมาด้วยกันทั้งนั้น

ย้อนนึกถึงสมัยเมื่อเราเรียนอยู่มัธยม ช่างแตกต่างกับชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัยเสียเหลือเกิน

ข้าพเจ้าเรียนจบมัธยมต้นจากโรงเรียนนครสวรรค์ห้องคิงและเป็นห้องโครงการดาวรุ่งมุ่งสู่โอลิมปิก จบมัธยมปลายจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่เป็นโรงเรียนประจำและทุกคนเป็นนักเรียนทุน ทั้งสองโรงเรียนนี้มีความเหมือนกันบนความแตกต่าง คือได้ให้ประสบการณ์และบทเรียนที่ดีแก่ข้าพเจ้าในด้านต่างกัน แต่มีบุญคุณ ทำให้ข้าพเจ้าได้ดีจนถึงทุกวันนี้เหมือนกัน

ความสำเร็จของคนแต่ละคนนั้น กล่าวได้ว่าหนทางไกลหมื่นแสนลี้เริ่มต้นจากก้าวแรก ข้าพเจ้าเชื่อว่านอกเหนือจากครอบครัวซึ่งสำคัญเป็นอันดับหนึ่งแล้ว ชีวิตในรั้วโรงเรียนมัธยมมีส่วนสำคัญมากในการสร้างพื้นฐาน และบ่มเพาะรากฐานของชีวิตคนคนหนึ่ง สภาพแวดล้อมใน สมัยเรียนมัธยม และการสอนสั่ง ปลูกฝังจากอาจารย์ มีผลต่ออนาคตของนักเรียน ไปจนถึงจุดสูงสุดของชีวิต

สมัยมัธยมต้น ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมาโดยตลอด อยู่หอพักที่มีอาจารย์หอพักดี เอาใจใส่ และเน้นให้เด็กมีระเบียบวินัย การเรียนในห้องเรียน อาจารย์ผู้สอนมีความสามารถและทำให้ข้าพเจ้าตักตวงความรู้ได้มาก นอกจากนั้นด้วยความสนใจส่วนตัว และการสนับสนุนของอาจารย์ ข้าพเจ้าจึงมักจะแข่งขันทางวิชาการและได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศหรือระดับจังหวัด สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน ในสมัยมัธยมต้นข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจการกระทำของคนอื่นสักเท่าไร และยังช่วยเหลือเผื่อแผ่เพื่อนๆหรือสังคมได้ไม่มาก ซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ในสมัยมัธยมปลายสภาพแวดล้อมดีมากขึ้น และด้วยคุณภาพของโรงเรียน ข้าพเจ้าจึงยิ่งได้รับโอกาสมากได้พบกับสิ่งดีดี มีความรู้ ข้าพเจ้าไม่เคยต้องเรียนพิเศษเหมือนที่นักเรียนส่วนใหญ่ในประเทศเรียนกัน ข้าพเจ้ากลายเป็นนักกิจกรรม และได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย ได้ความรู้และมีความสามารถในหลายด้าน เรียกได้ว่า ความรู้นอกบทเรียน ซึ่งยังผลความสำเร็จและทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและก็ยังเป็นเช่นดังว่ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ที่นี่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จัก พบเจอกับเพื่อนที่มีความคิด มีความสามารถระดับประเทศหลายคน ข้าพเจ้าได้ประสบการณ์หลายอย่างที่ดี

ในสมัยมัธยม เรื่องหลักๆที่จะเป็นความประทับใจ และไม่ลืมเลือน สำหรับคนทั่วไป ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นเรื่อง “เพื่อน”

คุณแม่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า “เราจะสนิทกับเพื่อนตอนเป็นนักเรียนมัธยมปลาย มากที่สุด” และข้าพเจ้าเชื่อว่าคนหลายๆคนก็คงคิดเช่นกัน สำหรับข้าพเจ้าเอง คิดต่างไปเล็กน้อย เพราะข้าพเจ้าเป็นคนมีเพื่อนมาก และมีเพื่อนสนิทกันหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสมัยไหน มหาวิทยาลัย มัธยม หรือประถม จนไปถึงกระทั่งสมัยเรียนชั้นอนุบาลก็ตาม

เพื่อนในสมัยมัธยมมีผลกระทบต่อเราอย่างมาก ถ้าช่วยกันกระตุ้นการเรียนก็จะช่วยกันในทางที่ดี แต่หากชวนกันไปสำมะเรเทเมา ก็ทำให้เหลวแหลก ข้าพเจ้ามีเพื่อนทุกประเภท ตั้งแต่ขายยา เที่ยวผู้หญิง จนไปถึงระดับนักเรียนทุนโอลิมปิคต่างประเทศ ความสนิทกันนั้น ทำให้ข้าพเจ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหลายวงการ มีเพื่อนทุกวงสังคม และข้าพเจ้าไม่เคยลืมเพื่อน หมั่นติดต่อกันอยู่เสมอ

สิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าทำให้คนเราสนิทกันได้มากในสมัยเป็นนักเรียนมัธยม เป็นเพราะว่าความใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนตอนเป็นผู้ใหญ่

มัธยมที่ผ่านพ้นไปเป็นความทรงจำที่ดี เป็นเบื้องหลัง เป็นที่มาของตัวตนข้าพเจ้าในวันนี้ และสำคัญที่สุดคือเป็นแรงผลักดันให้ข้าพเจ้าและหลายๆคนเดินก้าวต่อไปในทางที่มุ่งไป เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสามารถ มีคุณธรรม ทำประโยชน์ให้แก่สังคม ไม่เสียทีที่เกิดมา ด้วยศรัทธา “สูญเสียเพื่อนดีดียิ่งกว่าเสียทรัพย์นับแสน แต่สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธายิ่งกว่าเสียเพื่อนหมื่นพันมหาศาล”


ช่วงนี้เริ่มวุ่นวายอีกแล้วครับท่าน วันนี้ไม่สามารถอัพบล็อกได้เนื่องจากติดภารกิจครับ
ดังนั้น วันนี้ จึงใคร่ขอขึ้นผลงานวิชาคอมพิวเตอร์ CSC100 ไปพลางๆก่อนละกันครับ มีสองส่วน คือ
1.เรียงความโดยใช้ Notepad 2.ผลงานวาดภาพโดยใช้โปรแกรม MS paint
[ช่างเป็นหลักสูตรการเรียนที่เก่าแก่ ขนาด Storage media ยังใช้ Floppy Disk (A:) แผ่นสี่เหลี่ยม 1.44MB รุ่นเก่ากึกอยู่เลยล่ะครับ]
Posted in: บทความ, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: กระต่าย, คอมพิวเตอร์, บทความ, มหาวิทยาลัย, รังสิต, วิชา, ศิลปะ

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.