• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

วิชาการ

Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)

April 25, 2022 by Gla Leave a Comment

คุณพ่อคุณแม่เป็นแพทย์เฉพาะทางที่เรียนเก่งและได้ออกจากเมืองใหญ่ ไปตั้งรกรากที่จังหวัดพิจิตร ด้วยอุดมการณ์แพทย์ชนบท ท่ามกลางความลำบาก การไม่พร้อม โอกาสหลายอย่างไม่มากเหมือนทุกวันนี้ พวกท่านเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดในการสร้างสรรค์เรื่องต่างๆ
พวกท่านเป็นส่วนสำคัญ พัฒนาเมือง ด้านการแพทย์ จนมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก

ตอนผมเป็นเด็ก พ่อส่งผมไปเรียนประกอบคอมพิวเตอร์ที่พันทิพย์พลาซ่า … ผมก็ค่อยๆประกอบชิ้นส่วนต่างๆ น่าจะเป็นนักเรียนที่อายุน้อยมากๆของห้างในตอนนั้น

การเติบโตของผมนั้นอยู่ในกรอบของเด็กขยันเรียน มีคุณย่า พี่หลอม อาต้อม และญาติๆดูแลในหลายช่วงชีวิต
ผมเรียนจบแพทย์ทั่วไป ปี พ.ศ.2553 ด้วยความหมั่นเพียร เป็นการเรียนที่หนักเพราะมีงานบริการคนไข้เยอะ (สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ กรมการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี และ มหาวิทยาลัยรังสิต)
เมื่อจบมาเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลรัฐบาล ภาระอีกด้านที่หนักมากคือแบ่งเวลา ช่วยกิจการครอบครัว คุณพ่อที่อุทิศตนให้โรงพยาบาลรัฐ จน วัยเกษียณ ได้เปิดโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กฯ เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชน

เวลาผ่านไป ผมมีการเรียนต่อเพิ่มเติม และเนื่องจากเวลาไม่มาก เพื่อที่จะได้กลับไปปฏิบัติงานช่วยทางบ้าน การเรียนปริญญาโทด้านผิวหนังเป็นเวลา 2ปี จึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม แรงบันดาลใจจากการประกอบคอมพิวเตอร์นำมาซึ่งการศึกษาระบบงานจากโรงพยาบาลต่างๆ และ วางรากฐานด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ให้กับระบบโรงพยาบาลศรีสุโข
และจากที่เคยเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์ (มหิดลวิทยานุสรณ์) ทำให้มีกระบวนการคิดใช้เหตุผล เชิงวิทยาศาสตร์ การตั้งปัญหา , การตั้งสมมติฐาน, การตรวจสอบสมมติฐาน, การบันทึกผลและวิเคราะห์ข้อมูล, นำไปสู่ การสรุปผล

ในครอบครัวแพทย์ที่รักษาโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทาง มีการสืบทอดสูตรการรักษาหลายประการ และมีการประชุมวิชาการกันเป็นประจำ มีการปลูกฝังจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทำให้นึกถึงสมัยเด็กที่คอยติดตามพ่อแม่ไปตรวจคนไข้ในโรงพยาบาลพิจิตร ช่วง พ.ศ. 2530-2545 และเป็นเด็กวิ่งเล่นในพื้นที่บ้านพักแพทย์ เราเห็นความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์มามาก และเฝ้าหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้อาการเจ็บป่วยของเขาดีขึ้น

เมื่อเวลาผ่านไป การให้บริการพี่น้องประชาชนมีการขยับขยาย มาอย่างต่อเนื่อง
พบว่า มีหลายอย่างที่คิดค้นพัฒนาขึ้น ผ่านประสบการณ์ 40ปี (นับจากรุ่นพ่อแม่) อันสอดคล้องกับมาตรฐานการแพทย์ปัจจุบัน บูรณาการหลายศาสตร์ มีการสร้างองค์ความรู้บางอย่าง สูตรการรักษาที่ได้รับความไว้วางใจมากพอสมควร จนได้ชื่อว่า “คำตอบสุดท้าย” ของพี่น้องประชาชน
ในส่วนของผม นอกจากเคสโรคเฉพาะทางที่ได้ช่วยดูแลกับทางโรงพยาบาลแล้ว ยังได้รักษาดูแล โรคทั่วไป การรักษาผิวหนัง ผม เล็บ เรื่องดริปวิตามิน ทำหน้า เรื่องเลเซอร์ เรื่องการลดน้ำหนัก เรื่องวัคซีน เวชสำอางและอาหารเสริม ตลอดจนโรคยากๆ หรือโรคแอบแฝง ที่ทำให้คนไข้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังไม่หายเสียที (ตัวอย่าง การรักษาสิวเรื้อรังในคนไข้เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ซึ่งเคยเขียนบทความได้รับการเผยแพร่อย่างมาก ) และโรคอื่นๆ ฯลฯ ที่ได้เรียนรู้จากการเกาะติดอาจารย์อาวุโสสมัยเรียน รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ และประยุกต์นำมาปรับพัฒนาให้เหมาะกับบริบทของสถานพยาบาลที่ผมอยู่
เมื่อทำงานนานๆไป คนก็พูดถึงและแนะนำ บอกต่อๆกันให้มาพบ มารักษาด้วย ทำให้เรามีความภาคภูมิใจในอาชีพมากขึ้น

ระหว่างที่อยู่จังหวัดพิจิตร 10 ปี ช่วงหลังได้มีการขยับขยายไปทำแผนกผิวหนังบางวัน ที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงปี พ.ศ.2563 และช่วงปลายปีเดียวกันนั้น ด้วยเสียงเรียกร้องจากคนไข้เก่าในกรุงเทพฯ จึงเริ่มกลับมาหาที่ออกตรวจที่กรุงเทพฯ
เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2564 ท่ามกลางวิกฤตโควิด ได้ก่อตั้ง มาลิคลินิกเวชกรรม (MALI Clinic) ที่สีลม ซอย 3 โดยไปคลินิกแค่เดือนละประมาณ 10 วัน

เป็นเรื่องยากลำบากสำหรับคลินิกที่เกิดขึ้นใจกลางพื้นที่ธุรกิจอย่างสีลม ที่หมอออกตรวจเพียงบางวัน สวนกระแสซบเซาของกิจการต่างๆในยุคโรคระบาด กระนั้นด้วยการเรียนรู้ที่จะปรับตัว การใช้องค์ความรู้จากทางบ้าน หุ้นส่วนที่มุมานะ (คุณมะลิ) ครอบครัวที่สนับสนุน ตลอดจนบริวารที่มีศรัทธา ช่วยกันสู้การสู้งาน สู้ชีวิต อย่างกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ก็สามารถรอดวิกฤตและเติบโตมาได้

เด็กที่ประกอบคอมพิวเตอร์เมื่อหลายสิบปีตอนนั้น กลายมาเป็นแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี การดูแลคนไข้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของคลินิก และโรงพยาบาล ก็เริ่มมีเพิ่มขึ้น การติดต่อสื่อสาร การเดินทาง ในระยะทางมากกว่าหนึ่งพันกิโลเมตรต่อสัปดาห์ ไม่ได้เป็นอุปสรรค ต่อความตั้งมั่นที่จะทำเรื่องการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น การนำนวัตกรรมใหม่ ยาใหม่ๆที่ใช้กันระดับโลก มาประกอบ (ไม่ต่างกับการประกอบคอมพิวเตอร์) เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ ในระดับที่เรียกว่า เปลี่ยนชีวิตคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

สูตรการรักษา ยา ผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์ ที่นำมาปรับใช้ และเน้นเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ สิ่งที่ใช้ต้องเป็นของแท้ ถูกต้อง เห็นผล มีงานวิจัยรับรอง
จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “สูตรต้นตำหรับ ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ (Originality)” นำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี ภายใต้การคำนึงถึงความปลอดภัย และการเห็นคนไข้คือเพื่อนมนุษย์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้นแตกต่างจากสมัยยุคพ่อแม่ เมื่อนำมาบริหารจัดการโดยใช้หลักคิดเดียวกันคือการประยุกต์อย่างไร ให้ใช้ได้ผลอย่างมีศักยภาพทวีคูณขึ้นไปอีก

ปัจจุบัน เกิดการตอบรับที่มากขึ้นมากๆ ของสังคม ขอบคุณประชาชน ทุกท่านที่สนับสนุนให้ ผมได้ทำงานด้านการแพทย์ ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตเพื่อนมนุษย์ ในวันนี้

Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)

Posted in: ข่าว, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: Dermatology, Doctor Gla, หมอกล้า, หมอกล้า Dermatology

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

March 5, 2019 by Gla Leave a Comment

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard

https://thestandard.co/author/chanesd_srisukho/

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

รู้จักหมอกล้า

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: TheStandard, คนยุคใหม่, ชเนษฎ์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, วารสาร, ศรีสุโข, หมอกล้า, หมอกล้าเล่า, เดอะสแตนดาร์ด

ประชารัฐร่วมใจ ร่วมหาทางออกให้ระบบสาธารณสุขประเทศ

September 5, 2016 by Gla Leave a Comment

ประชารัฐร่วมใจ ร่วมจ่าย ร่วมหาทางออกให้ระบบสาธารณสุขประเทศ

ประชารัฐร่วมใจ ร่วมจ่าย ร่วมหาทางออกให้ระบบสาธารณสุขประเทศ

ตีพิมพ์บทความใน Manager online วันที่ 5 กันยายน 2559

ที่มา http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000089109

ชเนษฎ์ ศรีสุโข พบ., วทม.

ภาพรวมประเทศไทยตอนนี้ กำลังการผลิตแพทย์ต่อปีเพิ่มขึ้นมาก แพทย์จบใหม่ปี พ.ศ.2558 จำนวน 2,537 คน จาก 22 โรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยและจากโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ กำลังการผลิตแพทย์นี้ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และก็กำลังมีการเปิดโรงเรียนแพทย์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ถ้าคิดคำนวณ จำนวนแพทย์ต่อประชากรไทย มีความเพียงพอมากขึ้น ขณะนี้ จำนวนแพทย์ต่อประชากรไทย น้อยกว่า 1:1500 ประชากรแล้ว ตามยุทธศาสตร์ประเทศในแผนพัฒนาสถิติ สาขาสุขภาพ ฉบับที่ 1 แม้แต่จำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็มีตำแหน่งเพิ่มมากขึ้น (ที่มาสถิติ : สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา)

ประชารัฐร่วมใจ ร่วมจ่าย ร่วมหาทางออกให้ระบบสาธารณสุขประเทศ

        ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องจำนวนแพทย์ไม่พออีกต่อไปแล้ว แต่เป็น เรื่องของปริมาณภาระงาน การกระจายตัวแพทย์ คุณภาพของการรักษา และ ภาวะความขาดทุนของระบบ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: ขาดทุน, ประชารัฐ, ร่วมจ่าย, สาธารณสุข, สามสิบบาท, เจ๊ง

ผู้เชี่ยวชาญการควบคุมความชรา บอกวิธีกินอาหารต้านโรคอัลไซเมอร์ [ Prevent Alzheimer’s Disease: Feed Your Brain Right ]

June 28, 2016 by Gla Leave a Comment

วิธีกินอาหารต้านโรคอัลไซเมอร์ Prevent Alzheimer’s Disease

วิธีกินอาหารต้านโรคอัลไซเมอร์ Prevent Alzheimer’s Disease

วิธีกินอาหารต้านโรคอัลไซเมอร์ Prevent Alzheimer's Disease

อาจารย์ ศ.นพ.ทากุจิ ชิราซาว่า เป็นอาจารย์ด้านการควบคุมความชราที่มีชื่อเสียงมาก ของประเทศญี่ปุ่น เขาพูดเกี่ยวกับเรื่องอาหารเพื่อการป้องกันโรคอัลไซเมอร์

อาจารย์บอกว่า…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: Alzheimer's, coconut oil, omega-3, omega-6, takuji shirasawa, vegetable oil

ข้อความจากปอด

December 9, 2015 by Gla Leave a Comment

สสส ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จริงหรือ? ข้อความจากปอด

Chanesd@Srisukho.com

บทความครั้งแรก วันที่ 24 กันยายน 2558

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000107799

ไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์สั้น “The Message from the Lungs” แปลเป็นไทยได้ว่า ข้อความจากปอด

The Message from the Lungs (Thai Health Promotion Foundation) from Bbdo Proximity Thailand on Vimeo.
 

ภาพยนตร์สั้นตัวนี้ เป็นโฆษณารณรงค์เลิกสูบบุหรี่ที่สร้างสรรค์ และได้รับการชื่นชมระดับนานาชาติ เรื่องของเรื่องเริ่มด้วย การเล่าถึงหมึกที่มีสีดำ เป็นหมึกพิเศษที่ใช้เวลากว่า 50 ปี ของชีวิตคนๆหนึ่งจึงจะผลิตมาได้ และ เฉลยในภายหลังว่า ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำปอดของคนสูบบุหรี่มาสกัดเป็นหมึกดำออกแสดง เป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนเพื่อรณรงค์ให้คนเลิกสูบบุหรี่

บุหรี่ จัดเป็นภัยคุกคาม ที่ทำลายสุขภาพคนในประเทศเราเป็นอย่างมาก ทางการแพทย์บอกว่าบุหรี่ทำให้แก่เร็ว สร้างริ้วรอย เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคปอด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ อีกหลากหลายโรค หลายคนชมคลิปแล้วคงสะท้อนใจ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่เอง แต่การจะสะท้อนใจได้ไปจนถึงการมีจิตสำนึก พยายามเลิกบุหรี่ได้ดีเพียงไร ยังคงเป็นคำถามสำคัญ ที่ผ่านมาแม้หน่วยงานของรัฐจะมีมาตรการ ขยายฉลากที่ปิดซองบุหรี่ให้เป็นภาพน่ากลัว ใหญ่ขนาดไหนก็ตาม คนบางส่วนก็ยังสูบ และในสถานท่องเที่ยวยามค่ำคืนหลายแห่งในกรุงเทพ ปิดป้ายขนาดใหญ่เพื่อบอกภัยของบุหรี่ แต่คนก็ยังสูบในสถานที่นั้นๆ เช่นกัน…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: ตระกูล ส, ทุจริต, ประเวศ, วงการแพทย์, ศิษย์ประเวศ, สช, สปสช, สพฉ, สวรส, สสส

งานจัดสรรพื้นที่ใช้ทุนบุคลากรสาธารณสุขใหม่ พ.ศ.2558

June 3, 2015 by Gla Leave a Comment

2015-05-15 09.09.34

ภาพตอนไปสังเกตการณ์ งานจัดสรรพื้นที่ใช้ทุน แพทย์ใหม่ ช่วง พฤษภาคม 2558 ได้พบกับ อาจารย์ นพ.ชัยรัตน์ เตชะไกรศักดิ์ อาจารย์สังกัดกรมควบคุมโรค

เคยเจออาจารย์หลายงานสมัยเป็นนักศึกษา (นานมากแล้วครับ T T) สมัยก่อนจัดกิจกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่ ครับ อาจารย์ให้ความเมตตามาก

ส่วนเรื่องงานจัดสรรพื้นที่ใช้ทุน มาครั้งนี้เป็นปีที่ 5 แล้วครับ

ครั้งแรกที่มา ช่วง พ.ศ.2553-2554 เพราะตอนนั้นแพทย์รังสิต มีปัญหาถูกตัดสิทธิ์การจับฉลากกับทางกระทรวง ทั้งรุ่นเลยชุมนุม และขอร้องให้ทางมหาวิทยาลัยพูดคุยกับกระทรวงจนได้สิทธิ์มา ตอนจับฉลากแม้ไม่ต้องจับเอง(ได้ที่ไปใช้ทุนแล้วตอนนั้น) แต่ก็ไปสังเกตการณ์ดูความเรียบร้อย…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: กระทรวงสาธารณสุข, จับฉลาก, ชัยรัตน์ เตชะไกรศักดิ์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, พื้นที่ใช้ทุน, ศุภชัย ครบตระกูลชัย, หมอใหม่, เพ็ญนภา กวีวงศ์ประเสริฐ

E L P CO : ข้อควรคิด สำหรับหมอใหม่

May 31, 2015 by Gla Leave a Comment

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO เป็นหลักการที่ อาจารย์พัฒนัตถ์ ศรีสุโข อดีตหัวหน้าศัลยแพทย์โรงพยาบาลพิจิตร

มอบให้แก่หมอใหม่ ทุกรุ่น เพื่อช่วยให้ การมีชีวิตในงานและเรื่องส่วนตัวในอนาคตราบรื่นขึ้น

หลักการนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับอาชีพต่างๆได้ เป็นการเรียนรู้จากบทเรียนความสำเร็จ อุปสรรค และ เรื่องราวชีวิตกว่า 30-40 ปี ของท่าน

ท่านจะกล่าวเสมอว่า แพทย์จบใหม่ หรือผู้น้อย ควรเรียนรู้ที่จะรับฟังประสบการณ์ของผู้อาวุโส เพราะเป็นการประหยัดเวลาชีวิตของตนเองหลายสิบปี

และ จะได้เรียนรู้สิ่งดี รวมทั้ง ระมัดระวัง ไม่ไปผิดพลาดเหมือนประสบการณ์อาจารย์อาวุโส ที่ได้รับฟังมา

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: ELPCO, ข้อความคิด, พัฒนัตถ์, ศรีสุโข, หมอใหม่, แพทย์

ฟิลเลอร์ ฉีดจมูก ตาบอด!!!

June 4, 2014 by Gla Leave a Comment

[4 มิย 57]

เรื่องฟิลเลอร์ฉีดจมูกตาบอด เร็วๆนี้ คนฉีดไม่ใช่แพทย์ แต่ แพทย์ทั่วประเทศที่ฉีดฟิลเลอร์ กำลังจะรับเคราะห์!!!

แพทยสภาเตรียมประกาศเลิกใช้ฟิลเลอร์ ฉีดจมูก ข่าวพาดหัวเร็วๆนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ประชาชนไปฉีดฟิลเลอร์กับหมอเถื่อน แล้ว ตาบอด

การแก้ปัญหาปลายเหตุเช่นนี้ เป็นแนวคิดเหมือนสมัย กรณีซูโดเอฟฟรีดีน (pseudoephedrine) ยาแก้คัดจมูกที่ช่วยคนได้ทั่วประเทศ แต่ดันมี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลายแห่ง แอบยาทำรั่วไหลไปให้ขบวนการผลิตยาเสพติด
เลยมีการประกาศห้ามใช้ ยกเลิกซูโดเอฟฟรีดีนทั่วประเทศ

(หมออดใช้ยารักษา ส่วนพวกค้ายาเสพติดก็ แค่ “เปลี่ยนวัตถุดิบกับแหล่งที่มา” และ “ลักลอบขายยาต่อ”)

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: จมูก, ฉีด, ตาบอด, ฟิลเลอร์, แพทยสภา

เด็กอัจฉริยะมากควรเรียนหมอหรือไม่

May 30, 2012 by Gla Leave a Comment

http://issuu.com/demo-crazy/docs/volume26

บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ หน้า 25 วารสาร DemoCrazy ปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา

เด็กอัจฉริยะมาก ควรเรียนหมอหรือไม่?

Chanesd Srisukho

ภาพประกอบบทความวารสาร DemoCrazy เล่ม 26

ชเนษฎ์ ศรีสุโข chanesd@gmail.com MWIT รุ่น 12

ได้รับเชิญจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้พูดเกี่ยวกับจุดอ่อนของการเรียนหมอ และชีวิตหมอ พูดให้น้องๆเด็กนักเรียนอัจฉริยะมากที่มาจากการสอบคัดเลือกทั่วประเทศ เป็นนักเรียนทุนรุ่นละ 240 คน เปี่ยมอุดมการณ์สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบอร์ดบริหาร ชื่อ ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร และ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา นักเรียนเหล่านี้มีความสามารถหลากหลายด้าน พิสูจน์จากรางวัลในเวทีโอลิมปิกวิชาการโลก และเวทีการสอบคัดเลือกต่างๆของประเทศไทย นอกจากนี้ โรงเรียน ไม่ได้ส่งเสริมให้น้องๆแค่เอาแต่เรียนอย่างเดียว มีการส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อสังคม การบำเพ็ญประโยชน์ กีฬา ดนตรี ฯลฯ ทำให้ น้องๆมีจิตสำนึกในการทดแทนคุณแผ่นดินไทย จบออกมาหลายคนก็เป็นผู้นำทำกิจกรรมดีดีในสังคมที่เขาอยู่

เด็กโรงเรียนนี้ หลายคนถูกผู้ปกครองโน้มน้าวให้เรียนหมอโดยที่อาจไม่ได้ชอบ ผมเลยอยากเล่าอะไรให้ฟัง…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, มหิดลวิทยานุสรณ์, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: MWIT, การศึกษา, มหิดล, มหิดลวิทยานุสรณ์, มหิดลวิทย์, อัจฉริยะ, เด็ก, แพทย์, โรงเรียน

ศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

June 29, 2011 by Gla 8 Comments

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

(Terminology about Thai Medical Education : part I)

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com – มิถุนายน 2554

ด้วยรำลึกถึง อ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และขอบคุณบุพการี ต้นแบบอย่างแพทย์ที่ดี

Thai medical education term

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์

*เขียนอุทิศไว้เป็นวิทยาทานและความบันเทิงแก่แพทย์รุ่นหลัง ที่รุ่นพี่หรืออาจารย์ของน้องอาจไม่ได้บอกไว้ชัดเจน ความดีทั้งหมดยกให้วงการแพทย์ครับ

คำเตือน บทความนี้อาจมีสาระอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เสียดสีสังคมเพื่อความบันเทิง
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: cpird, New tract, การศึกษาต่อ, การแพทย์, คลินิก, ความหมาย, คือ, นักศึกษาแพทย์, นิสิต, ปรีคลินิก, วงการแพทย์, ศรว, ศัพท์, ศัพท์การแพทย์, ศัพท์เฉพาะ, ศูนย์แพทย์, หมายถึง, องค์กรแพทย์, อาจารย์แพทย์, เรียนต่อ, แปลว่า, แพทยสภา, แพทย์ประจำบ้าน, แพทย์พี่เลี้ยง, แพทย์เฉพาะทาง, แพทย์ใช้ทุน, โรงเรียนแพทย์เอกชน, ใบประกอบ, ใบเพิ่มพูนประสบการณ์

เกม สุดสาคร ผจญภัย

April 13, 2011 by Gla 2 Comments

เกม สุดสาคร ผจญภัย

The adventure of Sudsakorn

นพ.ชเนษฎ์ ศรีสุโข Chanesd@gmail.com

เกมสุดสาคร ผจญภัย เป็นเกมที่ข้าพเจ้าเคยมีส่วนร่วมในการเขียนโปรแกรมเกมกับเพื่อนมหิดลวิทยานุสรณ์อีกสองท่าน คือ บิ๊ก-(ว่าที่)ดร.สุนทร ศิระไพศาล และ (ว่าที่)ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ

เพื่อส่งประกวดการเขียนโปรแกรมเกม ของ NECTEC สมัยปี 2546 และเปิดให้ดาวน์โหลดเล่นฟรีบนเว็บ thaiware.com และในอินเตอร์ดเน็ทอยู่ช่วงหนึ่ง

ผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดไปเล่น ได้ ที่ http://www.bloggla.com/files/Sudsakorn.zip

ขนาดไฟล์ประมาณ 65 MB ควร Unzip ก่อน และเข้าดูในโฟลเดอร์ Document เพื่ออ่านคู่มือ-ขั้นตอน การลงโปรแกรมต่างๆ

ปล. เกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ BUG project หมายถึง Big+Um+Gla project นั่นเองครับ

Posted in: บทความ, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: Adventure, Game, Sudsakorn, น่าเล่น, ผจญภัย, พระอภัยมณี, มันส์, สนุก, สุดสาคร, หาพ่อ, เกม, เกม สุดสาคร, เขียนโปรแกรม

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา

September 30, 2010 by Gla Leave a Comment

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา


 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

*ตีพิมพ์ในนิตยสาร demo-crazy.com ฉบับ 20

ข่าวคราวที่มาแรงในสังคมไทยหลายเดือนมานี้ เกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

คนส่วนใหญ่ที่ติดตามข่าวสาร แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด คงเห็นพ้องต้องกันว่า พรบ.นี้ มีเจตนาดี หลักการสำคัญเพื่อเยียวยาผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข เป็นสังคมเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน

หลายคนคงเห็นแพทย์ โดยเฉพาะแพทยสภาที่ออกมาคัดค้าน เป็นตัวร้ายของเรื่องนี้ไป

ส่วนตัวผมเอง มีความเคารพอาจารย์ในแพทยสภาหลายท่าน และก็ไม่ศรัทธาอาจารย์บางท่านเช่นกัน แต่ประเด็นของเรื่องนี้ อยู่ที่ “ประโยชน์ของประชาชน” ดังนั้นต้องอธิบายว่าที่แพทย์หลายส่วนไม่ยอมรับ พรบ.นี้ แต่งชุดดำ ออกมาคัดค้านกันนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องผลประโยชน์ตนเองเพียงส่วนเดียว

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: การแพทย์, ขัดแย้ง, จิตวิทยา, จิตเวช, ผู้เสียหาย, พรบ.คนไข้, พรบ.สาธารณสุข

Antisocial

June 2, 2010 by Gla 3 Comments

Antisocial

ชเนษฎ์ ศรีสุโข

ลงวารสารปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา ฉบับ 18 เดือนพฤษภาคม 2553 www.demo-crazy.com

บทความนี้ได้แรงบันดาลใจจากผู้ใหญ่ใจดีท่านหนึ่งเมตตาบอกว่าผมเป็นพวก Antisocial ครับ

คำๆนี้ Anti-social แปลตรงตัวภาษาไทย คงหมายถึง พวกต่อต้านสังคมครับ หลายคนก็เอาคำนี้ไปกล่าวหากลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองในช่วงเร็วๆนี้เช่นกัน ดังนั้น จึงอยากเขียนถึงความหมายของคำนี้ในทางการแพทย์น่ะครับ เพื่อให้เห็นการใช้คำนี้ในความหมายเชิงวิชาการ ที่ค่อนข้างจะรุนแรงพอสมควรนะครับ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: antisocial, การชุมนุม, การวินิจฉัย, ต่อต้านสังคม, บุคลิกภาพ, หัวรุนแรง, โรค

เมื่อลูกกระสุนเข้ามาในโรงพยาบาล

May 18, 2010 by Gla 1 Comment

เมื่อลูกกระสุนเข้ามาในโรงพยาบาล

18 พฤษภาคม 2553

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

นั่งเบื่ออย่างยิ่งในบ้านประหยัด(Safe house) หลังจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ประกาศหยุดให้1สัปดาห์ หวั่นเกรงความปลอดภัยในการเดินทางไปปฏิบัติงานที่ รพ.ราชวิถี-รพ.เด็ก

ซึ่งคิดถูกแล้ว เพราะข่าวล่าสุด(18พค) ห้องผ่าตัดโรคหัวใจ ตึกสอาด ศิริพัฒน์ ถูกกระสุนไม่ทราบฝ่ายยิงเข้ามา[มติชนออนไลน์] เลยไม่รู้ว่ายิงเข้ามาเพราะอะไร หวังจะข่มขู่ชีวิตใครหรือแค่กระสุนลูกหลงเข้ามาเฉยๆ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: กระสุน, การเมือง, ชุมนุม, ประท้วง, ผ่าตัด, รุนแรง, เสื้อแดง, แพทย์

เรื่องของหวัด 2009

July 11, 2009 by Gla 8 Comments

เรื่องของหวัด 2009

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ณ ราชวิถี [chanesd@gmail.com]

แต่งเมื่อ 6 กรกฎาคม 2552

จากชื่อหวัดหมู สู่หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009

ถึงวินาทีนี้ ถ้าวารสารเดโมเครซีไม่ได้กล่าวถึงหวัด 2009 ดูท่าว่าจะตกยุค จึงเป็นการบ้านที่ผมพยายามตอบคำถาม บก. และผู้อ่านทุกท่าน

หวัด 2009 นี้ เป็นโรคที่ติดกันง่ายครับ ง่ายกว่าหวัดทั่วไป(high transmission rate) ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตอนนี้ คือ การชุมนุมคนหมู่มาก ในพื้นที่ไม่ปลอดโปร่งโล่งสบายเท่าไร ทำให้ติดเชื้อหวัดกันเยอะขึ้นครับ ในไทยตอนนี้เฉลี่ยคาดการว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน มากกว่า 100คน ต่อวัน

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วิชาการ Tagged: flu 2009, กลัว, ความรู้, ทำอย่างไร, ป้องกัน, ระวัง, วิธี, หวัด, หวัดสายพันธุ์ใหม่, เรื่อง
1 2 Next »

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.