• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

หมอ

Autoerotic asphyxiation

July 21, 2009 by Gla 4 Comments

Autoerotic asphyxiation

ตีพิมพ์ วารสาร Demo-Crazy.com เล่ม9

ช่วงนี้มีกระแสข่าวที่ไม่ค่อยจะดีนัก เกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย ที่สื่อไทยทั้งหลายได้ทีเอามาขายเป็นข่าว บางครั้งเพื่อความเนียนก็อ้างอาจารย์หมอนิติเวชชื่อดังท่านหนึ่งว่าเป็นผู้ให้ข่าว โดยที่การกระทำของสื่อเหล่านั้น ไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของครอบครัว ญาติ คนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตสักเท่าไรนัก อีกทั้งยังไม่ให้เกียรติแก่ผู้จากไปอีกด้วย

ในทางการแพทย์ แพทย์ทุกคนล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิผู้ป่วย ทั้งให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนแก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจรักษา รักษาข้อมูลผู้ป่วยเป็นความลับ ยกเว้นในกรณีใช้เพื่อการศึกษา เช่น ให้นักศึกษาแพทย์มาเรียนรู้ ซักประวัติกับผู้ป่วย แต่ก็จบอยู่เพียงการศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหลักจริยธรรมอีกมากที่คอยกำกับการรักษาผู้ป่วย

นอกจากสิทธิผู้ป่วยแล้ว เรายังล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้ตาย แม้ว่าจะอยู่ในกระบวนการผลักดันกฎหมายอยู่ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติของแพทย์มีมานานแล้วว่า หากการตายของผู้ป่วยนั้น เมื่อผู้อื่นรับรู้แล้วเกิดความเป็นความดูถูก เหยียดหยามใน เกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แพทย์ย่อมไม่ใช้คำพูด หรือคำศัพท์ที่จะทำให้เสื่อมเสีย อาทิเช่น ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ เรามักไม่เขียนว่าเป็นโรคเอดส์เสียชีวิต จะเขียนเพียงอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คงมีเพียงผู้อยากรู้อยากเห็น ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร เท่านั้น

ทั้งนี้ เรื่อง Autoerotic asphyxiation ที่เขียนวันนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวถึงผู้ใด เป็นเพียงการค้นคว้าหาความรู้ของผมเท่านั้น Auto หมายถึง ตัวเอง, Erotic หมายถึง ความใคร่ ความต้องการทางเพศ, Asphyxiation หมายถึงภาวะขาดอากาศหายใจ พอเอาความหมายมารวมกันแล้วหมายถึง การพยายามสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีพยายามทำให้ตนเองขาดอากาศหายใจ ยังมีคำเรียกอีกหลายคำ เช่น asphyxiophilia, autoerotic asphyxia, breath control play จัดเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศอย่างหนึ่ง (paraphilia ที่ผมเขียนเคยในซีรีส์นักการเมืองโรคจิต ว่าเจ๊เพ็ญเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศแบบ Homophilia)

เป็นภาวะที่มีรายงานมาเป็นเวลาสี่ร้อยกว่าปีแล้ว และเคยมีแพทย์สมัยก่อน ศึกษาเรื่องนี้ คิดนำมาใช้เป็นวิธีการรักษาอาการนกเขาไม่ขันของผู้ชาย โดยให้กระทำการ Autoerotic asphyxiation ในการควบคุมดูแลของแพทย์

แต่เพราะว่าเรื่องนี้มีอันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ระมัดระวัง ตอนหลังก็เลิกวิธีการรักษาเช่นนี้ไป แต่ที่ยังมีคำนี้อยู่ เป็นเพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของคนที่กระทำวิธีนี้ และเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ จริงๆแล้วแม้ในหนังผู้ใหญ่ของฝรั่ง เราก็อาจเห็นการมีเพศสัมพันธ์และชอบบีบคอกัน หลายคนชื่นชอบการหายใจไม่สะดวกเวลามีเพศสัมพันธ์ บอกว่าช่วยกระตุ้นอารมณ์ หลายคนชอบเอาอุปกรณ์มารัดคอ ฯลฯ เรื่องนี้อธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าเมื่อขาดอากาศหายใจ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีมากขึ้น หัวใจจะเต้นแรงขึ้น พยายามสูบฉีดโลหิตมากขึ้น ต้องก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่เกิดความตื่นเต้น สมองก็หลั่งสารแห่งความสุขออกมา ยิ่งทำให้ผู้กระทำการ มีความสุข เคลิ้ม มากขึ้น

แต่ก็เป็นอันตรายไม่น้อย เพราะอาจทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน และทำบ่อยๆเข้า ก็อาจเสพติดได้ ในรายที่เสียชีวิต ส่วนหนึ่งก็คือมีความสุขมาก จนขาดอากาศ เสียชีวิต

เรื่อง Autoerotic asphyxiation นี้ เมื่อบุคคลที่กระทำการคนเดียว พลาดพลั้งเสียชีวิตไปแล้ว ผู้อื่นมาพบเข้ามักจะเข้าใจว่าเป็นการฆ่าตัวตายแบบวิตถาร แปลกพิสดาร จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

หลักเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับการพิจารณาว่าผู้ตายเป็น Autoerotic asphyxiation หรือไม่

1.มักเป็นเพศชาย

2.มีประวัติการเบี่ยงเบนทางเพศมาก่อน (เบี่ยงเบนทางเพศก็มีหลายประการ ตั้งแต่รักร่วมเพศ หรือรักสัตว์ รักศพ ฯลฯ)

3.พบสภาพศพเปลือยกาย อาจพบคราบน้ำอสุจิ

4.มักมีอุปกรณ์ช่วยให้ตนเองขาดอากาศหายใจ เช่นเชือก หรือถุงพลาสติก ฯลฯ รวมไปถึงหนังสือลามก วีดิทัศน์กระตุ้นอารมณ์ต่างๆ อยู่ใกล้ๆ และเปิดทิ้งไว้

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่านได้นะครับ และหากพบว่าคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรพูดคุย แนะนำ หรือให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายครับ

บางทีก็น่าคิดว่า ทำไมมนุษย์เรานี่ชอบทำเรื่องแปลกประหลาดกันจริงหนอ•

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์ Tagged: Autoerotic asphyxiation, ความใคร่, จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, สำเร็จ, หมอ, แพทย์, โรคจิต

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

June 3, 2009 by Gla 5 Comments

บทความนี้เขียนก่อนเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Demo-Crazy ฉบับ พฤษภาคม 2552

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

ชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์ปี5 โรงพยาบาลราชวิถี chanesd@gmail.com

บก.ให้การบ้านซึ่งยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตๆ…

ขอย้อนความไปตั้งแต่การประชุมสภา ไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราก็คงเห็นความหลากหลายทางสภาพจิต ของ บรรดาท่านผู้มีเกียรติในสภา ไม่ว่าจะชูให้นิ้วกลางกัน พูดจาหยาบคาย พูดจาโอ้อวด ปั้นเรื่อง หลายคนพยายามหาเสียงระหว่างอภิปราย อยากเด่น อยากดัง พยายามโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นรายการถ่ายทอดสดให้ชมได้ทั่วประเทศผู้ชมหลายคนจึงได้สนุกสนานกับการเห็นคนเหล่านี้แสดงบทบาทในสภา บทบาทที่ไม่เหมือนคน…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมือง, จิตวิทยา, จิตเวช, ชินวัตร, ทักษิณ, นักการเมือง, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, วิพากษ์, หมอ, แพทย์, โรค, โรคจิต

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

May 19, 2009 by Gla 5 Comments

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปี5 ณ ราชวิถี [chanesd@gmail.com]

ผมได้ผ่านแผนกจิตเวชศาสตร์ในระดับชั้นปี5 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้รับความรู้ทางวิชาการ และมุมมองทางสังคมหลายประการผ่านการถ่ายทอดของคณาจารย์จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และที่สำคัญ คือเรียนรู้จากอาจารย์ผู้ป่วย(หมายถึง คนไข้จริงๆ)ที่มาหาพวกเราที่โรงพยาบาลราชวิถีนั่นเอง

นอกจากศึกษาในโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานยังสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันราชานุกูล(บริการผู้บกพร่องทางสติปัญญา www.rajanukul.com) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (www.icamtalk.com) และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (www.galyainstitute.com)ล้วนสังกัด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ Tagged: จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, หมอ, เข้าใจ, เห็นใจ, แพทย์, โรค, โรคจิต

กล่าววันพระราชทานเพลิงฯ อ.บุญเชียร

September 21, 2008 by Gla 6 Comments

ท่านประธานในพิธี ท่านคณาจารย์ ท่านแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน และนักศึกษา-ลูกๆของอาจารย์บุญเชียรทุกคน

กระผมนายชเนษฏ์ ศรีสุโข ตัวแทนนักศึกษาแพทย์

ใคร่ขอกล่าวความในใจที่พวกเรามีต่อคุณแม่บุญเชียร

SL707551

อาจารย์บุญเชียรครับ ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆดำทะมึน ละอองน้ำโปรยลงมาจากเบื้องบน…เพราะมัน เป็นหน้าฝนนะครับอาจารย์ ท้องฟ้าที่มืดครึ้มนี้ไม่ต่างจากหัวใจของพวกเรา-ลูกๆที่อาจารย์รักและเอาใจใส่เปรียบดังลูกในไส้ของท่านอาจารย์

อาจารย์ครับ พวกเราไม่พบอาจารย์มาเป็นสัปดาห์ๆ ไม่ทราบว่าอาจารย์เจ็บป่วยหนักหนาเพียงใด แต่ถ้อยคำที่อาจารย์ส่งมาถึงพวกเรา ยังเป็นห่วงพวกเราหนักหนา บอกให้พวกเราขยันเรียน ตั้งใจ เพื่อการสอบให้ผ่านให้ได้ คำพูดสุดท้ายที่ได้กล่าวกับผม คือ “ไม่ต้องมาเยี่ยมเด็ดขาดนะ”

อาจารย์ครับ นับตั้งแต่วันนี้ไป เวลาเรามีปัญหา เราจะไปเล่าปัญหาให้ใครฟังได้อีก เหมือนที่อาจารย์จะสั่งสอน ให้กำลังใจด้วยเสียงอันดัง แต่เปี่ยมด้วยความเมตตา ช่วยเหลือนักศึกษาทุกคน เป็นทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง อย่างเต็มที่ อย่างสุดความสามารถ

ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่ง ที่ชอบไปหาปรึกษาอาจารย์ครับ อาจารย์ไม่เคยถือยศถาบรรดาศักดิ์ อาจารย์ให้ความใกล้ชิดแก่พวกเราอย่างที่ไม่มีใครให้กับพวกเรา อาจารย์ดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาได้เข้าไปพูดคุยกับท่าน

ยิ่งพวกเรารู้จักอาจารย์มากขึ้นเท่าใด พวกเราก็รู้ว่า อาจารย์บุญเชียรไม่เคยแก่เฒ่า ทั้งความคิดและการปฏิบัติ อาจารย์เป็นคุณแม่สาวสวย สิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นสิ่งที่สาวสวย ผู้แข็งแกร่งเท่านั้น ที่จะทำได้…

ในต้นปีพุทธศักราช 2550 พวกเรานักศึกษาแพทย์กว่าหลายร้อยชีวิต ไปดักรอพบอาจารย์ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการตัดเกรด โดยคาดหวังว่าอาจารย์จะเป็นที่พึ่งพิงให้พวกเรา และพวกเราก็คิดไม่ผิด อาจารย์จะคอยต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ความอยุติธรรมต่างๆ เสมอมา

อาจารย์ให้ความรัก ดูแลนักศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีรักใครชอบใครเป็นพิเศษ อาจารย์ดูแลสารทุกข์สุขดิบ ของนักศึกษา อาจารย์มิใช่เป็นเพียงคณบดีของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อาจารย์ทำทุกอย่าง อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นทั้งคนคอยยุติการทะเลาะวิวาทเวลานักศึกษาทะเลาะกัน เป็นทั้งแม่บ้าน รักษาความสะอาด เป็นคนรักษาความปลอดภัย เดินตรวจตราทุกที่ เป็นตำรวจทหารที่คอยดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปกป้อง ป้องกันอันตรายทุกสิ่งทุกอย่างแก่พวกเรา อาจารย์เป็นแม่พระ สอนสั่งจริยธรรม ศีลธรรมสังคม เป็นแม้กระทั่งนายธนาคาร ที่แอบให้เงินกู้ยืมแก่นักศึกษาหลายคนทุกเดือนๆ อาจารย์บอกพวกเราว่า “เธอจะเป็นผู้ใหญ่ เธอต้องรู้อะไรอีกมาก” อาจารย์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของพวกเรา เป็นดั่งคุณแม่ของทุกคนที่ไม่ว่าพวกเราจะทำตัวเลวร้ายแค่ไหน อาจารย์พร้อมจะให้อภัย และสั่งสอนเสมอ

อาจารย์เป็นนักวางแผน มีโครงการมากมายที่ช่วยเหลือให้นักศึกษากระตือรือร้น ขวนขวายอ่านหนังสือ ตั้งใจศึกษาเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพ อาจารย์จะดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาสอบได้คะแนนดี หัวใจของอาจารย์นั้นงดงาม มีแต่ให้ และหาทางออกให้ทุกคนเสมอ

อาจารย์เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ความสวยของอาจารย์เกิดจากการต่อสู้อย่างดุเดือด ต่อสู้ตลอดเวลา เพื่อนักศึกษา ใครก็ตามที่มาทำร้าย มาดูถูก มาต่อว่านักศึกษา มากลั่นแกล้ง เอาประโยชน์จากนักศึกษานั้น ไม่ว่าคนนั้นจะใหญ่โตมาจากไหน อาจารย์ไม่กลัวเจ็บไม่กลัวเดือดร้อน อาจารย์จะเข้าไปต่อสู้ชนิดว่า อยู่ร่วมโลกกันมิได้แล้ว มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สมัยก่อน อาจารย์ เคยแม้กระทั่งชกต่อยกับผู้ชาย นี่คือความเป็นนักเลงของอาจารย์ ที่เวลาผ่านไปสามสิบสี่สิบปี เพื่อสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อาจารย์ไม่เคยเปลี่ยนไป ต่อสู้เพื่อพวกเรา…

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง เป็น ยิ่งกว่าความพึ่งพิง ยิ่งกว่าความเมตตากรุณาหาที่สุดมิได้ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สานความสัมพันธ์ ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง ปี6 อาจารย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษาทั้งมวล โดยที่อาจารย์อาจไม่รู้สึกตัว อาจารย์จำได้ไหมครับ พวกรุ่นน้องแต่งเพลง ร้องเพลงให้อาจารย์ฟัง นักศึกษาเอาของฝากติดไม้ติดมือมาให้กำลังใจอาจารย์ พวกเราประชุมกันสรรหาสารพัดวิธีแสดงความเคารพรักท่านอาจารย์ ตอนแรกพวกเราคิดว่าสิ่งที่เราทำจะทำให้ท่านอาจารย์ดีใจ อาจารย์เฉลยว่า สิ่งที่อาจารย์ต้องการที่สุด ดีใจที่สุด คือให้พวกเราสอบผ่านใบประกอบฯทุกคน เรียนจบไปเป็นแพทย์ที่ดี เพียงแค่นั้นจริงๆ [-]

ย้อนไปปีก่อน หลายคนตกใจครับ เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์เป็นโรคร้าย แพร่ลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ผมและเพื่อนไปเยี่ยมอาจารย์ที่ รพ.จุฬาฯ อาจารย์ยังยิ้มบอกพวกผมว่า “ครูไม่เป็นไร นี่ ถ้ายาไม่ตอบสนอง ครูคงตายในเจ็ดวันแล้ว” [-]

อาจารย์ทำเป็นไม่ป่วย ไม่ว่านักศึกษาจะจัดกิจกรรมอะไร จัดงานที่ไหน ออกต่างจังหวัด ไปไกลสุดหล้าฟ้าเขียว อาจารย์จะเดินทางไปให้กำลังใจพวกเราทุกที่ อาจารย์ช่วยหางบมาสนับสนุนนักศึกษาได้เสมอ สนับสนุนการสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ของสังคม แม้แต่รุ่นพี่พวกเราที่จบไปแล้ว อาจารย์ก็ยังยินดีช่วยเหลือ เดินทางไปหาสู่เสมอ หลายคนถามผมว่า ข่าวที่ว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายนั้น เป็นข่าวโคมลอยใช่หรือไม่ พวกเราก็หวังว่าจะให้เป็นเช่นนั้น… [-]

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ร่างกายอาจารย์อ่อนแอลง น้ำหนักลดเป็นสิบกิโล อาจารย์ทำตนว่าแข็งแรง อาจารย์ต้องคอยแอบคนอื่น ไปหลบตามมุมเงียบๆเพียงเพื่อที่จะเหนื่อยหอบ แกล้งทำเป็นแข็งแรงทั้งที่เดินขึ้นบันไดสองสามขั้นยังไม่ไหว [-] ผมเคยสงสัยและถามอาจารย์ว่า ทำไมอาจารย์ถึงยังต้องมาทำงานอยู่อีก ทำงานคณบดีที่เหน็ดเหนื่อย วุ่นวาย ทรมานร่างกายและจิตใจ ทั้งที่อาจารย์มีทุกอย่างพร้อมแล้ว มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบริวารผู้คนรู้จักรักใคร่ มีเงินทองทรัพย์สินจนไม่ต้องหาเงินอีก อยู่บ้านไม่สบายกว่าหรือครับอาจารย์ อาจารย์ตอบผมว่า “เมื่อรับตำแหน่งมาแล้ว ก็ต้องทำให้ถึงที่สุด” “สิ่งที่ครูทำทุกวันนี้ เพื่ออนาคตอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้าของพวกเธอ” “ขนาดลูกครู ครูยังไม่ได้ดูแลขนาดนี้เลย” หลายคนได้สัมผัสและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

พวกเรารู้สึกว่า สิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตของท่าน คือ นักศึกษา อาจารย์ทำงานหนักจนลืมรับประทานยาให้ตรงเวลา ทานยาไม่ครบ อาจารย์ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน ผมกระเซ้าอาจารย์เสมอว่า เป็นผู้ป่วยที่ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง อาจารย์กลับหัวเราะ แม้ตอนหลังอาจารย์รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหลายขนาน ร่างกายทรุดโทรม เป็นไข้บ่อย อาจารย์ก็ยังเดินทางมาคอยดูแลพวกเราตลอดเวลา ยิ้มแย้มหัวเราะ ไม่แสดงออกให้ใครเห็นว่าเจ็บป่วย

ต้นปีที่ผ่านมา อาจารย์บอกว่า “หมอบอกว่าครูจะอยู่ได้แค่หกเดือน ตอนนี้ครูอยู่ได้เจ็ดเดือน นี่คือกำไรชีวิตแล้ว” ทุกคนปรบมือแสดงความดีใจ เหนืออื่นใด คือยินดีที่คนที่พวกเรารัก เทิดทูน คนที่ให้ความอบอุ่น ดูแข็งแรงดี อาจารย์บอกพวกเราว่า การตายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่ากลัว

อาจารย์ครับ…พวกเราเรียนรู้หลายสิ่งจากอาจารย์ คุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ อาจารย์สอนให้พวกเรารู้ว่า “การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” นั้นเป็นเช่นไร อาจารย์เป็นตัวอย่างของแพทย์ ที่เป็นคนดีของสังคม

พระคุณของอาจารย์นั้น ไม่ว่าชาติไหนก็คงตอบแทนไม่หมด น้ำใจที่กว้างใหญ่ อาจารย์ได้หล่อหลอมพวกเราขึ้นมา จากเด็กไม่รู้จักคิด ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้น มีความคิดมากขึ้น พร้อมที่จะเป็นแพทย์ในอนาคต

ผมในฐานะตัวแทนของนักศึกษาขอกราบขอขมาทุกสิ่งที่เคยรบกวนอาจารย์ ทำให้อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ลำบาก คอยต่อสู้เพื่อพวกเราตลอดมา และต่อจากนี้ พวกเรา ลูกศิษย์ทุกคนจะตั้งใจฝ่าฟันอุปสรรค และจบไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมครับ ให้สมดังสิ่งที่อาจารย์คาดหวัง ยืนหยัดต่อไปได้ด้วยตนเอง สืบสานเจตนารมณ์อาจารย์… “ความแข็งแกร่ง”ของอาจารย์

อาจารย์เชื่อเรื่องความดีงาม อาจารย์บอกพวกเราเสมอว่า คนเราถ้าทำดีแล้ว อยู่ที่ไหนก็ดี ความดีย่อมคุ้มภัย พวกเราเรียนรู้ด้วยว่าทำดีแล้ว แม้ตายก็มิอาจพรากความดีที่ทำไว้ได้เลย

ความดีของอาจารย์จะประทับอยู่ในจิตใจของพวกเราทุกคนตลอดไป…

“กราบแทบเท้าครั้งสุดท้าย ท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล – มารดาของแพทย์รังสิต”

Posted in: บทความ, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: คณบดี, ดร, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, พญ, รังสิต, สุดยอด, หมอ, อาจารย์, อาทิตย์, แพทย์

…อาจารย์บุญเชียร

September 15, 2008 by Gla 9 Comments

บุญเชียร ปานเสถียรกุล

…อาจารย์บุญเชียร

กราบเรียนท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล ครับ

ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆดำทะมึน ละอองน้ำโปรยลงมาจากเบื้องบน… เป็นหน้าฝนนี่ครับ อาจารย์

ผมไม่ได้พบอาจารย์มาเป็นสัปดาห์ จันทร์ที่แล้วได้พูดคุยกับอาจารย์ผ่านทางโทรศัพท์อาจารย์ยังส่งเสียงมาตามสาย ว่าให้พวกนักศึกษาขยันเรียน ตั้งใจ เพื่อการสอบให้ผ่านได้คะแนนดี และ “ไม่ต้องมาเยี่ยมเด็ดขาดนะ” อาจารย์บอกนักศึกษาคิดถึงอาจารย์มากนะครับ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ถามหาว่า อาจารย์บุญเชียร หายไปไหน…


อาจารย์ครับ ผมมีเรื่องอยากเล่าให้อาจารย์ฟังมากมายเลยครับเหมือนทุกครั้ง เวลานักศึกษาทุกคนมีปัญหา มีเรื่องเล่าต่างๆ นานา ทุกคนจะเข้าไปหาอาจารย์ จะได้ยินเสียงดังดัง จากอาจารย์เสมอครับ หลายครั้งอาจารย์ดุด่าว่ากล่าวจนหลายคนกลัว แต่ลึกๆแล้ว อาจารย์เมตตาทุกคน ช่วยเหลือทุกคนอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ

ผมเป็นหนึ่งคนที่ชอบไปหาอาจารย์ มีคนถามผมว่า ทำไมชอบไปหาอาจารย์ มีอะไรน่าสนุกอย่างนั้นหรือ ไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่ ผมคิดในใจ ทุกครั้งที่ไม่ว่านักศึกษาคนไหนก็ตามเข้าไปพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจารย์จะเมตตาและมีความสุขที่ได้ฟังเรื่องราวนั้นๆ อาจารย์จะยิ้มแย้ม จะหัวเราะก็ล้วนเพราะเรื่องของลูกศิษย์ทั้งหลาย ผมคิดว่าผมไม่ได้คุยกับคนแก่คนเฒ่า อาจารย์บุญเชียรยังคงเป็นสาวสวยสำหรับผมและหลายๆคนอยู่เสมอครับ เพราะสิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นสิ่งที่สาวสวยผู้แข็งแกร่งเท่านั้น ที่จะทำได้…

ผมจำได้ครับ เมื่อย้อนกลับไป วันแรกที่ผมได้มีโอกาสรู้จักอาจารย์ ต้นปี2550 วันนั้น เป็นวันที่ผมและเพื่อนๆ น้องๆ กว่าหลายร้อยชีวิต ไปดักพบอาจารย์ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการตัดเกรด โดยคาดหวังว่าอาจารย์จะเป็นที่พึ่งพิงให้พวกผม และพวกผมก็คิดไม่ผิด อาจารย์จะคอยต่อสู้เพื่อความไม่ยุติธรรมต่างๆ เสมอมาและเหนืออื่นใด เพื่อผลประโยชน์ของนักศึกษา

อาจารย์ให้ความรัก ดูแลนักศึกษา ทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีรักใครชอบใครเป็นพิเศษ อาจารย์ดูแลสารทุกข์สุขดิบ คอยถามนักศึกษาว่ามีปัญหาอะไรไหม ถ้ามี อาจารย์จะวิ่งเข้าใส่ปัญหา ลุยกับมัน

อาจารย์มิใช่เพียงคณบดีของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นทั้งคนคอยยุติการทะเลาะวิวาทเวลานักศึกษาทะเลาะกัน เป็นทั้งแม่บ้าน รักษาความสะอาด เป็นคนรักษาความปลอดภัย เดินตรวจตราทุกที่ เป็นตำรวจที่คอยดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพระ สอนสั่งจริยธรรม ศีลธรรมสังคม อาจารย์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของพวกเรา เป็นดั่งผู้ปกครองของทุกคนที่ไม่ว่าพวกเราจะทำตัวเลวร้ายแค่ไหน อาจารย์พร้อมจะให้อภัย และสั่งสอนเสมอ

อาจารย์มีโครงการมากมายที่ช่วยเหลือให้นักศึกษากระตือรือร้น ขวนขวายอ่านหนังสือ ตั้งใจศึกษาเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพ อาจารย์จะดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาสอบได้คะแนนดี และใครที่สอบไม่ดี แม้อาจารย์เสียใจ แต่ก็ไม่เคยแสดงออก จะมีแต่คอยตักเตือน ดุด่าว่ากล่าว ผมรู้สึกเสมอว่าอาจารย์ปากร้าย แต่ใจดีมาก เวลาใครมีปัญหาด้านการเรียน อาจารย์จะเรียกมาพบ ดุด่าเสร็จ จะพูดคุยด้วยความเข้าใจ หาทางออกให้ทุกคนเสมอ

นอกจากเรื่องเรียนแล้ว ไม่ว่าเป็นเรื่องกิจกรรมใดใด อาจารย์จะช่วยหางบมาลงสนับสนุนนักศึกษาได้เสมอ สนับสนุนการสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ของสังคม การเล่นกีฬา ดนตรี การจัดค่าย การจัดกิจกรรมต่างๆ การสร้างผลงานสู่สายตานักศึกษาที่อื่น ฯลฯ อาจารย์บอกว่าแต่ก่อนอาจารย์เป็นนักกิจกรรม ทำกิจกรรมหลายชนิด ชอบเชียร์กีฬาอย่างสนุกสนาน กระโดดโลดเต้นไถไปกับพื้น

อาจารย์เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ความสวยของอาจารย์เกิดจากการต่อสู้อย่างดุเดือด ต่อสู้ตลอดเวลา เพื่อนักศึกษา ใครก็ตามที่มาทำร้าย มาดูถูก มาต่อว่านักศึกษา มากลั่นแกล้ง เอาประโยชน์ อาจารย์จะเข้าไปต่อสู้ชนิดว่า ใครคนนั้นอยู่ร่วมโลกกันมิได้แล้ว มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สมัยก่อน อาจารย์ เคยแม้กระทั่งชกต่อยกับผู้ชาย นี่คือความเป็นนักเลงของอาจารย์ ที่เวลาผ่านไปสามสิบสี่สิบปี เพื่อสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อาจารย์ไม่เคยเปลี่ยนไป ต่อสู้เพื่อพวกเรา…

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง เป็น ยิ่งกว่าความพึ่งพิง ยิ่งกว่าความเมตตากรุณาที่หาที่สุดมิได้ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สานความสัมพันธ์ ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง ปี6 อาจารย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษาทั้งมวล โดยที่อาจารย์อาจไม่รู้สึกตัวอาจารย์จำได้ไหมครับ พวกรุ่นน้องแต่งเพลงให้อาจารย์ พวกเราชุมนุมให้อาจารย์ พวกเราสรรหาสารพัดวิธีแสดงความรักต่ออาจารย์ ผมคิดว่าอาจารย์ดีใจอยู่มาก อาจารย์บอกว่า สิ่งที่อาจารย์ต้องการที่สุด คือให้พวกเราสอบผ่าน เรียนจบไปเร็วๆ เพียงแค่นั้นจริงๆ

ย้อนไปปีก่อนหลายคนตกใจครับ เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายที่ปอด และแพร่ลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจารย์ยังยิ้มบอกว่า “ไม่เป็นไร”

อาจารย์ทำเป็นไม่ป่วยครับ ไม่ว่านักศึกษาจะจัดกิจกรรมอะไร จัดงานที่ไหน ออกต่างจังหวัด ไปไกลสุดหล้าฟ้าเขียว อาจารย์จะเดินทางไปให้กำลังใจพวกเราทุกที่ หรือแม้แต่รุ่นพี่พวกเราที่จบไปแล้ว อาจารย์ก็ยังยินดีช่วยเหลือ เดินทางไปหาเสมอ หลายคนถามผมว่า ข่าวที่ว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายนั้น เป็นข่าวโคมลอยใช่หรือไม่ ผมก็หวังว่าจะให้เป็นเช่นนั้น…

อาจารย์ทำตนว่าแข็งแรง มาตลอดกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา อาจารย์ต้องแอบคนอื่น ไปหลบตามมุมเพียงเพื่อที่จะเหนื่อยหอบ ต้องทำเป็นแข็งแรงทั้งที่เดินขึ้นบันไดสองสามขั้นยังไม่ไหว ผมเคยแอบถามอาจารย์ว่า ทำไมอาจารย์ถึงยังต้องมาทำงานอยู่อีก ทำงานคณบดีที่เหน็ดเหนื่อย วุ่นวาย ทรมานร่างกายและจิตใจ ทั้งที่อาจารย์มีทุกอย่างพร้อมแล้ว มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบริวารผู้คนรู้จักมากมาย มีเงินทองทรัพย์สินจนไม่ต้องหาเงินอีก อยู่บ้านไม่สบายกว่าหรือครับอาจารย์ อาจารย์ตอบผมว่า “เมื่อรับตำแหน่งมาแล้ว ก็ต้องทำให้ถึงที่สุด” เธอต้องรู้นะว่า ครูเหนื่อยกับพวกเธอเพียงไร “สิ่งที่ครูทำทุกวันนี้ เพื่ออนาคตอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้าของพวกเธอ”

อาจารย์บอกว่า “ขนาดลูกครู ครูยังไม่ได้ดูแลขนาดนี้เลย” หลายคนได้สัมผัสและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ว่าอาจารย์ดูแลพวกเราเปรียบดังพวกเราเป็นบุตรหลานของท่าน

ทุกคนรักและเป็นห่วงอาจารย์มากครับ ที่ผ่านมา มีคนให้เครื่องรางของขลัง สิ่งศักดิ์สิทธิ บทสวดภาษาต่างๆแก่อาจารย์มากมาย อาจารย์เคยเล่าให้ผมฟังพลางหัวเราะ ตลก ว่าถ้าอาจารย์สวดทุกบทคงเหนื่อยตายพอดี อาจารย์บอกว่าอาจารย์ไม่เชื่อเรื่องพวกนี้ คนเราถ้าทำดีแล้ว อยู่ที่ไหนก็ดี ให้ความดีคุ้มภัย ไม่ต้องไปใช้เครื่องรางของขลัง

อาจารย์เหน็ดเหนื่อยทำงานหนักเพื่อพวกเราตลอดมา จนลืมใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ยาก็ไม่ทานตรงตามเวลา ทั้งหมดเพราะเห็นสิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตของตน นั่นคือ นักศึกษา จนแม้ตอนหลังอาจารย์รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหลายขนาน ร่างกายทรุดโทรม เป็นไข้บ่อย อาจารย์ก็ยังเดินทางมาคอยดูแลพวกเราตลอดเวลา ยิ้มแย้มหัวเราะ ไม่พยายามแสดงออกให้ใครเห็นถึงความเจ็บป่วย

สัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์เหนื่อยหอบบ่อยขึ้น อาจารย์พูดกับผมว่า “สงสัยครูจะอยู่ได้อีกไม่นานแล้วล่ะ ครูเหนื่อยเหลือเกิน” ผมนึกว่าอาจารย์หยอกล้อพวกผมเล่นเหมือนเคย ในใจสวดมนต์อ้อนวอนระลึกให้อาจารย์ไม่เป็นไร

ผมจำได้ อาจารย์เคยบอกพวกเราเมื่อต้นปีว่า “หมอบอกว่าครูจะอยู่ได้แค่หกเดือน ตอนนี้ครูอยู่ได้เจ็ดเดือน นี่คือกำไรชีวิตแล้ว” ทุกคนปรบมือแสดงความดีใจ เหนืออื่นใด คือยินดีที่คนที่พวกเขารัก เทิดทูน คนที่ให้ความอบอุ่น อาจารย์ยังดูเหมือนว่าแข็งแรงดีอาจารย์เป็นคนไม่กลัวตาย อาจารย์พูดกับผมบ่อยมากว่า การตายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่ากลัว คนอยู่นั้นน่ากลัว พวกเธอก็น่ากลัว อาจารย์หัวเราะ

สุดท้ายผมก็ไม่ได้พบอาจารย์ อาจารย์บอกผมว่าอย่ามาเยี่ยม เลยไม่ได้เยี่ยมจริงๆเลยครับ

•••

พวกเราเรียนรู้หลายสิ่งจากอาจารย์ครับ คุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ อาจารย์สอนให้พวกเรารู้ว่า “การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” นั้นเป็นเช่นไร อาจารย์เป็นตัวอย่างของแพทย์ ที่เป็นคนดีของสังคมด้วย

พระคุณของอาจารย์นั้น ไม่ว่าชาตินี้ชาติไหนก็คงตอบแทนไม่หมด น้ำใจที่กว้างใหญ่ อาจารย์ได้หล่อหลอมพวกเราขึ้นมา จากเด็กไม่รู้จักคิด ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้น มีความคิดมากขึ้น พร้อมที่จะเป็นแพทย์ในอนาคต

แม้ต่อไปนี้ผมอาจไม่ค่อยได้ไปหา เพื่อพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของนักศึกษา ให้อาจารย์ฟัง

แต่เชื่อว่า ทุกครั้งที่นักศึกษาทุกคนระลึกถึงอาจารย์ ต่อจากนี้ไป นั่นเปรียบเสมือนการส่งต่อข้อความไปถึงอาจารย์ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ชีวิตของพวกเราทั้งผองที่อาจารย์ได้ฟูมฟักดูแล ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างในอนาคต ทำอะไรกันอยู่ เติบใหญ่ไปเป็นแพทย์กันเช่นไร

พวกผมคงต้องกราบขอขมาทุกสิ่งที่เคยรบกวนอาจารย์ ทำให้อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ลำบาก คอยต่อสู้เพื่อพวกผมตลอดมา และต่อจากนี้ พวกเรานักศึกษา ลูกศิษย์ทุกคนจะตั้งใจฝ่าฟันอุปสรรค และจบไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมครับ ให้สมดังสิ่งที่อาจารย์คาดหวัง ต่อไปนี้เราจะต้องยืนหยัดต่อไปได้ด้วยตนเอง สืบสานเจตนารมณ์อาจารย์ “ความแข็งแกร่ง”ของอาจารย์

อาจารย์จะประทับอยู่ในจิตใจของพวกเราทุกคนตลอดไป…

“ท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล – มารดาของแพทย์รังสิต”

กราบแทบเท้าด้วยความเคารพรักครับอาจารย์

แต่งกลอนมาฝากด้วยครับ

มาวันนี้ ไม่มี เธอที่รักสุดจะหัก ห้ามจิต คิดโศกศัลย์

จักจดจำ คำสั่งสอน ทุกคืนวันที่สอนว่า ให้เรานั้น เป็นคนดี

ให้อดทน กล้าแกร่ง เผชิญหน้าอุปสรรค ฟันฝ่า ไม่ถอยหนี

มีคุณธรรม นำความรู้ คู่ชีวีหมั่นเพียรนี้ ช่วยเราได้ ให้มั่นคง

ใช้โอกาส ที่ท่านให้ เป็นทางผ่านสู่งานการ สำเร็จล่วง สมประสงค์

มิตรภาพ ทั้งผองไว้ ให้ดำรงความซื่อตรง ความรัก สามัคคี

แม้เธอจาก ไปแล้ว ไม่ไปลับสร้างรังสิต มีระดับ เกียรติศักดิ์ศรี

เป็นคนงาม น้ำใจ ให้เมื่อมีแพทย์ที่ดี สืบสาน เจตนารมณ์


 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปีที่4 (ผู้แต่ง) และนักศึกษาแพทย์ทุกคน

15 กันยายน 2551

Posted in: กลอน, ข่าว, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: คณบดี, ดร, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, พญ, รังสิต, สุดยอด, สุดยอดคณบดี, หมอ, อาจารย์, อาทิตย์, แพทย์

มุทิตาจิต ถึง อาจารย์แพทย์อำพล

April 27, 2008 by Gla 3 Comments
มีข่าวน่ายินดีครับ หวังว่าเพื่อนๆทั้งผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน และทุกคน จะร่วมยินดีด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่าใครคือหมออำพล?
ท่านอาจารย์หมออำพลเป็นนักศึกษาธรรม และนักปฏิบัติธรรมครับ ท่านนับถือพุทธทาส และศึกษาพุทธในหลายดินแดน เดือนทางเพื่อศึกษาพุทธรอบโลก
โดยเฉพาะไต้หวัน ท่านไปมาแล้วหลายครั้ง พร้อมกันนั้น ยังชวนบิ๊กๆทั้งหลายไปไต้หวันด้วยกันบ่อยๆครับ
ท่านสนใจในลัทธิ สือจี้ ที่เน้น การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นในสังคม
ท่านเคยมาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม ให้แก่นักศึกษาแพทย์ วิทยาลัยที่ข้าพเจ้าอยู่ครับ
สิ่งที่ท่านได้ทำและผลักดันมาตลอดชีวิต ที่เห็นได้ชัดคือ สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และสังคมครับ
แม้จะอยู่ในแวดวงคนใหญ่คนโต (ถ้าใครสนใจจริง ต้องไปหาประวัติเพิ่มเติมครับ เขียนสิบหน้าA4ก็คงไม่หมด)
เป็นถึงที่ปรึกษา รัฐมนตรีสาธารณสุข มาหลายยุคหลายสมัย, 4เสือ แพทย์ชนบท (สนิทกับ อ.สงวน เลขาฯ สปสช. ผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตไป-เจ้าของไอเดีย30บาทที่ถูกทักษิณยืมไปใช้ทางการเมือง), ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ  , เกี่ยวข้องกับ สสส.(องค์การชื่อดังครับ ใครไม่รู้จักต้องรีบรู้จักนะครับ), อดีตสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งชาติ ฯลฯ
ยิ่งใหญ่ระดับ รัฐมนตรีทุกคน ต้องให้เกียรติครับ
ท่านได้ทำงานร่วมกับบุคคลที่ดี มีชื่อเสียงในวงการสาธารณสุขหลายท่าน อาทิเช่น อ.ประเวศ ราษฎรอาวุโส ครับ
ท่านเคยกล่าวไว้ครับ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่า  ลาภ ยศ สรรเสริญ เสื่อมไปตามกาลเวลา
สักวันหนึ่งท่านก็ต้องตายเหมือนทุกคน
ข้าพเจ้าก็เห็นด้วยเช่นกันครับ ไม่ว่าจะใหญ่คับฟ้า สุดท้ายทุกคนเล็กกว่าโลงครับ
ทุกวันนี้ อาจารย์หมอท่านไม่ได้เลื่อมใสเพียงการสวดมนต์เพื่อหวังบรรลุ ท่านเน้นการปฏิบัติเสียมากกว่า
และเป็นการปฏิบัติที่เป็นตัวอย่างอันดี แก่แพทย์ทุกคนครับ
ขอร่วมส่งมุทิตาจิตถึงท่านครับ
ในเรื่องบุญกุศลที่ได้จากการช่วยเหลือสรรพมนุษย์ ทั้งหลาย
ปล. ใครอยากรู้เรื่องแพทย์ชนบท ซึ่งเกี่ยวพันกับการเมืองมาโดยตลอด พยายามศึกษาได้ครับ
ตัวอย่างเว็บ http://www.fridaycollege.org/blog.php?file=right&obj=forum.forprint(cat_id=news-n01,id=201,name=print.friendly)
เกี่ยวกับเว็บไซต์ สช. ครับ
http://www.hsro.or.th/demo/home.html <เว็บไซต์ สช.ครับ
http://www.hsro.or.th/demo/cont_january/article_01.51.pdf <บทความของอาจารย์หมออำล ที่มีต่อ การจากไป ของ อาจารย์หมอสงวนครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000048986
“หมออำพล” นั่งแท่นเลขาธิการ สช.
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2551 12:10 น.


“หมออำพล” นั่งแท่นเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มติเอกฉันท์ รอ สธ.ส่งเรื่องซี 11 แล้วจะลาออกมาทำงาน สช.ต่อ

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา นพ.สุรพงษ์และนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุขติดภารกิจ จึงให้ตนเองประธาน ซึ่งมีมติในการเลือกเลขาธิการสช.จากผู้สมัครทั้งสิ้น 3 ราย โดยมติในที่ประชุมเป็นเอกฉันท์เลือกให้ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ สช.วาระ 4ปี

สำหรับขั้นตอนต่อไปคงไม่ต้องนำเสนอมติที่ประชุมที่คัดเลือกให้นพ.อำพลเป็นเลขาธิการสช.เข้าสู่คณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด สามารถนำเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งได้ทันที ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบได้

ด้านนพ.อำพล จินดาวัฒนะ ว่าที่เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกดีใจหรือไม่ดีใจแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องความเหมาะสมที่ คสช.พิจารณา ส่วนตัวก็เหมือนกับการทำงานต่อไป เพราะที่ผ่านมาก็เป็นผู้ทำงานผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ต้น ซึ่งตั้งใจให้ พ.ร.บ.เกิดประโยชน์กับประชาชนที่สุด

“เมื่อ คสช.มีมติเลือกผม ตามขั้นตอนก่อนที่จะรับตำแหน่งผมต้องลาออกจากการเป็นข้าราชการก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการที่กระทรวงสาธารณสุขจะนำเรื่องการเลื่อนระดับข้าราชการระดับ 11 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ จากนั้นก็จะลาออกและมารับตำแหน่งเลขาธิการสช.ตามขั้นตอน ซึ่งไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใด” นพ.อำพล กล่าว

นพ.อำพล กล่าวว่า หน้าที่หลักของ สช.คือเป็นฝ่ายประสานให้ภาครัฐ ภาคสังคม ฝ่ายวิชาการ ให้แก้ไขปัญหายากๆ สร้างสุขภาวะให้เกิดความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ ที่อาจถอดบทเรียนในพื้นที่ที่สถานพยาบาลกับชุมชนมีความเข้าใจกันดี เพื่อเป็นบทเรียนให้กับกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นแบบแผนในการอบรมผู้อำนวยการสถานพยาบาลในการลดปัญหาดังกล่าวต่อไป รวมถึงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อสุขภาพของประชาชนด้วย รวมถึงขับเคลื่อนให้สังคมขับเคลื่อนเป็นเมืองไทยหัวใจความเป็นมนุษย์ด้วย โดยมี สช.เป็นแกนนำขับเคลื่อนให้องค์กรต่างๆ ร่วมกันแก้ปัญหา

อนึ่ง คณะกรรมการบริหาร สช.ได้ประกาศศรับสมัครคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสช.เมื่อวันที่ 8 ก.พ. และเปิดให้ส่งใบสมัครภายใน 10-14 มี.ค.จนเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ได้พิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครจากเอกสารมีผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนด 1 ราย ได้แก่ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ โดยในวันที่ 4 เม.ย.มีการสัมภาษณ์ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการคัดเลือกที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Posted in: ข่าว, วงการแพทย์ Tagged: จินดาวัฒนะ, นพ, หมอ, อำพล

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.