• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

จิตวิทยา

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา

September 30, 2010 by Gla Leave a Comment

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา


 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

*ตีพิมพ์ในนิตยสาร demo-crazy.com ฉบับ 20

ข่าวคราวที่มาแรงในสังคมไทยหลายเดือนมานี้ เกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

คนส่วนใหญ่ที่ติดตามข่าวสาร แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด คงเห็นพ้องต้องกันว่า พรบ.นี้ มีเจตนาดี หลักการสำคัญเพื่อเยียวยาผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข เป็นสังคมเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน

หลายคนคงเห็นแพทย์ โดยเฉพาะแพทยสภาที่ออกมาคัดค้าน เป็นตัวร้ายของเรื่องนี้ไป

ส่วนตัวผมเอง มีความเคารพอาจารย์ในแพทยสภาหลายท่าน และก็ไม่ศรัทธาอาจารย์บางท่านเช่นกัน แต่ประเด็นของเรื่องนี้ อยู่ที่ “ประโยชน์ของประชาชน” ดังนั้นต้องอธิบายว่าที่แพทย์หลายส่วนไม่ยอมรับ พรบ.นี้ แต่งชุดดำ ออกมาคัดค้านกันนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องผลประโยชน์ตนเองเพียงส่วนเดียว

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: การแพทย์, ขัดแย้ง, จิตวิทยา, จิตเวช, ผู้เสียหาย, พรบ.คนไข้, พรบ.สาธารณสุข

Autoerotic asphyxiation

July 21, 2009 by Gla 4 Comments

Autoerotic asphyxiation

ตีพิมพ์ วารสาร Demo-Crazy.com เล่ม9

ช่วงนี้มีกระแสข่าวที่ไม่ค่อยจะดีนัก เกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย ที่สื่อไทยทั้งหลายได้ทีเอามาขายเป็นข่าว บางครั้งเพื่อความเนียนก็อ้างอาจารย์หมอนิติเวชชื่อดังท่านหนึ่งว่าเป็นผู้ให้ข่าว โดยที่การกระทำของสื่อเหล่านั้น ไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของครอบครัว ญาติ คนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตสักเท่าไรนัก อีกทั้งยังไม่ให้เกียรติแก่ผู้จากไปอีกด้วย

ในทางการแพทย์ แพทย์ทุกคนล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิผู้ป่วย ทั้งให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนแก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจรักษา รักษาข้อมูลผู้ป่วยเป็นความลับ ยกเว้นในกรณีใช้เพื่อการศึกษา เช่น ให้นักศึกษาแพทย์มาเรียนรู้ ซักประวัติกับผู้ป่วย แต่ก็จบอยู่เพียงการศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหลักจริยธรรมอีกมากที่คอยกำกับการรักษาผู้ป่วย

นอกจากสิทธิผู้ป่วยแล้ว เรายังล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้ตาย แม้ว่าจะอยู่ในกระบวนการผลักดันกฎหมายอยู่ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติของแพทย์มีมานานแล้วว่า หากการตายของผู้ป่วยนั้น เมื่อผู้อื่นรับรู้แล้วเกิดความเป็นความดูถูก เหยียดหยามใน เกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แพทย์ย่อมไม่ใช้คำพูด หรือคำศัพท์ที่จะทำให้เสื่อมเสีย อาทิเช่น ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ เรามักไม่เขียนว่าเป็นโรคเอดส์เสียชีวิต จะเขียนเพียงอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คงมีเพียงผู้อยากรู้อยากเห็น ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร เท่านั้น

ทั้งนี้ เรื่อง Autoerotic asphyxiation ที่เขียนวันนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวถึงผู้ใด เป็นเพียงการค้นคว้าหาความรู้ของผมเท่านั้น Auto หมายถึง ตัวเอง, Erotic หมายถึง ความใคร่ ความต้องการทางเพศ, Asphyxiation หมายถึงภาวะขาดอากาศหายใจ พอเอาความหมายมารวมกันแล้วหมายถึง การพยายามสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีพยายามทำให้ตนเองขาดอากาศหายใจ ยังมีคำเรียกอีกหลายคำ เช่น asphyxiophilia, autoerotic asphyxia, breath control play จัดเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศอย่างหนึ่ง (paraphilia ที่ผมเขียนเคยในซีรีส์นักการเมืองโรคจิต ว่าเจ๊เพ็ญเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศแบบ Homophilia)

เป็นภาวะที่มีรายงานมาเป็นเวลาสี่ร้อยกว่าปีแล้ว และเคยมีแพทย์สมัยก่อน ศึกษาเรื่องนี้ คิดนำมาใช้เป็นวิธีการรักษาอาการนกเขาไม่ขันของผู้ชาย โดยให้กระทำการ Autoerotic asphyxiation ในการควบคุมดูแลของแพทย์

แต่เพราะว่าเรื่องนี้มีอันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ระมัดระวัง ตอนหลังก็เลิกวิธีการรักษาเช่นนี้ไป แต่ที่ยังมีคำนี้อยู่ เป็นเพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของคนที่กระทำวิธีนี้ และเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ จริงๆแล้วแม้ในหนังผู้ใหญ่ของฝรั่ง เราก็อาจเห็นการมีเพศสัมพันธ์และชอบบีบคอกัน หลายคนชื่นชอบการหายใจไม่สะดวกเวลามีเพศสัมพันธ์ บอกว่าช่วยกระตุ้นอารมณ์ หลายคนชอบเอาอุปกรณ์มารัดคอ ฯลฯ เรื่องนี้อธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าเมื่อขาดอากาศหายใจ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีมากขึ้น หัวใจจะเต้นแรงขึ้น พยายามสูบฉีดโลหิตมากขึ้น ต้องก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่เกิดความตื่นเต้น สมองก็หลั่งสารแห่งความสุขออกมา ยิ่งทำให้ผู้กระทำการ มีความสุข เคลิ้ม มากขึ้น

แต่ก็เป็นอันตรายไม่น้อย เพราะอาจทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน และทำบ่อยๆเข้า ก็อาจเสพติดได้ ในรายที่เสียชีวิต ส่วนหนึ่งก็คือมีความสุขมาก จนขาดอากาศ เสียชีวิต

เรื่อง Autoerotic asphyxiation นี้ เมื่อบุคคลที่กระทำการคนเดียว พลาดพลั้งเสียชีวิตไปแล้ว ผู้อื่นมาพบเข้ามักจะเข้าใจว่าเป็นการฆ่าตัวตายแบบวิตถาร แปลกพิสดาร จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

หลักเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับการพิจารณาว่าผู้ตายเป็น Autoerotic asphyxiation หรือไม่

1.มักเป็นเพศชาย

2.มีประวัติการเบี่ยงเบนทางเพศมาก่อน (เบี่ยงเบนทางเพศก็มีหลายประการ ตั้งแต่รักร่วมเพศ หรือรักสัตว์ รักศพ ฯลฯ)

3.พบสภาพศพเปลือยกาย อาจพบคราบน้ำอสุจิ

4.มักมีอุปกรณ์ช่วยให้ตนเองขาดอากาศหายใจ เช่นเชือก หรือถุงพลาสติก ฯลฯ รวมไปถึงหนังสือลามก วีดิทัศน์กระตุ้นอารมณ์ต่างๆ อยู่ใกล้ๆ และเปิดทิ้งไว้

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่านได้นะครับ และหากพบว่าคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรพูดคุย แนะนำ หรือให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายครับ

บางทีก็น่าคิดว่า ทำไมมนุษย์เรานี่ชอบทำเรื่องแปลกประหลาดกันจริงหนอ•

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์ Tagged: Autoerotic asphyxiation, ความใคร่, จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, สำเร็จ, หมอ, แพทย์, โรคจิต

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

June 3, 2009 by Gla 5 Comments

บทความนี้เขียนก่อนเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Demo-Crazy ฉบับ พฤษภาคม 2552

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

ชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์ปี5 โรงพยาบาลราชวิถี chanesd@gmail.com

บก.ให้การบ้านซึ่งยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตๆ…

ขอย้อนความไปตั้งแต่การประชุมสภา ไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราก็คงเห็นความหลากหลายทางสภาพจิต ของ บรรดาท่านผู้มีเกียรติในสภา ไม่ว่าจะชูให้นิ้วกลางกัน พูดจาหยาบคาย พูดจาโอ้อวด ปั้นเรื่อง หลายคนพยายามหาเสียงระหว่างอภิปราย อยากเด่น อยากดัง พยายามโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นรายการถ่ายทอดสดให้ชมได้ทั่วประเทศผู้ชมหลายคนจึงได้สนุกสนานกับการเห็นคนเหล่านี้แสดงบทบาทในสภา บทบาทที่ไม่เหมือนคน…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมือง, จิตวิทยา, จิตเวช, ชินวัตร, ทักษิณ, นักการเมือง, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, วิพากษ์, หมอ, แพทย์, โรค, โรคจิต

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

May 19, 2009 by Gla 5 Comments

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปี5 ณ ราชวิถี [chanesd@gmail.com]

ผมได้ผ่านแผนกจิตเวชศาสตร์ในระดับชั้นปี5 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้รับความรู้ทางวิชาการ และมุมมองทางสังคมหลายประการผ่านการถ่ายทอดของคณาจารย์จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และที่สำคัญ คือเรียนรู้จากอาจารย์ผู้ป่วย(หมายถึง คนไข้จริงๆ)ที่มาหาพวกเราที่โรงพยาบาลราชวิถีนั่นเอง

นอกจากศึกษาในโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานยังสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันราชานุกูล(บริการผู้บกพร่องทางสติปัญญา www.rajanukul.com) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (www.icamtalk.com) และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (www.galyainstitute.com)ล้วนสังกัด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ Tagged: จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, หมอ, เข้าใจ, เห็นใจ, แพทย์, โรค, โรคจิต

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.