• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

จิตเวช

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา

September 30, 2010 by Gla Leave a Comment

พรบ.ฯ และมุมมองทางจิตวิทยา


 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

*ตีพิมพ์ในนิตยสาร demo-crazy.com ฉบับ 20

ข่าวคราวที่มาแรงในสังคมไทยหลายเดือนมานี้ เกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

คนส่วนใหญ่ที่ติดตามข่าวสาร แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด คงเห็นพ้องต้องกันว่า พรบ.นี้ มีเจตนาดี หลักการสำคัญเพื่อเยียวยาผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข เป็นสังคมเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน

หลายคนคงเห็นแพทย์ โดยเฉพาะแพทยสภาที่ออกมาคัดค้าน เป็นตัวร้ายของเรื่องนี้ไป

ส่วนตัวผมเอง มีความเคารพอาจารย์ในแพทยสภาหลายท่าน และก็ไม่ศรัทธาอาจารย์บางท่านเช่นกัน แต่ประเด็นของเรื่องนี้ อยู่ที่ “ประโยชน์ของประชาชน” ดังนั้นต้องอธิบายว่าที่แพทย์หลายส่วนไม่ยอมรับ พรบ.นี้ แต่งชุดดำ ออกมาคัดค้านกันนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องผลประโยชน์ตนเองเพียงส่วนเดียว

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: การแพทย์, ขัดแย้ง, จิตวิทยา, จิตเวช, ผู้เสียหาย, พรบ.คนไข้, พรบ.สาธารณสุข

Autoerotic asphyxiation

July 21, 2009 by Gla 4 Comments

Autoerotic asphyxiation

ตีพิมพ์ วารสาร Demo-Crazy.com เล่ม9

ช่วงนี้มีกระแสข่าวที่ไม่ค่อยจะดีนัก เกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย ที่สื่อไทยทั้งหลายได้ทีเอามาขายเป็นข่าว บางครั้งเพื่อความเนียนก็อ้างอาจารย์หมอนิติเวชชื่อดังท่านหนึ่งว่าเป็นผู้ให้ข่าว โดยที่การกระทำของสื่อเหล่านั้น ไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของครอบครัว ญาติ คนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตสักเท่าไรนัก อีกทั้งยังไม่ให้เกียรติแก่ผู้จากไปอีกด้วย

ในทางการแพทย์ แพทย์ทุกคนล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิผู้ป่วย ทั้งให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนแก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจรักษา รักษาข้อมูลผู้ป่วยเป็นความลับ ยกเว้นในกรณีใช้เพื่อการศึกษา เช่น ให้นักศึกษาแพทย์มาเรียนรู้ ซักประวัติกับผู้ป่วย แต่ก็จบอยู่เพียงการศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหลักจริยธรรมอีกมากที่คอยกำกับการรักษาผู้ป่วย

นอกจากสิทธิผู้ป่วยแล้ว เรายังล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้ตาย แม้ว่าจะอยู่ในกระบวนการผลักดันกฎหมายอยู่ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติของแพทย์มีมานานแล้วว่า หากการตายของผู้ป่วยนั้น เมื่อผู้อื่นรับรู้แล้วเกิดความเป็นความดูถูก เหยียดหยามใน เกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แพทย์ย่อมไม่ใช้คำพูด หรือคำศัพท์ที่จะทำให้เสื่อมเสีย อาทิเช่น ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ เรามักไม่เขียนว่าเป็นโรคเอดส์เสียชีวิต จะเขียนเพียงอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คงมีเพียงผู้อยากรู้อยากเห็น ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร เท่านั้น

ทั้งนี้ เรื่อง Autoerotic asphyxiation ที่เขียนวันนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวถึงผู้ใด เป็นเพียงการค้นคว้าหาความรู้ของผมเท่านั้น Auto หมายถึง ตัวเอง, Erotic หมายถึง ความใคร่ ความต้องการทางเพศ, Asphyxiation หมายถึงภาวะขาดอากาศหายใจ พอเอาความหมายมารวมกันแล้วหมายถึง การพยายามสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีพยายามทำให้ตนเองขาดอากาศหายใจ ยังมีคำเรียกอีกหลายคำ เช่น asphyxiophilia, autoerotic asphyxia, breath control play จัดเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศอย่างหนึ่ง (paraphilia ที่ผมเขียนเคยในซีรีส์นักการเมืองโรคจิต ว่าเจ๊เพ็ญเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศแบบ Homophilia)

เป็นภาวะที่มีรายงานมาเป็นเวลาสี่ร้อยกว่าปีแล้ว และเคยมีแพทย์สมัยก่อน ศึกษาเรื่องนี้ คิดนำมาใช้เป็นวิธีการรักษาอาการนกเขาไม่ขันของผู้ชาย โดยให้กระทำการ Autoerotic asphyxiation ในการควบคุมดูแลของแพทย์

แต่เพราะว่าเรื่องนี้มีอันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ระมัดระวัง ตอนหลังก็เลิกวิธีการรักษาเช่นนี้ไป แต่ที่ยังมีคำนี้อยู่ เป็นเพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของคนที่กระทำวิธีนี้ และเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ จริงๆแล้วแม้ในหนังผู้ใหญ่ของฝรั่ง เราก็อาจเห็นการมีเพศสัมพันธ์และชอบบีบคอกัน หลายคนชื่นชอบการหายใจไม่สะดวกเวลามีเพศสัมพันธ์ บอกว่าช่วยกระตุ้นอารมณ์ หลายคนชอบเอาอุปกรณ์มารัดคอ ฯลฯ เรื่องนี้อธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าเมื่อขาดอากาศหายใจ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีมากขึ้น หัวใจจะเต้นแรงขึ้น พยายามสูบฉีดโลหิตมากขึ้น ต้องก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่เกิดความตื่นเต้น สมองก็หลั่งสารแห่งความสุขออกมา ยิ่งทำให้ผู้กระทำการ มีความสุข เคลิ้ม มากขึ้น

แต่ก็เป็นอันตรายไม่น้อย เพราะอาจทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน และทำบ่อยๆเข้า ก็อาจเสพติดได้ ในรายที่เสียชีวิต ส่วนหนึ่งก็คือมีความสุขมาก จนขาดอากาศ เสียชีวิต

เรื่อง Autoerotic asphyxiation นี้ เมื่อบุคคลที่กระทำการคนเดียว พลาดพลั้งเสียชีวิตไปแล้ว ผู้อื่นมาพบเข้ามักจะเข้าใจว่าเป็นการฆ่าตัวตายแบบวิตถาร แปลกพิสดาร จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

หลักเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับการพิจารณาว่าผู้ตายเป็น Autoerotic asphyxiation หรือไม่

1.มักเป็นเพศชาย

2.มีประวัติการเบี่ยงเบนทางเพศมาก่อน (เบี่ยงเบนทางเพศก็มีหลายประการ ตั้งแต่รักร่วมเพศ หรือรักสัตว์ รักศพ ฯลฯ)

3.พบสภาพศพเปลือยกาย อาจพบคราบน้ำอสุจิ

4.มักมีอุปกรณ์ช่วยให้ตนเองขาดอากาศหายใจ เช่นเชือก หรือถุงพลาสติก ฯลฯ รวมไปถึงหนังสือลามก วีดิทัศน์กระตุ้นอารมณ์ต่างๆ อยู่ใกล้ๆ และเปิดทิ้งไว้

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่านได้นะครับ และหากพบว่าคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรพูดคุย แนะนำ หรือให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายครับ

บางทีก็น่าคิดว่า ทำไมมนุษย์เรานี่ชอบทำเรื่องแปลกประหลาดกันจริงหนอ•

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์ Tagged: Autoerotic asphyxiation, ความใคร่, จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, สำเร็จ, หมอ, แพทย์, โรคจิต

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

June 3, 2009 by Gla 5 Comments

บทความนี้เขียนก่อนเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Demo-Crazy ฉบับ พฤษภาคม 2552

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

ชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์ปี5 โรงพยาบาลราชวิถี chanesd@gmail.com

บก.ให้การบ้านซึ่งยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตๆ…

ขอย้อนความไปตั้งแต่การประชุมสภา ไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราก็คงเห็นความหลากหลายทางสภาพจิต ของ บรรดาท่านผู้มีเกียรติในสภา ไม่ว่าจะชูให้นิ้วกลางกัน พูดจาหยาบคาย พูดจาโอ้อวด ปั้นเรื่อง หลายคนพยายามหาเสียงระหว่างอภิปราย อยากเด่น อยากดัง พยายามโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นรายการถ่ายทอดสดให้ชมได้ทั่วประเทศผู้ชมหลายคนจึงได้สนุกสนานกับการเห็นคนเหล่านี้แสดงบทบาทในสภา บทบาทที่ไม่เหมือนคน…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมือง, จิตวิทยา, จิตเวช, ชินวัตร, ทักษิณ, นักการเมือง, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, วิพากษ์, หมอ, แพทย์, โรค, โรคจิต

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

May 19, 2009 by Gla 5 Comments

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปี5 ณ ราชวิถี [chanesd@gmail.com]

ผมได้ผ่านแผนกจิตเวชศาสตร์ในระดับชั้นปี5 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้รับความรู้ทางวิชาการ และมุมมองทางสังคมหลายประการผ่านการถ่ายทอดของคณาจารย์จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และที่สำคัญ คือเรียนรู้จากอาจารย์ผู้ป่วย(หมายถึง คนไข้จริงๆ)ที่มาหาพวกเราที่โรงพยาบาลราชวิถีนั่นเอง

นอกจากศึกษาในโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานยังสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันราชานุกูล(บริการผู้บกพร่องทางสติปัญญา www.rajanukul.com) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (www.icamtalk.com) และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (www.galyainstitute.com)ล้วนสังกัด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ Tagged: จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, หมอ, เข้าใจ, เห็นใจ, แพทย์, โรค, โรคจิต

นักการเมืองโรคจิต(3)

November 10, 2008 by Gla 3 Comments

นักการเมืองโรคจิต(3)

หมายเหตุ เขียนไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 จะได้ลง Demo-Crazy.com เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551

SL707332 copy

                ตอนสุดท้ายแล้วนะครับ สำหรับมหากาฬไตรภาค ฉบับ “นักการเมืองโรคจิต”

                มีเพื่อนสนิทนักศึกษาไทยในอเมริกาบอกผมว่า เวลาพูดถึงเรื่องการเมือง แล้วไม่พูดถึงคุณทักษิณ ก็เปรียบเสมือนไม่ได้พูดเรื่องการเมือง

                แสดงให้เห็นว่าคุณทักษิณเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปมากในช่วงไม่กี่สิบปี สร้างระบอบทักษิณหยั่งรากลึกลงไปถึงระดับรากหญ้า ทักษิณกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการเมืองไทยไปแล้ว แม้ว่าในสายตาประชาชน พันธมิตรฯ จะมองทักษิณเป็นมารร้าย หัวหน้าตัวจริงรัฐบาลสัตว์นรก เทวทัต ฯลฯ ก็ตาม

ตัวผู้เขียนเองเรียนหมอ วิชาชีพทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจรักษาผู้ป่วยทางกายได้ หากแต่การพัฒนาประเทศชาติ การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยนั้น ต้องใช้การรักษาทางจิตใจ ธรรมะ  คุณธรรม จริยธรรม ยกระดับสติปัญญา การศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทั่วไป ตื่นตัว รับทราบในความเป็นไปทางการเมือง และทำความเข้าใจว่าประชาชนมีพลัง มีอำนาจ สามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ อย่างกรณีพันธมิตรที่เราเห็นนี้นั่นเอง ผู้คนที่ไม่ยอมทนปล่อยให้ความชั่วร้าย ต่ำช้า มาย่ำยีสถาบัน ปกครองประเทศ
[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมืองไทย, คำศัพท์, จิตเภท, จิตเวช, ทักษิณ, นักการเมือง, ประสาท, สมัคร, เพี้ยน, โรคจิต, ไม่เต็ม

นักการเมืองโรคจิต(2)

August 2, 2008 by Gla 5 Comments
หมายเหตุ บทความนักการเมืองโรคจิต ตั้งแต่ตอนแรก ได้เริ่มตีพิมพ์ ในวารสารประชาธิปไตย Demo-craZy.com ตั้งแต่ กรกฎาคม 2551

นักการเมืองโรคจิต(2)

BLOGGLA.COM

มาต่อกันเกี่ยวกับเรื่องจิตๆ

picweb_copy135

ตอนที่แล้ว ผมเขียนบทความ “นักการเมืองโรคจิต” ในทำนองล้อเลียนการเมืองเสียมาก

ที่เขียนไปนั้น คิดว่ายังคงความหมายเชิงวิชาการอยู่ มีการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่ายของประชาชนทั่วไป

ก็ต้องขออธิบายท่านผู้อ่านเพิ่มเติม ว่าจริงๆแล้ว พวกนักการเมือง จะเป็นพวกที่มีคุณสมบัติพิเศษ นั่นคือ เป็นดารา บางทีอาจไม่ได้เป็นโรคจิต แต่เสแสร้งให้เหมือนได้ จึงวินิจฉัยแยกโรคได้ยาก (Differential diagnosis) คนจำพวกนี้จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า Conflict of interest คนไทยมักแปลคำนี้ที่มีต้นกำเนิดมาจากทางจิตเวชไม่ถูกเท่าไรนัก มักแปลเป็น “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ไปแทน ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ซะทีเดียว

ยกตัวอย่าง รัฐบาลไม่ช่วยเหลือเหลือชาวบ้านด้านเศรษฐกิจเลย ข้าวของแพงขึ้นทุกวัน มัวแต่ชิมไปบ่นไป ใช้ปากบริหารประเทศ อย่างนี้ก็เรียกว่า Conflict of interest กล่าวคือ ไม่ยอมทำงาน แต่มัวไปหมกมุ่น พยายามทุจริต ขายแผ่นดิน เพื่อผลประโยชน์ตนเอง, นายใหญ่ และพวกพ้อง

มีปรมาจารย์เก่าแก่ด้านจิตเวช ของพระมงกุฎฯ ได้เมตตาให้ตำราจิตเวชวิเคราะห์ วินิจฉัยโรคจิตในนักการเมืองซึ่งผมไม่ขอวินิจฉัยว่า นักการเมืองคนไหนที่เป็นโรคจิตบ้าง เดี๋ยวจะกลายเป็นแบบ ท่านอาจารย์ พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ที่กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาครั้งก่อน วินิจฉัยโรคนักการเมืองท่านหนึ่ง ความจริง จิตแพทย์มองแล้วรู้ดีว่า นักการเมืองท่านนั้นน่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับด้านความเครียด การวิตกกังวล เหมือนดังคนโบราณว่า หน้าดำคร่ำเครียด เป็นเรื่องจริง และดูการพยากรณ์โรค (Prognosis) คิดว่าคงอยู่ได้อีกไม่นานถ้าไม่ได้รับการรักษา (แต่จิตแพทย์สามารถช่วยรักษาบรรเทาอาการได้ น่าเสียดายจริง… จรรยาบรรณแพทย์ ห้ามเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อ แต่ไม่แน่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งได้อีกนานเท่าไร เขียนถึงตอนนี้ คงมีผู้อ่านตะโกนว่า “ออกไป”, “เข้าคุก”)

พูดถึงนักการเมืองแล้ว ต้องนึกถึงคำนี้ ความเห็นแก่ตัว ซึ่งจัดเป็นโรคแล้วนะครับ [อ้างอิงจาก www.PubMed.gov ของกระทรวงสาธารณสุขอเมริกัน ] ท่านผู้อ่าน คงวินิจฉัยโรคได้แทนบรรดาจิตแพทย์ เพราะนักการเมืองหลายคนเห็นแก่ตัวกันมาก ทางปรัชญาเรียก อัตตนิยม คือ ทำทุกอย่างเพื่อตนเอง จึงอย่าแปลกใจถ้าฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ, พันธมิตรฯชุมนุมเล่าความจริงถึงความชั่วร้ายรัฐบาลเท่าไร ขายแผ่นดินเท่าไร แต่ ส.ส.ในสภาส่วนใหญ่ก็เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ยกมือเห็นชอบไว้วางใจรัฐบาลต่อไป

ในงานวิจัย พบว่า ความเห็นแก่ตัวนี้ (Selfishness) เป็นสิ่งที่สามารถสืบทอดกันมาทางพันธุกรรมด้วย ดังนั้น จึงได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอว่า โกงทั้งโคตร(เหง้า) โกงทั้งตระกูล

เชื่อว่า ความเห็นแก่ตัว สืบทอดมาจากยีนส์เดียวกับการแสดงออกอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า Altruism หมายถึง “การไถ่บาป” จะพบมากในนักการเมือง กล่าวคือ พวกที่ทำสิ่งชั่วร้ายมามาก ลึกๆในจิตใจอยากจะรู้สึกทำสิ่งดี สร้างภาพ ปกปิดความชั่ว หรือทดแทนส่วนลึกของจิตใจที่รู้สึกผิด (Defensive mechanism กลไกป้องกันจิตใจ) จึงแสดงออกในรูปแบบการทำบุญ เช่น พวกชอบบริจาคทาน หรืออย่างรัฐบาลที่ออกนโยบายลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดค่ารถเมล์ ต่างๆเหล่านี้ ก็จะเป็น Altruism เหมือนกัน เพราะว่าพฤติกรรมที่ผ่านมา ทำเรื่องเลวร้ายไม่พอใจประชาชนมามาก รวมถึงกรณีเสียแผ่นดิน ปราสาทพระวิหาร จึงพยายามมาสร้างภาพแสดงออกด้านดี

อันนี้ก็แล้วแต่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าให้อภัยกันได้หรือไม่ ทดแทนกันได้หรือไม่ แต่สำหรับทางจิตเวช ควรรีบไปบำบัด ช็อตไฟฟ้า รักษาให้หายบ้ากันเสียทีสำหรับผู้ที่แกล้งเป็นโรคจิต เหล่านี้

เขียนเรื่อง Defensive mechanism ไว้ ต้องขออธิบายเรื่องเกี่ยวเนื่องกันก่อนนะครับ คือเรื่องจิตสำนึก ทางจิตเวช แบ่งระดับของจิตใจเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจิตสำนึก(Conscious), ระดับจิตใต้สำนึก(Subconscious) และ ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious) จะขออธิบายระดับไร้สำนึก คือระดับจิตใจที่อยู่ลึกที่สุด ปกติจะเราจะไม่รู้ว่าลึกๆแล้วเราคิดอะไรอยู่ ระดับนี้อาจแสดงออกมาในการกระทำที่เรียกว่ากมลสันดาน หรือในความฝันแทน เช่น ถูกรัฐประหารจนต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ จิตไร้สำนึกจะบันทึกข้อมูลไว้ และอาจแสดงออกคือฝันร้ายถึงเหตุการณ์วันนั้นตลอดเวลา จิตใจจะมีกลไกป้องกันจิตไร้สำนึกไม่ให้เสียหายมากไปกว่านี้ ไม่ให้เสียสติไป โดยการแสดงออกหลายแบบในระดับจิตสำนึก (คือขณะทำ รู้ตัวดี แม้จะไม่เข้าใจว่าทำเพราะอะไร) ดังจะยกตัวอย่างต่อไป

มีกลไกการป้องกันจิตใจอยู่มากมายครับ เช่น Denial คือ พวกปฏิเสธความจริง เช่น ไม่ยอมรับว่าทุจริตโกงกินไว้มากต้องชดใช้ความผิด ต้องถูกศาลตัดสินจำคุก แต่กลับปฏิเสธความจริง จะได้ไม่เครียด เอาถุงขนมสองล้านบาทไปให้เจ้าหน้าที่ศาล เดือดร้อนทนายความลูกน้องที่ต้องติดคุกแทนอีก แต่ก็สมควร เพราะทนายพวกนี้หวัง Conflict of interest ยังไงล่ะครับ (ถ้าลืมความหมาย กลับไปอ่านข้างบน)

Projection คือ การโยนความผิดให้ผู้อื่น อันนี้คงใช้อธิบายเรื่องนักการเมืองที่ชอบซุกหุ้น เครียดจัด ก็เลยโยนความเครียดไปให้ลูกเมียซุกหุ้นแทน หรือ การกระทำผิด ก็ต้องทำผ่านนอมินี รวมถึงเรื่องปราสาทพระวิหารด้วย ที่มีคนคอยรับผิดแทน

Rationalization คือ การอ้างเหตุผลข้างๆคูๆเข้าข้างตนเอง อยู่เสมอ เช่น อยากแก้รัฐธรรมนูญ อ้างเพื่อประโยชน์ของประชาชน จริงๆแล้วก็เพื่อหนีความผิด อีกหน่อย ผมอยากให้อาญชากรในคุกรวมตัวกันยื่นสักสองหมื่นรายชื่อ ขอแก้ไขกฎหมายอาญา ให้ตนเองไม่ต้องติดคุกดูบ้าง

Acting out อันนี้จะเห็นได้ชัดจากรายการโทรทัศน์ ที่มีนักการเมืองคนหนึ่งมานั่งพูดคนเดียว ด่ากราดสื่อไปทั่ว นั่นคือ เมื่อมีความเครียดในใจมาก ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไร ก็แสดงออกมาตรงๆอย่างไร้การศึกษา หยาบคาย รุนแรง เลยครับ รวมถึงต้องขอพูดข้างเดียว กระทำฝ่ายเดียวด้วย กลัวคนตอบโต้

ยังมีกลไกการป้องกันจิตใจอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เรียกว่า Identification (การเลียนแบบ) ยกตัวอย่าง หากพ่อเป็นคน ทุจริตคอรัปชัน ลูกเห็นแล้วเกิดคลาบแคลงในใจ มีความเครียด สับสน ในระดับจิตไร้สำนึก จิตใจจะมีการป้องกันไม่ให้ตัวเองเสียหาย โดยการแสดงออก คือ พอโตขึ้นก็เลียนแบบพ่อเสียเลย จะได้ไม่รู้สึกผิด พ่อทำไว้อย่างไร ตนเองก็ทำเช่นนั้น นี่ถือเป็น Defensive mechanism อีกแบบหนึ่ง จะช่วยอธิบายว่า ทำไม นักการเมืองหลายท่าน พ่อโกง ลูกต้องโกงด้วย หรือพ่อปลาไหล ลูกต้องปลาไหลด้วย หรือพ่อไม่มีจุดยืน ลูกไม่มีจุดยืนด้วย เขาเรียกลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น นั่นเองครับ

การเรียนรู้จิตเวช จะทำให้พวกเราเข้าใจเหตุผลการกระทำของคน มากขึ้น อย่างที่ยกตัวอย่างไป ถ้าพบเห็นคนที่พยายามมาทำดีกับเรามากๆ ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า เบื้องหลังคนนั้นๆ คงมีสิ่งไม่ดีแอบแฝงอยู่เช่นกัน ถ้าพูดถึงการเมือง ต้องยกตัวอย่าง เช่น การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ที่ใกล้ถึงนี้ บางคนโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ดูดี หาเสียงมากมาย “บริหารกรุงเทพฯ ให้เป็นตัวอย่างการบริหารประเทศ” แต่เบื้องหลังเคยวิจารณ์คนกรุงเทพฯว่าฉลาดน้อย ที่เลือกคุณรสนา โตสิตระกูล เป็น ส.ว. อย่างนี้ คิดไว้ก่อนเลยว่า “สร้างภาพ” และคงสอบตกแน่นอน

มีเรื่องหนึ่งที่ จิตแพทย์ เป็นห่วงกันมาก คือเกี่ยวกับการชุมนุมของพันธมิตรฯ อยากฝากความห่วงใยบอกผู้ที่ไปชุมนุมว่า ต้องพักผ่อนด้วยนะครับ ระมัดระวัง รักษาสุขภาพให้ดี เพราะการอดหลับอดนอน และอยู่กับผู้คนจำนวนมาก จะทำให้เครียด และอาจแสดงความก้าวร้าวรุนแรงออกมาได้ (แต่ถือว่าโชคดีมากที่ แกนนำพันธมิตรฯ เข้าใจเรื่องนี้ จึงมีศิลปิน มาร้องเพลง แสดงการแสดงบนเวทีอยู่ ลดความเครียดมวลชนไปได้เยอะ)

ต้องระวังเรื่องท่าที่การแสดงออกกันด้วย เพราะล่าสุดมีดาราคนหนึ่ง ที่ให้สัมภาษณ์วิจารณ์คนที่มาชุมนุม ว่า ทำให้ในหลวงบรรทมไม่สนิท ดาราคนนี้ จิตแพทย์รู้กันดีว่า เป็นเรื่องของผู้ป่วยติดยาเสพติด

การรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวช ถ้าจะพูดโดยรวมๆ คือการที่เราจะสงสัยว่าใครป่วยทางใจนั้น เรามักนึกถึงเรื่องทางกายก่อนด้วย เช่นบางคนถูกอุบัติเหตุ สมองกระทบกระเทือน ก็เป็นสาเหตุให้ป่วยทางจิตได้, บางคนป่วยเพราะได้รับสาร หรือเสพยาเสพติดมากเกินขนาด ดังนั้น จิตแพทย์ส่วนหนึ่งก็รักษาผู้ป่วยติดยาด้วยเช่นกัน

ในรายดาราคนนี้ ติดกัญชา(Cannabis/Marijuana) และเสพมานมนาน กัญชาจัดเป็นสารเสพติด ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายสมองนั่นเอง เพราะฉะนั้น การทำงานที่ใช้สติปัญญา ความนึกคิด จะลดลง ผู้อ่านจึงมักคิดว่าทำไมดาราคนนี้ถึงกล้าดีมาวิจารณ์ ก็ เพราะสมองถูกทำลายไปแล้วมากนั่นเอง จึงฉลาดน้อย

ผู้เสพกัญชา จะทำให้ผู้ป่วยช่างพูด หัวเราะ ยิ้มแย้มตลอดเวลา ท่านผู้อ่านจะไม่แปลกใจเลยว่าทำไมดาราคนนี้ถึงให้สัมภาษณ์โดยไม่ไตร่ตรอง เพราะว่าอารมณ์ครึกครื้นจากฤทธิ์กัญชานั่นเอง บางอารมณ์ อาจเซื่องซึม ดูคล้ายคนเมาด้วย แม้จะไม่ได้ทานเหล้ามาก็ตาม จะเห็นได้ถึงอาการซึม รวมถึงร้องไห้ด้วยในเวลาต่อมา หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา (Visual hallucination) หูแว่ว (Auditory hallucination) ความคิดสับสน(Confusion) ควบคุมตนเองไม่ได้ คิดว่าคงพอตอบท่านผู้อ่านได้ว่า ทำไมดาราคนนี้ดูพูดจาสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้ ให้สัมภาษณ์อย่างไม่มีสติปัญญา เพราะอะไร

เรื่องยาเสพติด ยังมีอีกมาก และแม้ว่ารัฐบาลบางรัฐบาลจะคุยว่าตนเองปราบปรามยาเสพติดได้หมด แต่จริงๆแล้ว แวดวงดารา-นักการเมือง-ลูกนักการเมืองดัง-ไฮโซใจต่ำ ก็ยังเสพยากันอยู่มาก ถ้าเสพมากๆก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ ก็เป็นโชคดี เพราะแผ่นดินจะสูงขึ้น น้ำจะได้ไม่ท่วมโลก เนื่องจากโลกร้อนขึ้นทุกวัน

ไว้คราวหน้า ถ้าท่านบรรณาธิการกรุณาให้โอกาส จะมาเขียนต่อถึงเรื่อง โรคจิต โรคประสาท ต่างกันอย่างไร นะครับ นักการเมืองหลายท่านก็เป็นโรคประสาทชัดเจนครับ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมืองไทย, คำศัพท์, จิตเภท, จิตเวช, ทักษิณ, นักการเมือง, ประสาท, สมัคร, เพี้ยน, โรคจิต, ไม่เต็ม

นักการเมืองโรคจิต

June 10, 2008 by Gla 6 Comments

นักการเมืองโรคจิต

                อยู่โรงพยาบาล พบว่า ทุกวันนี้คนป่วยเพิ่มมากขึ้น…
                เจ็บไข้ได้ป่วยทางกายไม่พอ ยังป่วยใจกันอีกต่างหาก…

                ท่ามกลางสภาพปัญหา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ของประเทศไทยปัจจุบัน

ปัญหาปากท้องประชาชน รายได้ไม่เพิ่ม ในขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นมาก อาหารการกิน ข้าวแพงขึ้น น้ำมันแพง ค่ารถแพง เสื้อผ้า อุปกรณ์ใช้สอยต่างๆแพงขึ้น คนหาเช้ากินค่ำอยู่ลำบาก จน เครียด กินเหล้า

                สังคมที่เสื่อมถอย สถิติอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ฟังข่าวแต่ละวันแล้วเศร้าใจ ปล้น-ฆ่า-ข่มขืน-หมกศพ-หมกส้วม ทั้งนี้เป็นเพราะคนไม่มีทางออกกับปัญหาความเครียด อาชญากรหลายคนอ้างว่าไม่มีทางเลือก

ปัญหาสื่อมวลชน ขายข่าวไม่สร้างสรรค์ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ แทนที่จะเผยแพร่ความรู้ ให้ปัญญากับประชาชน สร้างสรรค์คุณธรรมจริยธรรมอันดี กลับกลายเป็นสื่อมุ่งแสวงหาผลกำไร แข่งขันกันหารายได้บนความเสื่อมของสังคม สื่อหลายสำนักทุกวันนี้ ขายความบันเทิงชั่วครู่ แต่ให้ความทุกข์และสร้างปัญหายืนยาวกับประชาชน จนไปสู่ปัญหาสังคมระดับชาติ ประชาชนอยู่ในสังคมที่มีแต่ความเสื่อม สภาพจิตใจย่ำแย่

                การเมือง เป็นการต่อสู้ของสองฝ่ายอย่างยืดเยื้อ เรื้อรัง ฝ่ายหนึ่งอ้างเสียงข้างมากของบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง อีกฝ่ายอ้างประชาชนผู้ปกปักษ์พิทักษ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จนพัฒนากลายมาเป็น “สงครามครั้งสุดท้าย” (วาทะแกนนำพันธมิตรฯ) เพื่อวัดกันไปเลยว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบใด ระหว่างระบอบปัจจุบัน กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลายเป็นระบอบสาธารณรัฐ

 การต่อสู้ทางการเมืองนี้ ฝ่ายหนึ่งบอกชัดว่าไม่สมานฉันท์กับโจรปล้นชาติ แม้จะมีคนบางส่วนในสังคมออกมาสร้าง ขบวนการริบบิ้นสีขาว ให้ทุกฝ่ายสมานฉันท์ แต่ก็ยัง “คุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะฝ่ายหนึ่งไม่รู้เรื่อง” (คำพูด ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน 8 มิถุนายน 2551) “ฝ่ายหนึ่งบอกว่าต้องเอาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและอย่าไปแทรกแซงแล้วถ้าอีกฝ่ายไม่ยอมตอบประเด็นนี้ มันก็พูดกันต่อไปลำบาก” เรื่องราวการต่อสู้ สงครามที่ยืดเยื้อนี้ ทำให้คนที่ไม่สนใจการเมืองและประชาชนอีกมาก เบื่อการเมืองเป็นที่สุด ประชาชนเศร้าซึม กังวล เครียด

ยังไม่นับนักการเมืองผู้ใหญ่อีกหลายท่านในบ้านเมือง ที่ทุกวันดีแต่ใช้ปากโจมตีสื่อ โจมตีคนที่ไม่เห็นด้วย ใช้คำ หยาบคาย แต่กลับรณรงค์ให้นักเรียนไทยสมัยนี้ใช้ภาษาให้ถูกต้อง แหม! มันจะเป็นไปได้อย่างไรล่ะครับ ไอ้กระผมก็ลำบากใจในเมื่ออ้ายพวกนักการเมืองทุเรศยังทำไม่ได้เลย มันถ่อยดีจริงๆ (ผู้เขียนไม่ได้เลียนแบบคำพูดใครนะครับ)

samakresized

 

จากการศึกษา วงการแพทย์พบว่า สถิติคนป่วยทางใจเพิ่มขึ้นทุกปี ป่วยเป็นโรคจิต ก็เพิ่มขึ้นมาก

                โพลล์ต่างๆสำรวจดรรชนีชี้วัดความสุขประชาชน ลดลงฮวบฮาบกันเป็นแถว

                เราจะหาทางออกกันอย่างไรดี? กับวิกฤตชาติบ้านเมืองในตอนนี้  ไว้จะเขียนในตอนถัดๆไป…

                ตอนนี้ ขอเล่าอะไรน่าสนใจให้ผู้อ่านฟังก่อน เพราะพอพูดถึงนักการเมืองทีไร เรามักจะคิดถึงภาพพฤติกรรมการโกงกิน ทุจริต การโกหก โป้ปด การใช้อำนาจมืด เส้นสายในทางที่ก่อความฉิบหายแก่ประเทศชาติ การมั่วเซ็กซ์ ผิดลูกผิดเมีย การผิดศีลธรรม จริยธรรมอันดีของสังคม และ อื่นๆ ฯลฯ สารพัด

                ผมจะพยายามอธิบายพฤติกรรมเล่านี้ โดยใช้ความรู้ทางการแพทย์ที่เรียนมา

พฤติกรรมที่พวกนักการเมืองเหล่านี้ทำ เป็นการแสดงออกทางแบบแผนหรือลักษณะจำเพาะของแต่ละบุคคล เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ ที่ดำเนินไปในชีวิตประจำวันปกติ เมื่อมีการแสดงออกที่ผิดปกติมากจนเกินไป จะเรียกว่าได้ว่ามี “ความผิดปกติของบุคลิกภาพ” พวกนี้จะเป็นโรค “พฤติกรรมเบี่ยงเบน” และต่างจากคนปกติมาก

                ตัวอย่างเช่น เรื่องอารมณ์แปรปรวน ในคนปกติสามารถอารมณ์แปรปรวนได้ เช่น ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

สำหรับผู้ที่อารมณ์แปรปรวนมากๆจนเกินพอดี เช่น คนบางคน ตอนแรก อารมณ์ดี หัวเราะ ยิ้มแย้ม ชิมไปบ่นไป อีกสิบนาที ซึมเศร้า นิ่งเงียบ อีกห้านาทีกลับมาหัวเราะชอบใจอีก อีกสักพัก พอผู้สื่อข่าวถาม ก็โกรธพาลโมโห ด่ากราดคนอื่นไปทั่ว อันนี้ คนทั่วไปเห็นก็รู้ว่าบ้า และพบได้ในนักการเมืองบางท่าน เรียกว่า เป็นความผิดปกติของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน นั่นเองครับ

ในภาษาทางการแพทย์ มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ วันนี้ขอยกตัวอย่างเพื่อให้ความรู้เฉพาะบางคำ

 Histrionic หรือ ฮิสทีเรีย คนทั่วไปน่าจะเคยได้ยินคำว่า ฮิสทีเรีย และพาลนึกไปถึงผู้หญิงที่ชอบอยู่กับผู้ชาย จริงๆแล้วไม่ใช่ ฮิสทีเรียหมายถึง ลักษณะการชอบเรียกร้องความสนใจอย่างมาก

เราจะเห็นนักเมืองหลายท่านมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจสูง โดยจะแสดงความคิด และความรู้สึกที่เกินความเป็นจริง แสดงสีหน้าท่าทางเกินจริง จะชัดเจนมากในช่วงเลือกตั้ง และในทุกวันนี้จะเห็นได้ในการแถลงข่าวต่างๆ พวกนี้จะทำทุกสิ่งให้มีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ คือการสร้างภาพ ว่าตัวเองทำสิ่งต่างๆยิ่งใหญ่ มีบุญคุณต่อประเทศชาติ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่เลยก็ตาม

ลักษณะพวกนี้ ยังมีเพิ่มเติมอีก คือเวลาพูดคุยมักจะจีบปากจีบคอ ทำตัวเหมือนแสดงละคร ใช้ภาษาสละสลวย จะเห็นได้ในนักการเมืองบางท่าน พูดภาษาอังกฤษอย่างสละสวยโจมตีศักดินา แล้วหาว่าคนอื่นแปลเป็นไทยผิด รวมถึงพวกนี้ มักจะทำตัวให้ดูดี หวีผมเรียบแปล้ อยู่ตลอดเวลา จนคนพาลคิดว่าเป็น “เจ๊”

Borderline นี่คือพวกอารมณ์แปรปรวน มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่มั่นคง มีความผันแปรบ่อย พวกนี้ถ้าใครดีด้วยจะเทิดทูนบูชาอย่างมาก แต่ถ้าใครไม่เห็นด้วย มักจะโกรธอย่างรุนแรง ไม่เห็นความดีของคนคนนั้นอีกเลย จะเห็นได้จากนักการเมืองที่ผลักผู้ไม่เห็นด้วยหรือผู้คัดค้านไปเป็นศัตรูเสียทั้งหมด ประชาชนคนไหนไม่เลือกพรรคเราก็จะไม่ดูแล ถือเป็นศัตรู

Dependent คือพวกยึดถือพึ่งพา จะไม่สามารถทำอะไรได้เองเท่าไร อยากเป็นผู้ตาม ต้องให้มีคนนำก่อน ไม่ค่อยกล้าทำอะไรเอง ต้องให้คนอื่นมาทำให้ จะเห็นได้จากนักการเมืองที่ย้ายพรรค ย้ายมุ้งบ่อยๆ เพราะขาดเจ้านายไม่ได้ เพราะจะรู้สึกขาดที่พึ่งพิง และรู้สึกขาดเงินด้วย

Narcissitic พวกนาซีนั่นเอง คิดถึงพวกจอมเผด็จการ หรือนายกฯบางสมัยก็ได้ พวกนี้จะ คิดว่าตัวเองเป็นบุคคลพิเศษ หลงตัวเอง คิดว่าตัวเองมีความสำคัญอย่างมาก พวกนี้ชอบได้รับคำชม คำสรรเสริญเยินยอ แต่จะทนไม่ได้เลยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ คำด่าทอ แม้ว่าจะเป็นคำวิจารณ์จากผู้หวังดีก็ตาม

คนพวกนี้มักเพ้อฝันถึงความสำเร็จ ชื่อเสียง หรือความสวยงามของตน วาดฝันโครงการเมกะโปรเจ็คล้านล้านบาทเลิศเลอ ที่อาจทำไม่ได้จริง

คนรอบข้างทั่วไปมักมองว่าพวกนี้ไม่เคยเห็นใจคนอื่น ไม่เคยพยายามเข้าใจความรู้สึกของคนรอบตัว หรือผู้ร่วมงาน ในบางครั้งพวกนี้จะเป็นพวกชอบหลอกใช้คนอื่นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

แต่อย่างไรก็ตาม ฟ้าได้ลงโทษพวกนี้ เนื่องจากว่า ลึกๆแล้วพวกนี้จะมีความมั่นใจแบบเปราะบาง ถ้าโดนโจมตีมากๆเข้าก็จะซึมเศร้าได้ง่าย เช่น โดนม็อบประท้วง พวกนี้จึงต้องอาศัยหมอดีและเก่ง คอยช่วยเหลือ รักษา ให้ยา บรรเทา ก็จะกลับมาบ้าพลัง บ้าอำนาจ ได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ลาภ ยศ อำนาจ เงินตรา ทรัพย์สินไม่ยืนยง พอสิ้น อำนาจ สิ้นทรัพย์สิน ก็จะรู้สึกเหี่ยว และตายไปเองอย่างอเนถอนาถ

Schizophrenia เป็นโรคจิตที่พบบ่อยที่สุด มักมีอาการในช่วงวัยรุ่น รายละเอียดไม่ขอลงลึก ให้ไปหาอ่านเอง แต่ที่ชัดเจน ควรรู้ไว้คร่าวๆ คือ คนที่เป็นโรคนี้ จะมีความรู้สึกหลงผิด ที่เกินกว่าความเป็นจริง เช่นนึกว่าตนเองยิ่งใหญ่ถึงขั้นครอบครองประเทศชาติได้

พวกนี้มักมีอาการประสาทหลอนด้วย โดยเฉพาะ หูแว่ว ได้ยินเสียงเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เดินไปตามถนน ได้ยินเสียงคนพูดกันเรื่องตัวเองกันมากมาย หรือ เสียงวิจารณ์ตัวเอง ด่าตะโกนให้ “เข้าคุก” “ออกไป”

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมืองไทย, คำศัพท์, จิตเภท, จิตเวช, ทักษิณ, นักการเมือง, ประสาท, สมัคร, เพี้ยน, โรคจิต, ไม่เต็ม

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.