TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard
เพื่ออรรถรสในการชมควรขยายหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น หรือกดคลิกสองครั้งในจอข้างล่าง
การเคลื่อนไหวของนักศึกษาตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี เพื่อการพัฒนาคุณภาพสถาบันที่พวกเขารัก…
จากที่ไม่เคยมีอะไร จนได้มีทั้งหลักสูตร อุปกรณ์ คณาจารย์ สถานที่ และผลการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากยอดผู้สอบผ่าน 10% เป็นอันดับสุดท้ายของประเทศไทย ขึ้นมาในระดับ 60-70% ได้
ทั้งหมดล้วนเพราะการสนับสนุนจาก ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล มารดาผู้รักและเมตตานักศึกษา ผลักดันการเรียน การจัดกิจกรรมวิชาการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สังคมในหลายภาคส่วน การจัดค่ายในชนบท การจัดงานกีฬาในวงการแพทย์ ตลอดจน การคอยแก้ปัญหาต่างๆทั้งเรื่องส่วนรวมขององค์กรและเรื่องเดือดร้อนของนักศึกษา การผลักดันสิทธิในการจับฉลากเพิ่มพูนทักษะและสมัครแพทย์พี่เลี้ยงร่วมกับแพทย์ของรัฐบาล (ซึ่งต่อมาหลังท่านเสียชีวิตเกิดปัญหาผู้ใหญ่ในภาครัฐตัดสิทธิ์คณะแห่งนี้ทั้งหมด แต่เกิดการผลักดันของนักศึกษาให้จับฉลากได้ในเวลาต่อมา)…
ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com – มิถุนายน 2554
ด้วยรำลึกถึง อ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และขอบคุณบุพการี ต้นแบบอย่างแพทย์ที่ดี
*เขียนอุทิศไว้เป็นวิทยาทานและความบันเทิงแก่แพทย์รุ่นหลัง ที่รุ่นพี่หรืออาจารย์ของน้องอาจไม่ได้บอกไว้ชัดเจน ความดีทั้งหมดยกให้วงการแพทย์ครับ
ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com
บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต และการเคลื่อนไหวภาคนักศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยแพทย์ขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่เป็นสมัยนักศึกษาแพทย์ จนถึงแพทย์ใช้ทุน
เป็น เรื่องจากปก วารสารปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา Demo-crazy.com ฉบับ พฤศจิกายน 2553
วิกฤตใหม่
http://www.youtube.com/watch?v=VPhvEDM9HM0
คลิปตอน2
http://www.youtube.com/watch?v=CpnD4FGPF2g
คลิปตอน3
http://www.youtube.com/watch?v=RR_n4JpkakQ
รายละเอียด
ปีหน้านี้(2554) แพทย์รังสิตอาจไม่ได้จับฉลาก ถ้าไม่ช่วยกันแบ่งปันคลิปวิดีโอนี้
ร่วมช่วยกันหยุดสองมาตรฐานในวงการแพทย์ ด้วยการส่งต่อคลิปนี้ถึงเพื่อนพี่น้องที่ท่านรัก
แล้วติดตามชมคลิปตอนต่อไปในเร็ววัน
อ่านประกอบ
http://www.bloggla.com/?p=415 คำถามถึงอนาคต เพื่อน น้องๆ รังสิต
http://www.bloggla.com/?p=71 อาจารย์บุญเชียร คือใคร
http://www.bloggla.com/?p=556 โรงพยาบาล สธ. ขาดทุนจริงไหม ไม่มีเงินจ้างตรง? แล้วเป็นเพราะอะไร
18 พฤษภาคม 2553
ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com
นั่งเบื่ออย่างยิ่งในบ้านประหยัด(Safe house) หลังจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ประกาศหยุดให้1สัปดาห์ หวั่นเกรงความปลอดภัยในการเดินทางไปปฏิบัติงานที่ รพ.ราชวิถี-รพ.เด็ก
ซึ่งคิดถูกแล้ว เพราะข่าวล่าสุด(18พค) ห้องผ่าตัดโรคหัวใจ ตึกสอาด ศิริพัฒน์ ถูกกระสุนไม่ทราบฝ่ายยิงเข้ามา[มติชนออนไลน์] เลยไม่รู้ว่ายิงเข้ามาเพราะอะไร หวังจะข่มขู่ชีวิตใครหรือแค่กระสุนลูกหลงเข้ามาเฉยๆ
การชุมนุมนักศึกษาแพทย์! (อีกแล้ว)
ไม่น่าเชื่อว่า ภายในเวลาประมาณ 2 ปี เกิดการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ถึง สองครั้ง สองครา
นักศึกษาแพทย์ที่ชาวบ้านชาวเมืองคิดว่าต้องเป็นผู้คงแก่เรียนใส่แว่นตาหนาเตอะ หมกมุ่นกับกองหนังสือ กลับมาเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เดินหน้าพร้อมใจชุมนุม ต่อต้านความอยุติธรรม และความเลวร้ายที่เกิดขึ้น!
นักศึกษาแพทย์ชุมนุมครั้งนี้เพราะอะไร มาติดตามกัน
นักศึกษาแพทย์รังสิต มาเรียนม.รังสิต ต่างภาคภูมิใจในคณะ และมหาวิทยาลัย ทุกคนรักท่านอธิการบดี อาทิตย์ อุไรรัตน์ และเชื่อมั่นในตัวผู้ใหญ่ใจดี อดีตนักการเมืองและวีรบุรุษผู้สร้างประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง นักประชาธิปไตย ผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ เพื่อความถูกต้องอยู่เสมอ รักษาธรรมาธิปไตยให้ดำรงไว้ในแผ่นดิน เรา
นักศึกษาแพทย์ต่างสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมระดับชาติ และองค์กรระดับชาติมามาก โดยไม่คิดสิ่งตอบแทน ผลการสอบใบประกอบโรคศิลป์ และด้านวิชาการก็พัฒนาขึ้นมาก ภายใต้การสนับสนุนของอดีตคณบดีผู้ล่วงลับในสมัยก่อน คือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล ผู้แสดงธรรมให้ประจักษ์ สั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม ให้นักศึกษาแพทย์ยึดมั่นในการเป็นแพทย์ที่ดี และเป็นคนที่ดี เสียสละเพื่อส่วนรวม
เล่าความถึงเมื่อสามสี่ปีก่อน ปัญหาที่ผ่านมา ขาดแคลนทรัพยากร ขาดแคลนหลักสูตรการศึกษาที่ดี ขาดแคลนสถานที่ อาคาร อุปกรณ์การศึกษา และที่สำคัญกว่าสิ่งใด ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร เรียนด้วยตนเอง จบด้วยตนเอง เป็นศิษย์เก่าคิดอยากกลับมาช่วย ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ศิษย์เก่าจึง เสียใจ หนีหายกันไปมากนักศึกษาแพทย์สมัยนั้นนั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกันดี เพื่อยกระดับคณะให้ดีขึ้น
ครั้งก่อนนั้น นักศึกษาแพทย์จึงร้องเรียนกันเป็นเวลายาวนาน ขอร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาวิทยาลัยแพทย์ให้เจริญยิ่งใหญ่ขึ้น ร้องเรียน ชุมนุม เจรจากันหลายครั้ง เข้าพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยอยู่หลายหน แต่ทุกคำสัญญา ทุกท่าทีกลับเป็นการปฏิเสธนักศึกษา เหตุการณ์จึงทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดชุมนุมใหญ่นักศึกษามากกว่าสามร้อยชีวิต ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ออกข่าวสารลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และเว็บไซต์ข่าวชั้นนำจำนวนมาก (ไม่นับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ล่มมาโดยตลอดจากการถูกนักศึกษาโจมตีประเด็นต่างๆ) ต่อมาเรื่องจึงเดินทางไปถึงยังแพทยสภา และสำนักงานการอุดมศึกษาฯ ช่วยกดดันผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งที่คอยถ่วงความเจริญของคณะแพทย์
การเจรจาตกลงกับผู้ใหญ่ใจดีจึงเกิดขึ้น ท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้มีบารมีและอำนาจสูงสุดในฐานะท่านอธิการบดี ได้มีเมตตา เรียกแกนนำนักศึกษาเข้าประชุมโต๊ะกลมโดยทันที! และแสดงความจริงใจในการสัญญาตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทุกประการ
ท่านคณบดีบุญเชียร ผู้ต่อสู้ให้นักศึกษาแพทย์เช่นกัน ตอนหลังป่วยเป็นมะเร็งปอด ลามไปตับและอวัยวะภายใน ท่านยังสู้เพื่อนักศึกษาจนหยดสุดท้าย เดินหอบมาทำงานทุกวัน ป่วยให้เคโมจนเป็นไข้ก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำ แม้สามีและลูกห้าม ก็ดึงดัน รั้นที่จะร่วมสู้เพื่อนักศึกษาแพทย์ด้วยโดยไม่กลัวอำนาจ อิทธิพลใดใดของผู้ที่จะคอยกลั่นแกล้ง และเสียประโยชน์ จากการที่อธิการบดีตกลงสนับสนุนนักศึกษาแพทย์เต็มที่ในครั้งนั้น
สัญญาต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมาย มีการเซ็นสัญญา และการให้วาจาสัตย์กับนักศึกษาแพทย์ ในการสร้างอาคารเพิ่มขึ้น พื้นที่หลายไร่ การให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเพิ่มขึ้น และมุ่งตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี ที่ตรงกับนักศึกษาแพทย์ทุกคนว่า เราจะพัฒนาคณะนี้ ให้เจริญเทียบเทียมคณะแพทย์ชั้นนำอื่น สนับสนุนอย่างเต็มที่โดยไม่คิดเพียงกำไร เพราะ ม.รังสิต “สร้างบัณฑิตรู้ลึก สร้างสำนึกเพื่อสังคม” เรื่องนี้มหาวิทยาลัยได้ลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับเช่นกัน เพื่อแก้ไขกรณีการร้องเรียนแพทยสภาของนักศึกษาแพทย์
นักศึกษาแพทย์ยินดีมาก ในครั้งนั้น และสรรเสริญท่านอธิการบดีและคณบดีบุญเชียร ประหนึ่งบิดาและมารดาของแพทย์รังสิตพลางคิดว่าเราจะเจริญได้แล้ว นักศึกษายิ่งมุ่งพัฒนาสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยมากขึ้นด้วยความรักในสถาบัน และการสนับสนุนของท่านอธิการบดี
แต่กาลกับตาลปัตร สัญญาที่ให้ไว้กลับมีปัญหามาโดยตลอด ทั้งการบิดพลิ้วของผู้บริหารท่านอื่นหลายท่าน อาคารที่สัญญาไว้ ถูกยึดคืนกลับไปหมดสิ้น หลักสูตรล่าช้า อุปกรณ์ ทรัพยากรต่างๆ ติดปัญหา ผู้บริหารไม่สนับสนุน ไม่อนุมัติ
หลัง คณบดีบุญเชียรเสียชีวิต ผู้บริหารบางท่านบอกกับนักศึกษาแพทย์ทำนองว่า “คนตายแล้ว ไม่มีใครสานต่อ ต้องล้มเลิกโครงการทั้งหมด”ชั้นอาคารของคณะแพทย์ เนื้อที่กว่า 3000 ตารางเมตร ที่ตกลงไว้ ทำสัญญาไว้ คณะแพทย์ปรับปรุงการก่อสร้างมาหลายครั้ง เพิ่งสร้างเสร็จ นักศึกษาแพทย์กำลังจะเข้าใช้ด้วยความยินดี กลับถูกยึด โดยอ้างเหตุผลเชิงธุรกิจไปเสียสิ้น!
จึงเกิดการลุกฮือของนักศึกษาแพทย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรอบสองปี ดังกล่าวแต่ต้น เกิดการเดินสาย เดินขบวน จนพัฒนาต่อเนื่องมายังเหตุการณ์ที่จะเป็นครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาแพทย์รังสิต 20 สิงหาคม 2552 (ต่อไปน่าจะเรียกว่า “สิงหาได้ชัย” เพราะชุมนุมใหญ่เดือนสิงหาคมตลอด)
การชุมนุมครั้งใหญ่ ครั้งนี้ ปิดล้อมใต้อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ ต่างจากครั้งที่แล้ว ที่เจรจากับอย่างสงบ สันติกับผู้บริหารหลายท่าน ที่พิสูจน์ให้นักศึกษาแพทย์รับทราบชัดในวันนี้ว่า เชื่อถือไม่ได้ ครั้งนี้เราไม่ได้แจ้งสื่อสารมวลชนใดใดเพราะเรารักในมหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดี และไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องเสื่อมเสียแก่มหาวิทยาลัย
การปิดล้อมเป็นเวลายาวนานกว่าห้าชั่วโมง หลังการเจรจาระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยตลอดนั้น จึงเริ่มได้ข้อสรุป นั่นคือ นักศึกษาแพทย์ จะได้รับการพัฒนา และอาคารของแพทย์ที่สร้างเสร็จ จะได้รับไปใช้เหมือนเดิมท่านอธิการบดีผู้เมตตา ได้ตกลงช่วยเหลือเรา ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติยืนเรียงแถวต่อหน้านักศึกษาแพทย์ ชี้แจงข้อมูลและให้สัญญาด้วยวาจาสัตย์ยิ่งกว่าครั้งก่อน ด้วยเกียรติภูมิของผู้ใหญ่ที่ทำงานให้สังคม เป็นพันธะทางใจระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง
คณบดี ศ.(คลินิก) นพ.สุรวิทย์ เตชธุวานันท์ คนปัจจุบัน แม้เป็นคณบดีท่านใหม่ แต่มากด้วยประสบการณ์ทำงานในอดีต เปี่ยมคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นรองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้แสดงถึงความจริงใจ และกำลังเป็นที่รักของนักศึกษาแพทย์รังสิต คนต่อไป ทั้งในฐานะแพทย์ตัวอย่างผู้ทรงคุณงามความดีแก่สังคม และการเป็นอาจารย์ที่เมตตาช่วยเหลือลูกศิษย์ สนับสนุนลูกศิษย์ในการตั้งใจเรียน สร้างผลงานทางวิชาการ และกิจกรรมเพื่อสังคมสืบไป
นี่คือ ธรรมาธิปไตย สังคมที่กำลังจะเป็นธรรมอีกครั้ง หลังประชาธิปไตยของนักศึกษา การเมืองภาคประชาชนของนักศึกษา ที่อุดหนุน ค้ำยัน สร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ให้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต
นี่คือ ธรรมาธิปไตย ของท่านอธิการบดี และสัญญาทางใจระหว่างผู้บริหารทุกท่าน กับนักศึกษาแพทย์ จึงเป็นจุดจบของการชุมนุมในครั้งนี้ เราคงต้องรอเฝ้าดูกันว่า ภายในอีกสิบปี ยี่สิบปี แพทย์รังสิตจะพัฒนาไปในทิศทางใด ลบคำครหาต่อว่าในอดีต มุ่งสู่การสร้างสรรค์สังคมด้วยการเป็นแพทย์เก่ง ดี มีคุณธรรม คอยช่วยค้ำจุนสังคมสืบไป
ท่านอธิการบดี ฝันเห็น แพทย์รังสิต เป็นดั่งแพทย์ฮาร์วาร์ดของอเมริกา เราเชื่อเช่นนั้น และทุ่มเต็มที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนอย่างเต็มที่ของท่านอธิการบดี และผู้บริหารทุกคน นักศึกษาใคร่ขอกราบขอบคุณและสรรเสริญท่านในฐานะวีรบุรุษประชาธิปไตย ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และดำรงตนประหนึ่งผู้บริหารอันทรงธรรมที่สุดแห่งยุคสมัย ชื่อของท่านและม.รังสิต จะถูกจดจำไปนาน บันทึกในแผ่นดินตราบชั่วนิรันดร์ ถึงการเป็นผู้สมบูรณ์ประเสริฐพร้อมด้วยกุศลจิต ผู้มิเคยได้เห็นผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจาก “ประโยชน์ของประชาชน”
วันที่ผมป่วย (อีกครั้ง) หูดับ
ชเนษฎ์ ศรีสุโข [chanesd@gmail.com] นักศึกษาแพทย์ ปี5 ม.รังสิต–โรงพยาบาลราชวิถี
ไม่นานมานี้ ผมป่วย นอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล สถานที่แห่งเดียวกันกับที่เรียนหนังสืออยู่
ป่วยครั้งนี้ เป็นเกี่ยวกับเรื่อง “หู”
ไม่ใช่ว่าเป็นคนหูเบา แต่อย่างไร
ครั้งนี้เป็นโรค “หูดับ”
โรงเรียนแพทย์เอกชน
มีประเด็นเป็นข่าววงการศึกษา เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา
นศ.แพทย์ม.รังสิตร้องแพทยสภา ตรวจสอบภาคพรีคลินิก– กรุงเทพธุรกิจ
ม.รังสิตพร้อมแจงแพทยสภายังมั่นใจ5ปีเป็นม.แพทย์ชั้นนำ– เดลินิวส์
ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์ –สยามรัฐ
ร้องแพทยสภาตรวจสอบภาคพรีคลินิกม.รังสิต– คมชัดลึก
บทความนี้ มิได้มีเจตนาจะกล่าวให้ร้าย หรือโจมตีผู้ใด หากแต่ถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่จะได้ชี้แจง และอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงอันดีงามอีกด้วย และชื่นชมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ถ้าพูดถึงโรงเรียนแพทย์แล้ว คนทั่วไปมักไม่ค่อยได้เข้ามาสัมผัสรู้ลึก คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักชื่อเพียงโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ โด่งดัง เช่น ศิริราชพยาบาล รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ วชิรพยาบาล ฯลฯ
ในความเป็นจริง ปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย รวมกัน มากถึง 16 สถาบันแล้ว และกำลังเพิ่มมากขึ้น
สำหรับแพทย์รังสิตนั้น ก่อตั้งสมัยคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้เมตตากรุณา ได้มีความพยายามผลักดัน จนทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้ในปีการศึกษา 2532
ตลอดระยะเวลาในยุคแรก มีการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความมีคุณภาพทัดเทียมแพทย์รัฐบาลจนแพทยสภาได้รับรองมาตรฐานหลักสูตรเมื่อปีพ.ศ. 2537 คุณพ่อประสิทธิ์มุ่งหวังสร้างสรรค์แพทย์เอกชน ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ โดยมิหวังผลกำไรเกินควร แพทย์รังสิตจึงค่อยๆเจริญงอกงาม ดุจต้นกล้า มีภาพลักษณ์ และชื่อเสียงอันดี
การบริหารงานของมหาวิทยาลัยรังสิต ต่อมาได้ตกอยู่ใต้การดูแลของดร.อาทิตย์ ท่านได้มีความพยายามในการระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดคณะต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งมีความพยายามเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาคณะต่างๆ และนักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มค่าเรียน เพิ่มค่าลงทะเบียน
การเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง ปริมาณ กับคุณภาพการศึกษา และได้มีการถ่ายโอน การบริหารแพทย์รังสิต 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ให้คณะวิทยาศาสตร์ดูแล ภาคปรีคลินิกจึงขึ้นตรงกับทางผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วน 3ชั้นปีหลัง (ภาคคลินิก)ยังขึ้นตรงต่อคณบดีแพทย์ซึ่งปัจจุบันคือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และคณาจารย์แพทย์ ผู้ซึ่งเป็นที่รัก คอยดูแลนักศึกษาแพทย์เป็นอย่างดีตลอดมา
แม้ว่าภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในขั้นเยี่ยมยอด
แต่สำหรับแพทย์เองนั้น มีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง เป็นปัญหาภายใน 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ซึ่งรับผิดชอบดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาแพทย์จำนวนมากรู้สึก ถึงความไม่ชอบธรรม ความขาดแคลน และขาดความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาแพทย์ จากผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รวมถึงจากผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ขั้นที่1 (สอบหลังจบปรีคลินิก) ที่แพทย์รังสิตได้น้อย และต่ำสุดมาหลายปี ในขณะที่ขั้นที่2, 3 (สอบหลังเรียนภาคคลินิก) สอบได้คะแนนสูงติดอันดับประเทศ เป็นข้อสรุปว่า คณะวิทยาศาสตร์ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทางด้านคุณภาพการเรียนการสอน ทั้งหลักสูตร และทรัพยากร อุปกรณ์ อาคาร บุคลากร ฯลฯ ที่ยังไม่เพียงพอและไม่ดีเท่าที่ควรตามเกณฑ์ขั้นต่ำแพทยสภา
รวมถึงในส่วนนักศึกษาแพทย์เองก็ยังมีหลายคนที่ไม่ตั้งใจ และไม่ขยันเรียนเท่าที่ควร
ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์และแกนนำ มีการร้องเรียนอยู่ภายในมาโดยตลอด เป็นการเมืองภาคนักศึกษาแพทย์ มีหนังสือร้องเรียนจำนวนหลายฉบับ ชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้ง จนถึง เมื่อวันที่ 3สิงหาคม 2550 มีการชุมนุมใหญ่กว่า300คน (ดังภาพ) การพบปะผู้บริหารหลายระดับ
การร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องหลักสูตร ทรัพยากร อุปกรณ์การสอน ฯลฯ กันมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อต้องการสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่พวกเขาควรจะได้รับ และเพื่อคุณภาพที่แท้จริง เหตุการณ์ดำเนินเรื่อยมาจนถึงกรณีนักศึกษาแพทย์ยื่นหนังสือร้องเรียนแพทยสภา แม้ว่าในท้ายสุด ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ขอระงับนักศึกษาแพทย์ให้ถอนหนังสือดังกล่าวก็ตาม
เรื่องราวทั้งหมดนี้ นับจารึกไว้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์แพทย์รังสิต แม้ว่าจะคล้ายกับมีการต่อสู้ ถกเถียง ทะเลาะกันบ้างระหว่างนักศึกษาแพทย์ กับทางผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับต่างๆ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ทั้งหมดก็เพื่อหาทางออกร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์สิ่งดี ผลิตแพทย์คุณภาพสร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต
คาดหวังว่า ท่านอธิการบดีผู้เมตตากรุณา และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ เริ่มได้ให้ความใส่ใจกับนักศึกษาแพทย์มากขึ้น และเริ่มสนับสนุน ส่งเสริม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อที่มีมาตรฐานภาคปรีคลินิกก้าวทัดเทียมแพทย์รัฐบาลในระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อชื่อเสียงของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่สมัยคุณพ่อประสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์ ด้วยความเมตตากรุณาแก่พวกเราเสมอมา รวมถึงเพื่อชื่อเสียงและคุณภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิตเองทั้งสิ้น
จะเป็นไปดั่งความมั่นใจของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ยืนยันกับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ดังพาดหัวข่าวว่า
“ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์”
|