• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

ศรีสุโข

นามสกุลหนึ่งในประเทศไทย

ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ

November 15, 2021 by Gla Leave a Comment

หนังสืออนุสรณ์งาน คุณแม่อัมพร ตันเจริญ กรุณาคลิกที่ภาพเพื่อเข้าสู่ไฟล์หนังสือ

Posted in: ข่าว, ส่วนตัว Tagged: คุณย่า, คุณย่าอัมพร, ตันเจริญ, ย่าหมอกล้า, ย่าอัมพร, ลูกหลานยายปานกงเด้ง, ศรีสุโข, สุโขทัย, หมอชเนษฎ์, อัมพร ตันเจริญ

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข

November 13, 2020 by Gla Leave a Comment

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข EP. 4 โรคอ้วน

เวลาที่มีคนบอกว่าคุณอ้วน จริงๆแล้วคุณอ้วน จริงหรือเปล่า เราจะมีวิธีเช็คและดูแลตัวเองยังไง มาชมคลิปนี้กันนะครับ 

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการหมอกล้าเล่า ผมหมอกล้านะครับ หรือชเนษฎ์ ศรีสุโข  

ทำไมใครๆ ก็พูดว่าตัวเองอ้วน แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าอ้วน ในทางการแพทย์ เรามีวิธีการเช็คโดยใช้ค่า BMI หรือ Body mass index นั่นคือ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม แล้วหารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ถ้าค่า BMI เกิน 25ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน  

เรามาลองคำนวณกันได้เลยนะครับตามสูตรนี้ได้เลยนะครับ 

หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข

คนที่เป็นโรคอ้วน ควรที่จะลดน้ำหนัก เพราะลดวันนี้ สุขภาพดีวันนี้เลยครับ 

ที่มาของโรคอ้วน 

สำหรับโรคอ้วน จริงๆแล้วถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความซับซ้อนมากและเกี่ยวข้องกับเรื่องของไขมันในร่างกายที่เยอะขึ้นโดยตรง มี 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

1. พันธุกรรม  

2. โรคแอบแฝงที่อาจมีส่วนก่อให้เกิด โรคอ้วน เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน โรคทาง Metabolism หรือการทำงานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป  

3. อาหาร หากเรารับประทานไม่เหมาะสม โดยนำพลังงานเข้าร่างกาย มากเกินความจำเป็น ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือ ถูกเก็บสะสมเป็นไขมัน 

4. การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยเราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับปริมาณพลังงานที่เรารับประทานเข้าไป 

5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน การนอน ความเครียด ความยากจน หรือ อื่นๆ 

“ความอ้วน” ไม่ใช่แค่เรื่อง “ความสวยงาม” แต่เป็นปัญหาเชิงการแพทย์ เพราะส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย เกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้แก่  

– อาการกรน ส่งผลทำให้ Oxygen ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ 

– เข่าทรุด เข่าเสื่อม จากการที่ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาทางสมรรถภาพทางเพศ ทำให้มีบุตรยาก กรดไหลย้อน โรคหัวใจ โรคทาง Metabolism เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และยังมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย 

เมื่อไหร่ที่คุณควรต้องไปพบแพทย์ ?

เมื่อคุณรู้สึกว่า ความอ้วนทำให้เริ่มมีปัญหากระทบต่อสุขภาพของร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย ภูมิแพ้กำเริบ เข่าเสื่อมเข่าทรุด หลังพัง มีปัญหาหัวใจ  

คุณควรจะต้องรีบไปพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยผมแนะนำให้ไปพบคุณหมอ ที่สามารถรักษาด้วยการให้ยาลดน้ำหนักที่ควบคุมอย่างถูกกฎหมาย และที่สำคัญ เราต้องติดตามเรื่องของน้ำหนักและอาการอื่นๆร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ใช่กินแล้วน้ำหนักจะลดได้เลยในทันที อย่างไรก็ต้องใช้เวลา  

โดยส่วนตัวของผมเอง ผมรักษาด้วยการให้กินยา และติดตามคนไข้ทุกเดือน “อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง” รวมทั้งให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เพื่อเสริมให้การลดความอ้วนได้ผลดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ 

– การออกกำลังกาย วันละ 30-45 นาที นับเวลาตั้งแต่เหงื่อออกเป็นต้นไป การออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ไทเก๊ก มวยไทย หรืออื่นๆ  

– การควบคุมอาหาร เน้นอาหาร ต้ม นึ่ง ปลา ผักผลไม้ หรือวิตามินเสริม เพราะบางทีการที่เราจำกัดอาหารมากเกินไป จะทำให้วิตามินบางอย่างที่ละลายในไขมันไม่สามารถดูดซึมได้ดี 

– การปรับพฤติกรรมการนอน ให้หัวค่ำขึ้น เพราะการนอนดึก สมองจะรวน และทำให้อ้วนขึ้นได้ 

สำหรับวันนี้รายการหมอกล้าเล่า ก็ขอขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ สวัสดีครับ 

อ่านบทความย้อนหลัง “หมอกล้าเล่า”

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

หมอกล้าเล่า ตอนแรก The Origin

หมอกล้าเล่า ตอน 2 เรื่องสิว

10 คำแนะนำสิว

4 สาเหตุการเกิดสิว และการรักษา

Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: BMI, Body Mass Index, Obesity, ชเนษฎ์, รักษาโรคอ้วน, รายการ, รายการหมอกล้าเล่า, ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า, โรคอ้วน

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

October 30, 2020 by Gla Leave a Comment

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

EP. 1 หมอกล้าเล่า The Origin  

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่รายการ “หมอกล้าเล่า” ผมหมอกล้า หรือ ชเนษฎ์ ศรีสุโข 

วันนี้ผมพามาทัศนาจรที่ “บึงสีไฟ” จังหวัดพิจิตร ซึ่ง (เคย) เป็นบึงที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ที่นี่เป็นบึงน้ำจืด เลยทำให้มีจระเข้เยอะมาก และต่อมาก็มีบ่อจระเข้นี้เกิดขึ้นครับ (จากที่มาของเมืองชาละวันนั่นเอง)  

“บ่อจระเข้” อาจเรียกได้ว่าเป็น “Unseen ของจังหวัดพิจิตร” เลยก็ว่าได้ โดยส่วนตัวผมเองเกิดที่จังหวัดพิจิตรนะครับ และผมคิดว่าบางคนอาจไม่รู้ว่ามีที่แห่งนี้อยู่ เพราะที่นี่มักเป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ น่าจะเหมาะสำหรับใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และราคาก็ไม่แพงครับ 

หน้าบ่อจระเข้ มีไก่ที่ตายแล้วขายให้สำหรับคนที่อยากลองให้อาหารจระเข้ ราคาจานละ 20 บาท และมีผักบุ้งเป็นกำๆ สำหรับให้อาหารเต่า ราคากำละ 10 บาท  

คราวนี้ผมจะพาเดินด้านในของบ่อจระเข้ โดยรอบทางเดินทั้งหมดจะเห็นว่ากรงมีความสูงปิดจนถึงหลังคาด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใหญ่หรือเด็กตกลงไปในบ่อ เพราะว่าเมื่อก่อนมีกรงแค่ครึ่งเดียว แล้วมีคนเคยตกลงไปในบ่อ เรื่องนี้น่ากลัวมากครับ เพราะคนที่ตกลงไปนั้น เหลือแต่คอ… 

ผมเคยมานั่งนับจำนวนจระเข้ที่นี่ พบว่ามีจระเข้ ประมาณ 100 กว่าตัว และบริเวณด้านใน มีป้าย “ห้ามทิ้งขยะ” เนื่องจากในอดีตมีจระเข้บางตัวรูปร่างผอมแห้ง แล้วป่วยตายไป เพราะมากินถุงพลาสหรือขวดพลาสติก ซึ่งเกิดจากการคนที่มาเที่ยวโยนขยะลงไปในบ่อ ผมขอรณรงค์อย่าให้ขยะกับสัตว์นะครับ เพราะจะเป็นการทำร้ายพวกเขา 

โดยพื้นฐานนิสัยของจระเข้แล้ว เมื่ออากาศร้อนจระเข้จะชอบอยู่ในน้ำ แต่บางตัวก็ชอบอยู่บนบกซึ่งแล้วแต่สภาพอากาศครับ ตัวที่อยู่ในน้ำเค้าจะชอบทำตัวนิ่งๆเหมือนขอนไม้ แต่จริงๆแล้ว เขาพร้อมจะงับเหยื่อตลอดเวลา 

บริเวณตรงกลางทางเดินของบ่อ เราจะเห็น จระเข้ตัวใหญ่ตัวนี้ถูก staff ไว้ ตัวนี้มีชีวิตอยู่มานาน ผมเห็นมาตั้งแต่สมัยผมยังเป็นเด็ก และตอนนี้เค้าถูกเอามา staffไว้โชว์ให้คนที่มาเที่ยวได้ดู ซึ่งด้านล่างจะมีชื่อของจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์และรายละเอียดต่างๆ โดยจระเข้ที่บึงนี้เป็นจระเข้น้ำจืดครับ 

วันนี้ผมจะโชว์วิธีการให้อาหารจระเข้ โดยเราต้องโยนอาหารผ่านช่องเหล็กที่ทางบ่อจัดไว้ให้ พอเราโยนลงไปแล้ว จระเข้ก็จะมากินทันที เพราะมันพร้อมกินและพุ่งเข้ามาด้วยความรวดเร็ว 

จริงๆแล้ว ในสมัยก่อนเราสามารถให้อาหารจระเข้บริเวณบ่ออนุบาลอีกฝั่งนึงได้ แต่เค้ากลัวคนตกลงไป คือ ปกติแล้วมุมที่บ่ออนุบาลนี้ถ้าเราโยนอาหารลงไป เราจะเห็นจระเข้ที่อยู่บนบกรีบคลานมากินทันทีเลยครับ 

เอาหล่ะครับ ผมพาเดินออกมาชมวิวบึงด้านนอก ในสมัยก่อนตัวเมืองพิจิตรมีลักษณะเป็นบึงกับหนองน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทางด้านขวามีสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่าครับ มองตรงไปจะเห็นอาคารแปดเหลี่ยม ซึ่งด้านในมีพิพิธภัณฑ์น้ำจืด เป็นสถานแสดงพันธ์ปลาเฉลิมพระเกียรติและมีบ่อให้อาหารปลา พร้อมมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์มีจระเข้ตัวใหญ่ ชื่อเจ้าศรี มีอายุ 30 ปี ส่วนการเข้าภายในพิพิธภัณฑ์นั้นหากใครอยากเห็นว่าเป็นยังไง ต้องมาดูเองนะครับ 

สุดท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนให้ทุกคนมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ณ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์การให้อาหารจระเข้ ราคาไม่แพง รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์และได้ท่องเที่ยวไปในตัวครับ 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข 

(หมอกล้า) 

FB: www.facebook.com/chanesd

ประวัติผู้เขียน https://www.bloggla.com/?page_id=27

หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า
Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: Chanesd, Chanesd Srisukho, Crocodilefeed, Phichitprovince, Srisukho, Thailand, ชเนษฎ์, บ่อจระเข้, บึงสีไฟ, พิจิตร, ศรีสุโข, ศาลาแปดเหลี่ยม, หมอกล้า, หมอกล้าเล่า, เด็กพิจิตร, เด็กเข้, เด็กเข้ห์, ให้อาหารจระเข้

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

March 5, 2019 by Gla Leave a Comment

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard

https://thestandard.co/author/chanesd_srisukho/

TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า

รู้จักหมอกล้า

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: TheStandard, คนยุคใหม่, ชเนษฎ์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, วารสาร, ศรีสุโข, หมอกล้า, หมอกล้าเล่า, เดอะสแตนดาร์ด

E L P CO : ข้อควรคิด สำหรับหมอใหม่

May 31, 2015 by Gla Leave a Comment

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO เป็นหลักการที่ อาจารย์พัฒนัตถ์ ศรีสุโข อดีตหัวหน้าศัลยแพทย์โรงพยาบาลพิจิตร

มอบให้แก่หมอใหม่ ทุกรุ่น เพื่อช่วยให้ การมีชีวิตในงานและเรื่องส่วนตัวในอนาคตราบรื่นขึ้น

หลักการนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับอาชีพต่างๆได้ เป็นการเรียนรู้จากบทเรียนความสำเร็จ อุปสรรค และ เรื่องราวชีวิตกว่า 30-40 ปี ของท่าน

ท่านจะกล่าวเสมอว่า แพทย์จบใหม่ หรือผู้น้อย ควรเรียนรู้ที่จะรับฟังประสบการณ์ของผู้อาวุโส เพราะเป็นการประหยัดเวลาชีวิตของตนเองหลายสิบปี

และ จะได้เรียนรู้สิ่งดี รวมทั้ง ระมัดระวัง ไม่ไปผิดพลาดเหมือนประสบการณ์อาจารย์อาวุโส ที่ได้รับฟังมา

ข้อควรคิด หมอใหม่ E L P CO

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: ELPCO, ข้อความคิด, พัฒนัตถ์, ศรีสุโข, หมอใหม่, แพทย์

นิทานรำลึกการต่อสู้ของพ่อ (ภาคแรก)

November 17, 2013 by Gla Leave a Comment

การต่อสู้ของ นพ.พัฒนัตถ์ ศรีสุโข บิดาของชเนษฎ์ ศรีสุโข

การต่อสู้ของ นพ.พัฒนัตถ์ ศรีสุโข บิดาของชเนษฎ์ ศรีสุโข

 

ตีพิมพ์ในวารสาร Demo-Crazy ฉบับ ตุลาคม 2556 issuu.com/demo-crazy/docs/volume28

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

อุทิศเนื่องในโอกาสเดือนตุลาคม เดือนที่ปัญญาชนชาวไทย รำลึกถึงความเสียสละเพื่อประเทศชาติ ครั้นสมัยนักศึกษาเดือนตุลา มาจนถึง “7 ตุลา ต้องไม่สูญเปล่า” ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อนึ่ง เป็นเดือนที่ทำให้เรารำลึกถึงเสด็จพ่อฯ ร.5 ผู้ทรงสร้างความเจริญนานัปการ และยังเป็นเดือนเกิดของคุณพ่อแท้ๆของผมเองด้วย เป็นการดีที่จะแต่งนิทานเล่ากล่าวขอบคุณคุณพ่อถึงความเสียสละที่มีตลอดมา ส่วนนิทานสำหรับคุณแม่ รอไปก่อนละกันนะครับ
………..(เรื่องนี้เป็นนิทาน เป็นเรื่องแต่ง ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลจริงใดใด)………..

อาจารย์หมอหลายคน เป็นตัวอย่างการดำรงชีวิตที่ดีให้กับผม โดยเฉพาะคุณพ่อและคุณแม่ของผมเอง…

คุณพ่อ เป็นแรงบันดาลใจและเบื้องหลังความสำเร็จของทุกคนในครอบครัว

พ่อโตมาจากชนชั้นรากหญ้า จากปูมหลังที่ติดลบ ครอบครัวแตกแยก ลูกกำพร้าที่ไม่มีใครดูแล วัยเด็กความเป็นอยู่แร้นแค้น เคยกลิ้งตกจากบ้านไม้ของย่าในสลัมสมัยก่อน จนมีคนสงสารขอเอาไปเลี้ยง พ่อโตในบ้านของเตี่ยบุญธรรมโดยทำตนเป็นคนรับใช้ ดูแลทำความสะอาดบ้าน กระนั้น พ่ออุตสาหะ คอยเตือนตนเองให้หมั่นเพียรเสมอ พ่อบอกเสมอว่าความขี้เกียจคือศัตรูตัวฉกาจ พ่อสามารถบากบั่นจนสอบเข้าเรียนเตรียมอุดมฯได้ สอบเข้าแพทย์ศิริราชฯได้ เรียนจบไปทำงานใช้ทุน และเรียนต่อเป็นศัลยแพทย์(หมอผ่าตัด)

แม้ว่าพ่อจะมีต้นทุนชีวิตน้อยและทางเลือกที่ไม่มากนัก กระนั้นพ่อยังมุ่งมั่นกระทำตามอุดมการณ์ของหมอสมัยก่อน ที่มักแข่งกันอุทิศตนไปอยู่ในพื้นที่กันดาร ใครกันดารกว่า เท่ห์กว่า

พ่อเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ

พ่อเคยรับราชการจนเกษียณ และเคยเป็นหมอผ่าตัดคนเดียวในโรงพยาบาลจังหวัด พ่อสามารถอยู่เวรดึก ผ่าตัดทั้งคืน ติดต่อกันทุกคืนเป็นเดือนๆ และตอนเช้าก็ปฏิบัติงานตรวจผู้ป่วยต่อได้ ดุจเครื่องจักร พ่อเป็นหมอผ่าตัดรุ่นเก่า ที่ไม่เกี่ยงงานหนัก ไม่เคยปฏิเสธและทอดทิ้งคนไข้ พ่อบอกว่านี่คือจิตวิญญาณหมอศัลย์

พี่พยาบาลเล่าแซวอยู่บ่อยว่า ด้วยความที่พ่องานหนัก บางครั้งตอนเช้าหลังลงเวร พ่อเดินไปราวน์(ตรวจ)คนไข้ที่นอนในแผนกต่างๆทั่วทั้งโรงพยาบาล ได้สั่งให้การรักษาเป็นอย่างดี และ กลับบ้านไปแอบงีบ พอพ่อตื่นมาตกใจรีบวิ่งไปที่ตึก ไปราวน์อีก พยาบาลเลยบอกว่าหมอมาไปแล้วค่า (คงเพราะว่าเหนื่อยจัด พ่อเลยลืม)

ในสมัยเด็กๆ กลางดึก โทรศัพท์ที่บ้านมักดังบ่อย มีพยาบาลโทรตามพ่อไปดูแลคนไข้นั่นเอง และพ่อไม่เคยดึงสายโทรศัพท์ แกล้งทำโทรศัพท์เสียแต่อย่างไร มักไปดูคนไข้ทันที

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: คอรัปชั่น, ชเนษฎ์, ต่อสู้, พัฒนัตถ์, ระบบรัฐบาล, ศรีสุโข, ศัลยแพทย์, สถานพยาบาล, หมอผ่าตัด, โกงกิน, โรงพยาบาล

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖

December 29, 2012 by Gla Leave a Comment

ส.ค.ส. ปีใหม่ 2556 ทุกคนนะครับ

…ด้วยรัก กล้า

poem p 4

Posted in: ส่วนตัว Tagged: 2556, ๒๕๕๖, ชเนษฎ์, ปีใหม่, ศรีสุโข, สคส

เรียนเชิญร่วมงานบวช

February 24, 2011 by Gla Leave a Comment

เรียนเชิญกัลยาณมิตร และผู้สนใจ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, ส่วนตัว Tagged: 2554, การ์ด, ชัยภูมิ, ชเนษฎ์, บวช, วัดป่า, ศรีสุโข, สุคะโต

พ่อฉัน

December 5, 2009 by Gla 1 Comment

ชีวประวัติโดยคร่าว นพ.พัฒนัตถ์ ศรีสุโข

(อัพเดท มีนาคม 2558)

The great surgeon of Thailand

นพ.พัฒนัตถ์ ศรีสุโข ตำนานศัลยแพทย์ รพ.พิจิตร

นพ.พัฒนัตถ์ ศรีสุโข (ตั้น) : Dr.Pattanath Srisukho (Pat), MD
: อาจารย์ ศัลยแพทย์ ผู้บุกเบิก แผนกศัลยกรรม และแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลพิจิตร (รับราชการ ปี 2526 -2551) เกือบสามทศวรรษ ที่ได้ช่วยเหลือประชาชนจนถึงปัจจุบัน มีการดูแลรักษาผู้ป่วยมากกว่า 3 แสนรายตลอดการทำงาน

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: กลอน, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: กระบี่อยู่ที่ใจ, ชีวประวัติ, ตั้น, นักพัฒนา, ประวัติ, พัฒนัตถ์, มือหนึ่ง, รุ่น 87, ศรีสุโข, ศัลยแพทย์, ศิริราช, สุดยอด, สุดยอดศัลยแพทย์, อาจารย์

ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?

October 3, 2009 by Gla Leave a Comment

ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?

ชเนษฎ์ ศรีสุโข

จากการที่เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 52 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดการ อภิปราย “3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย” ที่ห้องประชุม อาคารศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ได้ปาฐกถาในหัวข้อ“แสวงหาสาระของประชาธิปไตยสำหรับเมืองไทย”

Link ปาฐกถา ส.ศิวลักษณ์

ข้าพเจ้า นายชเนษฎ์ ศรีสุโข ใคร่ขอแสดงความคิดเห็น ในวงสนทนาระดับหนึ่ง เพื่อถกประเด็นเชิงสร้างสรรเกี่ยวกับเรื่องสาระของประชาธิปไตยให้กระจ่างชัด ดังนี้

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: สถานการณ์บ้านเมือง, ส่วนตัว Tagged: 2549, discussion, กล้า, การเมือง, ชเนษฎ์, ถกเถียง, บทความ, รถถัง, รัฐประหาร, วิจารณ์, ศรีสุโข, ส.ศิวลักษณ์

สุขสันต์วันเกิด

August 27, 2009 by Gla 2 Comments

สุขสันต์วันเกิด

โดย ชเนษฎ์ ศรีสุโข ตีพิมพ์ใน วารสาร www.demo-crazy.com ฉบับสิงหาคม 2552[chanesd@gmail.com นักศึกษาแพทย์ปี 5 ม.รังสิต-รพ.ราชวิถี]

ทุกวันนี้ การเดินไปเดินมาแถวอนุสาวรีย์ชัยฯ ทำให้ผมได้เห็นชัดมากขึ้น ถึงสิ่งหนึ่ง…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ส่วนตัว Tagged: นักศึกษาแพทย์, นิรทร, ศรีสุโข, สุขสันต์วันเกิด, อัจฉริยะ, เกน

บันทึกงานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์ ครั้งที่5

August 23, 2007 by Gla 10 Comments

งานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์ครั้งนี้ จัดขึ้นที่ โรงพยาบาลราชวิถี อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ชั้น11-12 (อาคารจอดรถ) เช่นเดียวกับปีที่แล้ว เนื่องด้วยด้วยความพร้อมของสถานที่ และความสะดวกสำหรับผู้เยี่ยมชม

จัดโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท) โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมกว่า 1,700 คน

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมและทำงานด้านการเตรียมการฝ่ายสถานที่

รวมถึงได้รับฟังคำบรรยายจากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ และบังเกิดความประทับใจมากกับการตอบคำถามรวมถึงการบรรยายของวิทยากร

ที่ประทับใจที่สุด คือ ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน

ทำให้ข้าพเจ้าย้อนตอบคำถามตัวเองหลายๆอย่าง ถึงเป้าหมายชีวิตของตนเอง และการมาเรียนหมอ

แม้จะได้ไม่ได้ชอบและอยากเรียนที่สุด แต่ข้าพเจ้ามีความมั่นใจว่าสามารถเรียนแพทย์และสามารถจบแพทย์ได้

รวมถึงหลังจบแพทย์ ทั้งการเรียนแพทย์ และการทำงานเป็นแพทย์ จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยยาก ลำบาก เผาผลาญพลังงานชีวิต มากมายเช่นไร

เป็นสิ่งที่ต้องสัมผัสด้วยตนเองจึงจะทราบความเป็นจริง

ตอนนี้ เรียนรู้จากคนใกล้ตัว และบุคคลในวิชาชีพแพทย์มากมาย เป็นการเตรียมตัว เตรียมใจ เพื่อจะพบกับชีวิตของความเป็นหมอ

งานนี้เป็นการตอบคำถามแก่น้องๆที่ยังไม่ทราบความเป็นจริง และน้องๆที่สนใจจะเรียนวิชาชีพแพทย์ รวมถึงน้องๆที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียนแพทย์

ต้องมารับทราบความเป็นจริง และเตรียมตัว เตรียมใจ รู้รายละเอียดเบื้องลึกของการเรียนแพทย์ รวมถึงการเรียนแพทย์ในแต่ละสถาบัน

ที่คัดลอกมาไว้นี้ เป็นเนื้อหาส่วนสำคัญ บางส่วน จากงานวันนั้น รวมถึงบทความจากหนังสือในงาน


ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า การเรียนแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่นักเรียนหลายคนคิด นักเรียนที่ตัดสินใจเข้ามาเรียนจะต้องพบกับความเหนื่อยยาก ตลอดทั้งชีวิตอาจจะต้องทิ้งการแสวงหาความสุขอย่างที่คนอื่นมี สิ่งที่จะต้องมี ความอดทน ขยัน เสียสละ และรับผิดชอบ การเรียนแพทย์ใช้เวลา 6 ปี หลังจากเรียนจบต้องทำงานใช้ทุนคืนให้ประเทศอีก 3 ปี หลังจากนั้นถึงจะมีโอกาสไปศึกษาต่อแพทย์สาขาเฉพาะทางอีก 3-5 ปี

พร้อมกันนี้ นักเรียนแพทย์จะต้องรักษาสุขภาพ ระมัดระวังอย่าให้ป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างศึกษา ซึ่งจะทำให้เรียนไม่ต่อเนื่อง ขณะที่เรียนหนักจนแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัว ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวนักเรียนต้องมีความเต็มใจ ต้องอยากเรียนเอง ไม่ใช่เพราะผู้ปกครองอยากให้เรียน หรือเรียนตามเพื่อน หรือเรียนเพราะอยากมีเกียรติ อยากมีรายได้ดี ซึ่งจะทำให้เมื่อเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่จบ

“มีนักเรียนบางคนเพราะตามใจพ่อแม่ เรียนตามเพื่อน ซึ่งไม่ได้อยากเรียนแพทย์จริงๆ หรือไม่ได้เต็มใจอยากเรียนแพทย์ เข้ามาจะมีปัญหามากในการเรียน บางคนสอบตกต้องเรียน 9-12 ปี เมื่อจบไปก็ไม่ได้เป็นแพทย์ บางคนเปลี่ยนเส้นทางไปเลย แต่บางคนก็ไปทำงานเป็นฝ่ายบริหารของโรงพยาบาล หรือห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งก็ถือว่าไม่ห่างจากวิชาชีพนัก จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ การสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หากไม่ตั้งใจเรียนจะสอบไม่ได้ ก็จะไม่ได้เป็นแพทย์เช่นกัน” ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร กล่าวถึงคนที่อยากเรียนแพทย์จริง ๆ แต่ไม่มีเงิน ขอให้แสดงความตั้งใจมุ่งมั่นให้ชัดเจน เพราะทุนที่ให้แก่ผู้เรียนแพทย์มีอยู่มากและเพียงพอ แต่เมื่อเรียนจบอาจต้องทำงานใช้คืนทุนนานกว่าคนอื่น

ในขณะนี้ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน แต่ที่เหมาะสม น่าจะไปถึง 1 ต่อ 800 คน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกนานกว่า 10 ปี แต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์เรียนจบประมาณ 1,250 คน การศึกษาแพทย์วิชาชีพเฉพาะทางในไทยรับได้ประมาณปีละ 300 คน ปัญหาในการเรียนการสอนแพทย์ขณะนี้อยู่ที่ปี 1-3 หรือชั้นพรีคลินิก อาจารย์จะสอนวิทยาศาสตร์แท้ ๆ โดยไม่ได้ระบุชัดเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับแพทย์ ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิรูปหลักสูตร

 

 

 

 


 

“ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นแพทย์?”

พญ.ชัญวลี ศรีสุโข

นักเขียนและสูติ-นรีแพทย์ 9 โรงพยาบาลพิจิตร

น้องๆที่รัก…

ในปีพ.ศ. 2545 สำนักพิมพ์สนุกอ่าน ได้รวมบทความเกี่ยวกับชีวิตนักศึกษาแพทย์ที่พี่เขียนลงเป็นตอนๆในนิตยสารใกล้หมอเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คเรื่อง“บันเทิงบันทึกนักศึกษาแพทย์” ตามมาด้วยพ็อคเก็ตบุ๊คเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตแพทย์ฝึกหัด “สวัสดีคุณหมอใหม่”ในปี พ.ศ. 2548 พี่จึงรู้ว่าน้องๆที่อยากเป็นแพทย์นั้น มีจำนวนมากมายทีเดียว น้องๆหลายคนติดต่อมา มีทั้งเขียนจดหมาย, อีเมล, และโทรศัพท์ แต่ละคนบอกว่า…อยากเรียนแพทย์มาก ทำอย่างไรจึงจะได้เรียนแพทย์? มีไม่น้อยที่ถามถึงเคล็ดลับที่ทำให้พี่สอบติดแพทย์ที่เขียนในหนังสือว่า เอาเท้าจุ่มน้ำเย็นจะได้อ่านหนังสือได้ทั้งคืนนั้น…เป็นเรื่องจริงไหม? น้องบางคนบอกว่าลองทำดูแล้วพบว่าไม่หลับทั้งคืนก็จริง แต่ไปหลับในห้องเรียนแทน ทำเอาเรียนไม่รู้เรื่องไปทั้งวัน

อันที่จริงคนเรานั้นมีเงื่อนไขต่างกัน ที่พี่เล่านั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่พี่พยายามกระทำเพื่อจะได้เป็นแพทย์ ชีวิตคนเรานั้น คนที่มีเงื่อนไขครบสมบูรณ์ ประเภทอยากเป็นอะไรก็เป็นได้มีน้อย ส่วนใหญ่อยากจะเป็นอะไร โดยเฉพาะเป็นให้เก่งให้ดี ต้องใช้ความพยายามสูงสุดทั้งนั้น ตอนเด็กๆชีวิตพี่ลำบาก เป็นเด็กกำพร้าขาดแคลน เผอิญไปรู้จักนักศึกษาแพทย์และทีมแพทย์จากญี่ปุ่นที่มาทำงานวิจัยที่โรงเรียน จึงใฝ่ฝันอยากเรียนแพทย์ การเป็นแพทย์ของพี่จึงเป็นเรื่องที่ลำบากฝ่าฝันกว่าจะประสบความสำเร็จแม้ไม่ใช่คนทุกคนที่จะเรียนแพทย์ได้ แต่การเรียนแพทย์ไม่ใช่ของไกลจนสุดเอื้อมการสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ อาศัยคุณสมบัติเพียง 2ประการจ๊ะน้อง ประการที่หนึ่ง เรียนดีเรียนเก่ง

คนจะเรียนแพทย์ได้ ควรเรียนเก่งเป็นอันดับต้นอย่างน้อยร้อยละสิบของนักเรียนทั้งหมด วิชาที่ต้องเก่งระดับยอดเยี่ยมได้แก่วิชาคณิตศาสตร์ ระดับดีถึงดีมาก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ส่วนอย่างอื่นๆอย่างน้อยต้องระดับดี ไม่ว่าสังคม ภาษาไทย พละศึกษาฯลฯ วิชาเหล่านี้แม้ไม่ใช่พื้นฐานของการเรียนแพทย์ทุกวิชา แต่การเรียนเก่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะวิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชามากมาย หลายอย่างอาศัยความจำที่เป็นเลิศ บางอย่างซับซ้อนเข้าใจยาก บางอย่างอาศัยการคำนวณ บางอย่างอาศัยภาษาอังกฤษที่แตกฉาน บางอย่างอาศัยความคิดเป็นเหตุเป็นผลฯลฯ เรียกว่าจะเรียนรู้ให้เข้าใจ เกือบทุกเรื่องล้วนต้องอาศัยสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดเป็นหลัก

ประการที่ 2 ร่างกายแข็งแรง โอบอ้อมอารี มีเมตตา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ ฯลฯ

อันที่จริงเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับหนึ่งเพราะเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะเป็นแพทย์ แต่ที่เขียนเป็นประการสอง เพราะแม้บางส่วนเป็นคุณสมบัติที่ครอบครัวและตนเองสร้างมา แต่บางส่วนอาจเป็นเรื่องสร้างขึ้นภายหลังได้ ข้อสอบเข้าแพทย์ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นข้อเขียน สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ส่วนหนึ่งมุ่งเน้นเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้

แค่มีคุณสมบัติ2 ประการนี้ น้องย่อมสอบเข้าแพทย์ได้แล้ว เย้…

แต่การสอบเข้าได้ ไม่ได้ประกันว่าน้องสามารถเรียนจนจบเป็นแพทย์ น้องนักเรียนหลายคนเมื่อสอบเข้าแพทย์ได้ คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จ บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของตนเองและผู้ปกครองจนเลือกใช้ชีวิตอย่างประมาท ในขณะความเป็นจริงคือ การจะเรียนจนจบแพทย์ได้ อาศัยคุณลักษณะที่จำเป็นอีกหลายประการ ขอยกมาเพียง7ประการได้แก่

ประการที่ 1  ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง ไม่มีโรคจิต โรคประสาท สามารถทนต่อสภาวะที่เครียดได้

แม้มีการคัดคุณสมบัติบุคคลก่อนเรียนแพทย์ แต่อาจไม่สามารถเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้หมดจริง คนที่มีร่างกายป่วยกระเสาะกระแสะ จิตใจอ่อนแอไม่อาจรับความกดดันใดๆ หรือเครียดง่าย ล้วนเป็นอุปสรรคของการเรียนแพทย์ ส่งผลให้น้องเรียนไม่จบ หรือเกิดความเครียด จนมีบางรายต้องปลิดชีวิตตนลง ซึ่งมีทั้งที่เป็นนักศึกษาแพทย์ และที่เรียนจนจบแพทย์แล้ว

ประการที่2 ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีวินัยและความรับผิดชอบ

คนที่สอบเข้าแพทย์ได้ ส่วนใหญ่ต้องมีวินัยในการใช้ชีวิต รับผิดชอบอ่านหนังสือ ติวความรู้ฯลฯ จนผลการเรียนดีเด่น แต่เมื่อสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ บางคนคิดว่า ขอเรียนให้ผ่านก็พอ ไม่จำเป็นต้องเอาจริงเอาจัง จึงย่อหย่อนวินัยและความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ฝากชีวิตไว้กับการดูแลเอาใจใส่ของแพทย์ ในแต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์ที่ถูกรีไทร์จากการขาดวินัยและความรับผิดชอบ สมัยที่พี่เป็นนักศึกษาแพทย์ เพื่อนนักศึกษาแพทย์ที่ถูกรีไทร์มีหลายคน ส่วนหนึ่งในจำนวนนั้นไม่อ่านหนังสือไปสอบ, ไม่ไปขึ้นวอร์ด(ตึกคนไข้), ไม่ดูแลคนไข้ที่รับผิดชอบ, บางคนไม่ไปเรียนแต่เพลิดเพลินกับการเล่นไพ่อยู่ที่หอทั้งวันทั้งคืน

ประการที่3ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่พร้อมจะใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น

ทันทีที่ก้าวเข้ามาในวิชาชีพแพทย์ เวลาส่วนตัวของน้องไม่ใช่ของน้องคนเดียว ไม่ว่าอยู่เวรหรือไม่ หากน้องถูกตาม น้องต้องพร้อม ไม่ว่าน้องจะทำอะไรอยู่ หากมีคนไข้อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิต ทุกอย่างที่ทำอยู่ต้องกลายเป็นรอง ด้วยการช่วยชีวิตคนไข้นั้นมีความสำคัญที่สุดสำหรับคนที่จะเป็นแพทย์

ประการที่ 4 ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีความอดทน

ทั้งอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย เช่นอยู่เวรทั้งคืน แต่เช้าต้องมาทำงานหรือมาเรียน เหมือนคนนอนหลับสบายทั้งคืน ทั้งอดทนต่อของที่น่ารังเกียจ เช่นต้องตรวจ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด  น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ อวัยวะที่เปื่อยเน่า ฯลฯ

น้องบางคนรักของสวยของงามมาก ไม่อาจทนได้กับสิ่งเหล่านี้ จนเปลี่ยนคณะเรียนก็มี

ประการที่ 5 ความเป็นแพทย์ต้องการคนสนใจใฝ่รู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง

วิชาแพทย์ เป็นวิชาที่กว้างและลึกไม่มีวันเรียบจบ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ การรักษา เวชภัณฑ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไปฯลฯ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แค่ในตำราอาจไม่พอที่ทำให้น้องสอบผ่าน รับใบอนุญาตหรือใบประกอบโรคศิลป์เพื่อเป็นแพทย์ได้

ประการ6 ความเป็นแพทย์ต้องการคนมีจริยธรรม

อันที่จริงวิชาใดๆในโลกนี้ล้วนต้องการคนมีจริยธรรมทั้งนั้น แต่ เรื่องนี้เป็นเรื่องกำหนดไว้ในคุณสมบัติของวิชาชีพแพทย์ ดังนั้นหากน้องทำผิดจริยธรรม ซึ่งอาจไม่ผิดร้ายแรงสำหรับบางอาชีพ แต่วิชาชีพแพทย์ถือว่าเป็นความผิดอย่างรุนแรง จนอาจเรียนไม่จบ เช่นโกหกหลอกลวง ประเภทไม่ได้ตรวจคนไข้บอกว่าตรวจแล้ว ลอกงานคนอื่นมาส่งอาจารย์เป็นงานตนเองเป็นต้น

ประการ7  ความเป็นแพทย์ต้องการคนที่มีความมุ่งมั่น มีปณิธาน

น้องที่จะเรียนแพทย์ ควรเป็นผู้ต้องการเป็นแพทย์จริงๆ นั่นหมายความว่าน้องควรต้องเรียนรู้ เข้าใจ และศรัทธาวิชาชีพแพทย์ ซึ่งจะทำให้น้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่ก่อนสอบเข้าแพทย์ เมื่อสอบได้ การใช้ชีวิตแบบที่ความเป็นแพทย์ต้องการ จะส่งผลทำให้น้องประสบความสำเร็จ เรียนจบ ได้ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามที่น้องใฝ่ฝัน

น้องๆที่รัก…

ก่อนจบ พี่ขอฝากถึงท่านผู้ปกครองและน้องๆที่ต้องการเป็นแพทย์ในเรื่องที่สำคัญมากเรื่องหนึ่ง คือความเชื่อว่าวิชาชีพแพทย์นั้นร่ำรวย จนทำให้หลายคนอยากเป็นแพทย์เพราะเหตุนี้

วิชาชีพแพทย์นั้นยังไม่มีการตกงานตั้งแต่อดีตมาจวบปัจจุบัน แพทย์ไม่ยากจน แต่ก็ไม่ร่ำรวย เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ(ที่ทำงานอย่างเหนื่อยยาก, ทุ่มเทเวลา, และใช้สมองที่ชาญฉลาด เท่าๆกัน)… วิชาชีพแพทย์ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า จนมีอาจารย์แพทย์บางท่านบอกว่า…ค่าตอบแทนหมอน้อยกว่าหมอนวดฝ่าตีน มิหนำซ้ำยังมีความเสี่ยง ต่อการติดโรค ถูกฟ้องร้อง เสื่อมสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว(เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว)

อย่างไรก็ตาม แพทย์เป็นวิชาชีพที่มีโอกาสได้สร้างบุญบารมี การทำงานด้วยพรหมวิหาร4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์และผู้ตกทุกข์ได้ยาก สามารถสร้างความปลื้มปีติในหัวใจของตนเองและครอบครัวอย่างหาอาชีพอื่นเทียบเทียมได้น้อย มิหนำซ้ำ วิชาชีพแพทย์ยังทำให้ปลงตก เห็นความอนิจจังของชีวิต ด้วยการใกล้ชิดวัฎจักรเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน…

ดังนั้นหากลูกหลานท่านผู้ปกครองเลือกวิชาชีพนี้ จงภูมิใจ สนับสนุน
และช่วยเหลือเขา เพราะวิชาชีพนี้มีแต่ส่งเสริมให้เขาเกื้อกูลเอื้ออาทร เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก รวมทั้งสั่งสมแต่ความดีไปตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันที่คิดจะย่างก้าวเข้าสู่วิชาชีพแพทย์©

 

 

Posted in: วงการแพทย์ Tagged: งานเปิดรั้วโรงเรียนแพทย์, ชัญวลี, ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นแพทย์, บทความ, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, ศรีสุโข

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.