• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

นักศึกษาแพทย์

นักศึกษา ที่เรียนวิชาแพทย์ จึงมีคำเรียกให้ดูแปลกไปจากนักศึกษาทั่วไป

เล่าประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง รังสิต 3 ตุลา 57 ครับ

October 4, 2014 by Gla Leave a Comment

[เขียนถึงเพื่อนแพทย์ และพี่น้อง ม.รังสิต ครับ]

ยาวนะครับ แต่ ขอบันทึกไว้เป็นรอยในประวัติศาสตร์…

พี่น้อง หลายๆท่านร่วมยุคเดียวกัน (รังสิตรุ่น 14 – 21, ส่วนผมเอง รุ่น 17) คงพอทราบว่า…นักศึกษาแพทย์ ม.รังสิต นั้น มีส่วนในการผลักดันหลายๆอย่างให้แก่คณะ สมัยที่เรียนอยู่ เพราะตอนเรียนนั้นมีอุปสรรคเกิดขึ้นมาก ความรักในสถาบันผลักดันให้เราทำครับ…

เราผลักดัน ตั้งแต่เรื่องการ พัฒนาหลักสูตรนักศึกษาแพทย์ใหม่ การเพิ่มทรัพยากร อุปกรณ์ การเพิ่มอาจารย์ เพิ่มอาจารย์ใหญ่ตลอดจนการสร้างตึกคณะแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต สำเร็จในปัจจุบัน เป็นเพราะแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายๆท่าน และคณบดีท่านก่อน (พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล) ที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องหนึงที่สำคัญมาก เลย คือเรื่องการได้ไปใช้ทุน (หรือโครงการเพิ่มพูนทักษะ) ไปใช้ทุนตามต่างจังหวัด

ในสมัยปี 2553-2554 นั้น เราถูกตัดสิทธิ์ ไม่ได้ให้เข้าจับฉลาก เนื่องจากตำแหน่งที่ กพ.(ข้าราชการพลเรือน) ให้ทางกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงพอ มีการจะกีดกันไม่ให้แพทย์ที่จบจากรังสิต ได้จับฉลาก

หากไม่ได้จับฉลากไปใช้ทุน ก็จะลำบาก เพราะเราต่างมุ่งหมายใบเพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อไว้ใช้เรียนต่อแพทย์ประจำบ้าน สาขาต่างๆ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, รังสิต, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: กรรมการ, คณะแพทย์รังสิต, ชัญวลี ศรีสุโข, ชุมนุม, นักศึกษาแพทย์, รังสิต, ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, แพทยสภา

ศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

June 29, 2011 by Gla 8 Comments

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

(Terminology about Thai Medical Education : part I)

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com – มิถุนายน 2554

ด้วยรำลึกถึง อ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และขอบคุณบุพการี ต้นแบบอย่างแพทย์ที่ดี

Thai medical education term

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์

*เขียนอุทิศไว้เป็นวิทยาทานและความบันเทิงแก่แพทย์รุ่นหลัง ที่รุ่นพี่หรืออาจารย์ของน้องอาจไม่ได้บอกไว้ชัดเจน ความดีทั้งหมดยกให้วงการแพทย์ครับ

คำเตือน บทความนี้อาจมีสาระอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เสียดสีสังคมเพื่อความบันเทิง
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: cpird, New tract, การศึกษาต่อ, การแพทย์, คลินิก, ความหมาย, คือ, นักศึกษาแพทย์, นิสิต, ปรีคลินิก, วงการแพทย์, ศรว, ศัพท์, ศัพท์การแพทย์, ศัพท์เฉพาะ, ศูนย์แพทย์, หมายถึง, องค์กรแพทย์, อาจารย์แพทย์, เรียนต่อ, แปลว่า, แพทยสภา, แพทย์ประจำบ้าน, แพทย์พี่เลี้ยง, แพทย์เฉพาะทาง, แพทย์ใช้ทุน, โรงเรียนแพทย์เอกชน, ใบประกอบ, ใบเพิ่มพูนประสบการณ์

สาธารณสุขกับคนรุ่นใหม่

May 22, 2011 by Gla Leave a Comment

สาธารณสุขกับคนรุ่นใหม่

ลงวารสารปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา ฉบับที่ 23 – เมษายน 2554

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

ฉีกกรอบ

(1)

เดือนก่อนได้รับเชิญให้พูด ออกรายการ “คิดนอกกรอบกับคนรุ่นใหม่” ทางช่อง NBT ครับ http://www.youtube.com/watch?v=VNteNqQc0YU

ทีมงานถามเกี่ยวกับเรื่องปัญหาในระบบสาธารณสุขไทย ว่ามีอะไรบ้าง? เป็นคำถามที่ยากเหมือนกันครับ เพราะคนรู้ปัญหา คนเห็นปัญหามีเยอะ แต่คนที่จะแก้ไข-มีแรงแก้ไข-ยอมต่อสู้ตรากตรำแก้ไข มีจำนวนน้อยกว่า

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: คนรุ่นใหม่, นักศึกษาแพทย์, ปัญหา, ระบบ, รังสิต, สัมภาษณ์, สาธารณสุข, แพทย์, โทรทัศน์

เกิดแต่จม

September 30, 2010 by Gla 1 Comment

เกิดแต่จม


ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com
หมายเหตุ ฉบับ Censored แล้ว, กระนั้นผู้อายุต่ำกว่า 20ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองก่อนอ่าน

*ตีพิมพ์ในนิตยสาร demo-crazy.com ฉบับ 20 และได้ปรับปรุงลงหนังสือ “จากพี่…สู่น้อง” ของเครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ ใส่ใจ ใฝ่รู้ สู่การสร้างสรรค์สังคม

 

(1)

เขาบอกว่าคนเกิดวันพุธตอนกลางคืน เป็นคนดวงแรง…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ Tagged: ฉุกเฉิน, ทำแท้ง, นักศึกษาแพทย์, ประสบการณ์, แม่

คืน10เมษา ณ ราชวิถี

April 11, 2010 by Gla 1 Comment

คืน10เมษา ณ ราชวิถี

 

บทความนี้ไม่อยากซ้ำเติมผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต หรือสร้างความเคียดแค้นแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากขึ้น แต่คงบอกเล่าเรื่องราวที่ได้ยิน-ประสบพบมา โดยพยายามไม่ใส่ความคิดเห็นด้านการเมืองของตัวเองลงไป

เหตุการณ์เมื่อคืน 10เมษายน2553 ที่อาจทำให้หลายคนนอนไม่หลับ และเป็นกังวลกันมาก…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: 10 เมษา, กลางคืน, การเมือง, ชุมนุม, ตาย, นักศึกษาแพทย์, บันทึก, บาดเจ็บ, ประท้วง, ประวัติศาสตร์, เสื้อแดง, แพทย์

การเรียนรู้

January 25, 2010 by Gla 4 Comments

การเรียนรู้

ลงวารสาร www.demo-crazy.com ฉบับ15 สำหรับเดือนมกราคม 2553
ชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์ปี 5 มหาวิทยาลัยรังสิต Chanesd@gmail.com

(1)

ชีวิตผม เป็นชีวิตที่ถูกลิขิตให้ยุ่งเหยิง…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ส่วนตัว Tagged: การค้นพบ, การเรียนรู้, ชีวิต, ตนสอนตน, ธรรม, นักศึกษาแพทย์, ประสบการณ์, แพทย์

สุขสันต์วันเกิด

August 27, 2009 by Gla 2 Comments

สุขสันต์วันเกิด

โดย ชเนษฎ์ ศรีสุโข ตีพิมพ์ใน วารสาร www.demo-crazy.com ฉบับสิงหาคม 2552[chanesd@gmail.com นักศึกษาแพทย์ปี 5 ม.รังสิต-รพ.ราชวิถี]

ทุกวันนี้ การเดินไปเดินมาแถวอนุสาวรีย์ชัยฯ ทำให้ผมได้เห็นชัดมากขึ้น ถึงสิ่งหนึ่ง…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ส่วนตัว Tagged: นักศึกษาแพทย์, นิรทร, ศรีสุโข, สุขสันต์วันเกิด, อัจฉริยะ, เกน

การชุมนุมนักศึกษาแพทย์! (อีกแล้ว)

August 22, 2009 by Gla 5 Comments

การชุมนุมนักศึกษาแพทย์! (อีกแล้ว)

ไม่น่าเชื่อว่า ภายในเวลาประมาณ 2 ปี เกิดการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ถึง สองครั้ง สองครา

นักศึกษาแพทย์ที่ชาวบ้านชาวเมืองคิดว่าต้องเป็นผู้คงแก่เรียนใส่แว่นตาหนาเตอะ หมกมุ่นกับกองหนังสือ กลับมาเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เดินหน้าพร้อมใจชุมนุม ต่อต้านความอยุติธรรม และความเลวร้ายที่เกิดขึ้น!

นักศึกษาแพทย์ชุมนุมครั้งนี้เพราะอะไร มาติดตามกัน

นักศึกษาแพทย์รังสิต มาเรียนม.รังสิต ต่างภาคภูมิใจในคณะ และมหาวิทยาลัย ทุกคนรักท่านอธิการบดี อาทิตย์ อุไรรัตน์ และเชื่อมั่นในตัวผู้ใหญ่ใจดี อดีตนักการเมืองและวีรบุรุษผู้สร้างประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง นักประชาธิปไตย ผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ เพื่อความถูกต้องอยู่เสมอ รักษาธรรมาธิปไตยให้ดำรงไว้ในแผ่นดิน เรา

นักศึกษาแพทย์ต่างสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมระดับชาติ และองค์กรระดับชาติมามาก โดยไม่คิดสิ่งตอบแทน ผลการสอบใบประกอบโรคศิลป์ และด้านวิชาการก็พัฒนาขึ้นมาก ภายใต้การสนับสนุนของอดีตคณบดีผู้ล่วงลับในสมัยก่อน คือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล ผู้แสดงธรรมให้ประจักษ์ สั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม ให้นักศึกษาแพทย์ยึดมั่นในการเป็นแพทย์ที่ดี และเป็นคนที่ดี เสียสละเพื่อส่วนรวม

เล่าความถึงเมื่อสามสี่ปีก่อน ปัญหาที่ผ่านมา ขาดแคลนทรัพยากร ขาดแคลนหลักสูตรการศึกษาที่ดี ขาดแคลนสถานที่ อาคาร อุปกรณ์การศึกษา และที่สำคัญกว่าสิ่งใด ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร เรียนด้วยตนเอง จบด้วยตนเอง เป็นศิษย์เก่าคิดอยากกลับมาช่วย ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ศิษย์เก่าจึง เสียใจ หนีหายกันไปมากนักศึกษาแพทย์สมัยนั้นนั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกันดี เพื่อยกระดับคณะให้ดีขึ้น

ครั้งก่อนนั้น นักศึกษาแพทย์จึงร้องเรียนกันเป็นเวลายาวนาน ขอร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาวิทยาลัยแพทย์ให้เจริญยิ่งใหญ่ขึ้น ร้องเรียน ชุมนุม เจรจากันหลายครั้ง เข้าพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยอยู่หลายหน แต่ทุกคำสัญญา ทุกท่าทีกลับเป็นการปฏิเสธนักศึกษา เหตุการณ์จึงทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดชุมนุมใหญ่นักศึกษามากกว่าสามร้อยชีวิต ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ออกข่าวสารลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และเว็บไซต์ข่าวชั้นนำจำนวนมาก (ไม่นับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ล่มมาโดยตลอดจากการถูกนักศึกษาโจมตีประเด็นต่างๆ) ต่อมาเรื่องจึงเดินทางไปถึงยังแพทยสภา และสำนักงานการอุดมศึกษาฯ ช่วยกดดันผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งที่คอยถ่วงความเจริญของคณะแพทย์

การเจรจาตกลงกับผู้ใหญ่ใจดีจึงเกิดขึ้น ท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้มีบารมีและอำนาจสูงสุดในฐานะท่านอธิการบดี ได้มีเมตตา เรียกแกนนำนักศึกษาเข้าประชุมโต๊ะกลมโดยทันที! และแสดงความจริงใจในการสัญญาตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทุกประการ

ท่านคณบดีบุญเชียร ผู้ต่อสู้ให้นักศึกษาแพทย์เช่นกัน ตอนหลังป่วยเป็นมะเร็งปอด ลามไปตับและอวัยวะภายใน ท่านยังสู้เพื่อนักศึกษาจนหยดสุดท้าย เดินหอบมาทำงานทุกวัน ป่วยให้เคโมจนเป็นไข้ก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำ แม้สามีและลูกห้าม ก็ดึงดัน รั้นที่จะร่วมสู้เพื่อนักศึกษาแพทย์ด้วยโดยไม่กลัวอำนาจ อิทธิพลใดใดของผู้ที่จะคอยกลั่นแกล้ง และเสียประโยชน์ จากการที่อธิการบดีตกลงสนับสนุนนักศึกษาแพทย์เต็มที่ในครั้งนั้น

สัญญาต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมาย มีการเซ็นสัญญา และการให้วาจาสัตย์กับนักศึกษาแพทย์ ในการสร้างอาคารเพิ่มขึ้น พื้นที่หลายไร่ การให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเพิ่มขึ้น และมุ่งตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี ที่ตรงกับนักศึกษาแพทย์ทุกคนว่า เราจะพัฒนาคณะนี้ ให้เจริญเทียบเทียมคณะแพทย์ชั้นนำอื่น สนับสนุนอย่างเต็มที่โดยไม่คิดเพียงกำไร เพราะ ม.รังสิต “สร้างบัณฑิตรู้ลึก สร้างสำนึกเพื่อสังคม” เรื่องนี้มหาวิทยาลัยได้ลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับเช่นกัน เพื่อแก้ไขกรณีการร้องเรียนแพทยสภาของนักศึกษาแพทย์

นักศึกษาแพทย์ยินดีมาก ในครั้งนั้น และสรรเสริญท่านอธิการบดีและคณบดีบุญเชียร ประหนึ่งบิดาและมารดาของแพทย์รังสิตพลางคิดว่าเราจะเจริญได้แล้ว นักศึกษายิ่งมุ่งพัฒนาสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยมากขึ้นด้วยความรักในสถาบัน และการสนับสนุนของท่านอธิการบดี

แต่กาลกับตาลปัตร สัญญาที่ให้ไว้กลับมีปัญหามาโดยตลอด ทั้งการบิดพลิ้วของผู้บริหารท่านอื่นหลายท่าน อาคารที่สัญญาไว้ ถูกยึดคืนกลับไปหมดสิ้น หลักสูตรล่าช้า อุปกรณ์ ทรัพยากรต่างๆ ติดปัญหา ผู้บริหารไม่สนับสนุน ไม่อนุมัติ

หลัง คณบดีบุญเชียรเสียชีวิต ผู้บริหารบางท่านบอกกับนักศึกษาแพทย์ทำนองว่า “คนตายแล้ว ไม่มีใครสานต่อ ต้องล้มเลิกโครงการทั้งหมด”ชั้นอาคารของคณะแพทย์ เนื้อที่กว่า 3000 ตารางเมตร ที่ตกลงไว้ ทำสัญญาไว้ คณะแพทย์ปรับปรุงการก่อสร้างมาหลายครั้ง เพิ่งสร้างเสร็จ นักศึกษาแพทย์กำลังจะเข้าใช้ด้วยความยินดี กลับถูกยึด โดยอ้างเหตุผลเชิงธุรกิจไปเสียสิ้น!

จึงเกิดการลุกฮือของนักศึกษาแพทย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรอบสองปี ดังกล่าวแต่ต้น เกิดการเดินสาย เดินขบวน จนพัฒนาต่อเนื่องมายังเหตุการณ์ที่จะเป็นครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาแพทย์รังสิต 20 สิงหาคม 2552 (ต่อไปน่าจะเรียกว่า “สิงหาได้ชัย” เพราะชุมนุมใหญ่เดือนสิงหาคมตลอด)

การชุมนุมครั้งใหญ่ ครั้งนี้ ปิดล้อมใต้อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ ต่างจากครั้งที่แล้ว ที่เจรจากับอย่างสงบ สันติกับผู้บริหารหลายท่าน ที่พิสูจน์ให้นักศึกษาแพทย์รับทราบชัดในวันนี้ว่า เชื่อถือไม่ได้ ครั้งนี้เราไม่ได้แจ้งสื่อสารมวลชนใดใดเพราะเรารักในมหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดี และไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องเสื่อมเสียแก่มหาวิทยาลัย

การปิดล้อมเป็นเวลายาวนานกว่าห้าชั่วโมง หลังการเจรจาระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยตลอดนั้น จึงเริ่มได้ข้อสรุป นั่นคือ นักศึกษาแพทย์ จะได้รับการพัฒนา และอาคารของแพทย์ที่สร้างเสร็จ จะได้รับไปใช้เหมือนเดิมท่านอธิการบดีผู้เมตตา ได้ตกลงช่วยเหลือเรา ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติยืนเรียงแถวต่อหน้านักศึกษาแพทย์ ชี้แจงข้อมูลและให้สัญญาด้วยวาจาสัตย์ยิ่งกว่าครั้งก่อน ด้วยเกียรติภูมิของผู้ใหญ่ที่ทำงานให้สังคม เป็นพันธะทางใจระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง

คณบดี ศ.(คลินิก) นพ.สุรวิทย์ เตชธุวานันท์ คนปัจจุบัน แม้เป็นคณบดีท่านใหม่ แต่มากด้วยประสบการณ์ทำงานในอดีต เปี่ยมคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นรองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้แสดงถึงความจริงใจ และกำลังเป็นที่รักของนักศึกษาแพทย์รังสิต คนต่อไป ทั้งในฐานะแพทย์ตัวอย่างผู้ทรงคุณงามความดีแก่สังคม และการเป็นอาจารย์ที่เมตตาช่วยเหลือลูกศิษย์ สนับสนุนลูกศิษย์ในการตั้งใจเรียน สร้างผลงานทางวิชาการ และกิจกรรมเพื่อสังคมสืบไป

นี่คือ ธรรมาธิปไตย สังคมที่กำลังจะเป็นธรรมอีกครั้ง หลังประชาธิปไตยของนักศึกษา การเมืองภาคประชาชนของนักศึกษา ที่อุดหนุน ค้ำยัน สร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ให้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต

นี่คือ ธรรมาธิปไตย ของท่านอธิการบดี และสัญญาทางใจระหว่างผู้บริหารทุกท่าน กับนักศึกษาแพทย์ จึงเป็นจุดจบของการชุมนุมในครั้งนี้ เราคงต้องรอเฝ้าดูกันว่า ภายในอีกสิบปี ยี่สิบปี แพทย์รังสิตจะพัฒนาไปในทิศทางใด ลบคำครหาต่อว่าในอดีต มุ่งสู่การสร้างสรรค์สังคมด้วยการเป็นแพทย์เก่ง ดี มีคุณธรรม คอยช่วยค้ำจุนสังคมสืบไป

ท่านอธิการบดี ฝันเห็น แพทย์รังสิต เป็นดั่งแพทย์ฮาร์วาร์ดของอเมริกา เราเชื่อเช่นนั้น และทุ่มเต็มที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนอย่างเต็มที่ของท่านอธิการบดี และผู้บริหารทุกคน นักศึกษาใคร่ขอกราบขอบคุณและสรรเสริญท่านในฐานะวีรบุรุษประชาธิปไตย ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และดำรงตนประหนึ่งผู้บริหารอันทรงธรรมที่สุดแห่งยุคสมัย ชื่อของท่านและม.รังสิต จะถูกจดจำไปนาน บันทึกในแผ่นดินตราบชั่วนิรันดร์ ถึงการเป็นผู้สมบูรณ์ประเสริฐพร้อมด้วยกุศลจิต ผู้มิเคยได้เห็นผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจาก “ประโยชน์ของประชาชน”

อ่านภาคหนึ่ง โรงเรียนแพทย์เอกชนได้ ที่นี่ http://www.bloggla.com/?p=84

Posted in: ข่าว, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: การชุมนุม, ข่าวดัง, นักศึกษาแพทย์, ประท้วง, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัญหาคุณภาพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ร้องเรียน, รังสิต, วิทยาลัยแพทยศาสตร์, อาทิตย์, แพทย์, แพทย์รังสิต

Autoerotic asphyxiation

July 21, 2009 by Gla 4 Comments

Autoerotic asphyxiation

ตีพิมพ์ วารสาร Demo-Crazy.com เล่ม9

ช่วงนี้มีกระแสข่าวที่ไม่ค่อยจะดีนัก เกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย ที่สื่อไทยทั้งหลายได้ทีเอามาขายเป็นข่าว บางครั้งเพื่อความเนียนก็อ้างอาจารย์หมอนิติเวชชื่อดังท่านหนึ่งว่าเป็นผู้ให้ข่าว โดยที่การกระทำของสื่อเหล่านั้น ไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของครอบครัว ญาติ คนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตสักเท่าไรนัก อีกทั้งยังไม่ให้เกียรติแก่ผู้จากไปอีกด้วย

ในทางการแพทย์ แพทย์ทุกคนล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิผู้ป่วย ทั้งให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนแก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจรักษา รักษาข้อมูลผู้ป่วยเป็นความลับ ยกเว้นในกรณีใช้เพื่อการศึกษา เช่น ให้นักศึกษาแพทย์มาเรียนรู้ ซักประวัติกับผู้ป่วย แต่ก็จบอยู่เพียงการศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหลักจริยธรรมอีกมากที่คอยกำกับการรักษาผู้ป่วย

นอกจากสิทธิผู้ป่วยแล้ว เรายังล้วนให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้ตาย แม้ว่าจะอยู่ในกระบวนการผลักดันกฎหมายอยู่ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติของแพทย์มีมานานแล้วว่า หากการตายของผู้ป่วยนั้น เมื่อผู้อื่นรับรู้แล้วเกิดความเป็นความดูถูก เหยียดหยามใน เกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แพทย์ย่อมไม่ใช้คำพูด หรือคำศัพท์ที่จะทำให้เสื่อมเสีย อาทิเช่น ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ เรามักไม่เขียนว่าเป็นโรคเอดส์เสียชีวิต จะเขียนเพียงอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คงมีเพียงผู้อยากรู้อยากเห็น ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร เท่านั้น

ทั้งนี้ เรื่อง Autoerotic asphyxiation ที่เขียนวันนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวถึงผู้ใด เป็นเพียงการค้นคว้าหาความรู้ของผมเท่านั้น Auto หมายถึง ตัวเอง, Erotic หมายถึง ความใคร่ ความต้องการทางเพศ, Asphyxiation หมายถึงภาวะขาดอากาศหายใจ พอเอาความหมายมารวมกันแล้วหมายถึง การพยายามสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีพยายามทำให้ตนเองขาดอากาศหายใจ ยังมีคำเรียกอีกหลายคำ เช่น asphyxiophilia, autoerotic asphyxia, breath control play จัดเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศอย่างหนึ่ง (paraphilia ที่ผมเขียนเคยในซีรีส์นักการเมืองโรคจิต ว่าเจ๊เพ็ญเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศแบบ Homophilia)

เป็นภาวะที่มีรายงานมาเป็นเวลาสี่ร้อยกว่าปีแล้ว และเคยมีแพทย์สมัยก่อน ศึกษาเรื่องนี้ คิดนำมาใช้เป็นวิธีการรักษาอาการนกเขาไม่ขันของผู้ชาย โดยให้กระทำการ Autoerotic asphyxiation ในการควบคุมดูแลของแพทย์

แต่เพราะว่าเรื่องนี้มีอันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ระมัดระวัง ตอนหลังก็เลิกวิธีการรักษาเช่นนี้ไป แต่ที่ยังมีคำนี้อยู่ เป็นเพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของคนที่กระทำวิธีนี้ และเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ จริงๆแล้วแม้ในหนังผู้ใหญ่ของฝรั่ง เราก็อาจเห็นการมีเพศสัมพันธ์และชอบบีบคอกัน หลายคนชื่นชอบการหายใจไม่สะดวกเวลามีเพศสัมพันธ์ บอกว่าช่วยกระตุ้นอารมณ์ หลายคนชอบเอาอุปกรณ์มารัดคอ ฯลฯ เรื่องนี้อธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าเมื่อขาดอากาศหายใจ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีมากขึ้น หัวใจจะเต้นแรงขึ้น พยายามสูบฉีดโลหิตมากขึ้น ต้องก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่เกิดความตื่นเต้น สมองก็หลั่งสารแห่งความสุขออกมา ยิ่งทำให้ผู้กระทำการ มีความสุข เคลิ้ม มากขึ้น

แต่ก็เป็นอันตรายไม่น้อย เพราะอาจทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน และทำบ่อยๆเข้า ก็อาจเสพติดได้ ในรายที่เสียชีวิต ส่วนหนึ่งก็คือมีความสุขมาก จนขาดอากาศ เสียชีวิต

เรื่อง Autoerotic asphyxiation นี้ เมื่อบุคคลที่กระทำการคนเดียว พลาดพลั้งเสียชีวิตไปแล้ว ผู้อื่นมาพบเข้ามักจะเข้าใจว่าเป็นการฆ่าตัวตายแบบวิตถาร แปลกพิสดาร จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

หลักเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับการพิจารณาว่าผู้ตายเป็น Autoerotic asphyxiation หรือไม่

1.มักเป็นเพศชาย

2.มีประวัติการเบี่ยงเบนทางเพศมาก่อน (เบี่ยงเบนทางเพศก็มีหลายประการ ตั้งแต่รักร่วมเพศ หรือรักสัตว์ รักศพ ฯลฯ)

3.พบสภาพศพเปลือยกาย อาจพบคราบน้ำอสุจิ

4.มักมีอุปกรณ์ช่วยให้ตนเองขาดอากาศหายใจ เช่นเชือก หรือถุงพลาสติก ฯลฯ รวมไปถึงหนังสือลามก วีดิทัศน์กระตุ้นอารมณ์ต่างๆ อยู่ใกล้ๆ และเปิดทิ้งไว้

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่านได้นะครับ และหากพบว่าคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรพูดคุย แนะนำ หรือให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายครับ

บางทีก็น่าคิดว่า ทำไมมนุษย์เรานี่ชอบทำเรื่องแปลกประหลาดกันจริงหนอ•

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์ Tagged: Autoerotic asphyxiation, ความใคร่, จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, สำเร็จ, หมอ, แพทย์, โรคจิต

อุบัติเหตุ!

June 22, 2009 by Gla 6 Comments

อุบัติเหตุ!

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปี5 ณ ราชวิถี [Chanesd@gmail.com]

ผมชื่อกล้าครับ เป็นคน มนุษย์ปุถุชนคนทั่วไปคนหนึ่ง มีแขนขา หู ตา คอ จมูก เหมือนทุกท่าน

ในชีวิตของคนๆเรา ย่อมเคยประสบอุบัติเหตุมา ไม่มากก็น้อย คำว่าอุบัติเหตุนี้มักใช้ในกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง โดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน โดยประมาทเลินเล่อ หรือโดยที่ผู้อื่นมากระทำกับเรา และส่งผลเสียให้กับตนเอง

เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุ คนมักคิดถึงเรื่องอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน อุบัติเหตุรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ เป็นส่วนใหญ่…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ส่วนตัว Tagged: นักศึกษาแพทย์, ประสบการณ์, อุบัติเหตุ

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

June 3, 2009 by Gla 5 Comments

บทความนี้เขียนก่อนเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Demo-Crazy ฉบับ พฤษภาคม 2552

วิพากษ์ความหลายเหลี่ยมแห่งจิต

ชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์ปี5 โรงพยาบาลราชวิถี chanesd@gmail.com

บก.ให้การบ้านซึ่งยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตๆ…

ขอย้อนความไปตั้งแต่การประชุมสภา ไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราก็คงเห็นความหลากหลายทางสภาพจิต ของ บรรดาท่านผู้มีเกียรติในสภา ไม่ว่าจะชูให้นิ้วกลางกัน พูดจาหยาบคาย พูดจาโอ้อวด ปั้นเรื่อง หลายคนพยายามหาเสียงระหว่างอภิปราย อยากเด่น อยากดัง พยายามโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นรายการถ่ายทอดสดให้ชมได้ทั่วประเทศผู้ชมหลายคนจึงได้สนุกสนานกับการเห็นคนเหล่านี้แสดงบทบาทในสภา บทบาทที่ไม่เหมือนคน…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วิชาการ, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: การเมือง, จิตวิทยา, จิตเวช, ชินวัตร, ทักษิณ, นักการเมือง, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, วิพากษ์, หมอ, แพทย์, โรค, โรคจิต

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

May 19, 2009 by Gla 5 Comments

นักศึกษาแพทย์ กับจิตเวช

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปี5 ณ ราชวิถี [chanesd@gmail.com]

ผมได้ผ่านแผนกจิตเวชศาสตร์ในระดับชั้นปี5 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้รับความรู้ทางวิชาการ และมุมมองทางสังคมหลายประการผ่านการถ่ายทอดของคณาจารย์จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และที่สำคัญ คือเรียนรู้จากอาจารย์ผู้ป่วย(หมายถึง คนไข้จริงๆ)ที่มาหาพวกเราที่โรงพยาบาลราชวิถีนั่นเอง

นอกจากศึกษาในโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานยังสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันราชานุกูล(บริการผู้บกพร่องทางสติปัญญา www.rajanukul.com) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (www.icamtalk.com) และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (www.galyainstitute.com)ล้วนสังกัด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วิชาการ Tagged: จิตวิทยา, จิตเวช, นักศึกษาแพทย์, ผู้ป่วย, หมอ, เข้าใจ, เห็นใจ, แพทย์, โรค, โรคจิต

โรงเรียนแพทย์เอกชน

March 12, 2008 by Gla 6 Comments

โรงเรียนแพทย์เอกชน

มีประเด็นเป็นข่าววงการศึกษา เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา

นศ.แพทย์ม.รังสิตร้องแพทยสภา ตรวจสอบภาคพรีคลินิก– กรุงเทพธุรกิจ

ม.รังสิตพร้อมแจงแพทยสภายังมั่นใจ5ปีเป็นม.แพทย์ชั้นนำ– เดลินิวส์

ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์ –สยามรัฐ

ร้องแพทยสภาตรวจสอบภาคพรีคลินิกม.รังสิต– คมชัดลึก

บทความนี้ มิได้มีเจตนาจะกล่าวให้ร้าย หรือโจมตีผู้ใด หากแต่ถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่จะได้ชี้แจง และอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงอันดีงามอีกด้วย และชื่นชมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ถ้าพูดถึงโรงเรียนแพทย์แล้ว คนทั่วไปมักไม่ค่อยได้เข้ามาสัมผัสรู้ลึก คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักชื่อเพียงโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ โด่งดัง เช่น ศิริราชพยาบาล รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ วชิรพยาบาล ฯลฯ

ResizeDSC_0027

ในความเป็นจริง ปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย รวมกัน มากถึง 16 สถาบันแล้ว และกำลังเพิ่มมากขึ้น

สำหรับแพทย์รังสิตนั้น ก่อตั้งสมัยคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้เมตตากรุณา ได้มีความพยายามผลักดัน จนทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้ในปีการศึกษา 2532

ตลอดระยะเวลาในยุคแรก มีการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความมีคุณภาพทัดเทียมแพทย์รัฐบาลจนแพทยสภาได้รับรองมาตรฐานหลักสูตรเมื่อปีพ.ศ. 2537 คุณพ่อประสิทธิ์มุ่งหวังสร้างสรรค์แพทย์เอกชน ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ โดยมิหวังผลกำไรเกินควร แพทย์รังสิตจึงค่อยๆเจริญงอกงาม ดุจต้นกล้า มีภาพลักษณ์ และชื่อเสียงอันดี

การบริหารงานของมหาวิทยาลัยรังสิต ต่อมาได้ตกอยู่ใต้การดูแลของดร.อาทิตย์ ท่านได้มีความพยายามในการระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดคณะต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งมีความพยายามเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาคณะต่างๆ และนักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มค่าเรียน เพิ่มค่าลงทะเบียน

การเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง ปริมาณ กับคุณภาพการศึกษา และได้มีการถ่ายโอน การบริหารแพทย์รังสิต 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ให้คณะวิทยาศาสตร์ดูแล ภาคปรีคลินิกจึงขึ้นตรงกับทางผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วน 3ชั้นปีหลัง (ภาคคลินิก)ยังขึ้นตรงต่อคณบดีแพทย์ซึ่งปัจจุบันคือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และคณาจารย์แพทย์ ผู้ซึ่งเป็นที่รัก คอยดูแลนักศึกษาแพทย์เป็นอย่างดีตลอดมา

แม้ว่าภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในขั้นเยี่ยมยอด

แต่สำหรับแพทย์เองนั้น มีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง เป็นปัญหาภายใน 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ซึ่งรับผิดชอบดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาแพทย์จำนวนมากรู้สึก ถึงความไม่ชอบธรรม ความขาดแคลน และขาดความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาแพทย์ จากผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รวมถึงจากผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ขั้นที่1 (สอบหลังจบปรีคลินิก) ที่แพทย์รังสิตได้น้อย และต่ำสุดมาหลายปี ในขณะที่ขั้นที่2, 3 (สอบหลังเรียนภาคคลินิก) สอบได้คะแนนสูงติดอันดับประเทศ เป็นข้อสรุปว่า คณะวิทยาศาสตร์ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทางด้านคุณภาพการเรียนการสอน ทั้งหลักสูตร และทรัพยากร อุปกรณ์ อาคาร บุคลากร ฯลฯ ที่ยังไม่เพียงพอและไม่ดีเท่าที่ควรตามเกณฑ์ขั้นต่ำแพทยสภา

รวมถึงในส่วนนักศึกษาแพทย์เองก็ยังมีหลายคนที่ไม่ตั้งใจ และไม่ขยันเรียนเท่าที่ควร

ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์และแกนนำ มีการร้องเรียนอยู่ภายในมาโดยตลอด เป็นการเมืองภาคนักศึกษาแพทย์ มีหนังสือร้องเรียนจำนวนหลายฉบับ ชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้ง จนถึง เมื่อวันที่ 3สิงหาคม 2550 มีการชุมนุมใหญ่กว่า300คน (ดังภาพ) การพบปะผู้บริหารหลายระดับ

การร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องหลักสูตร ทรัพยากร อุปกรณ์การสอน ฯลฯ กันมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อต้องการสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่พวกเขาควรจะได้รับ และเพื่อคุณภาพที่แท้จริง เหตุการณ์ดำเนินเรื่อยมาจนถึงกรณีนักศึกษาแพทย์ยื่นหนังสือร้องเรียนแพทยสภา แม้ว่าในท้ายสุด ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ขอระงับนักศึกษาแพทย์ให้ถอนหนังสือดังกล่าวก็ตาม

เรื่องราวทั้งหมดนี้ นับจารึกไว้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์แพทย์รังสิต แม้ว่าจะคล้ายกับมีการต่อสู้ ถกเถียง ทะเลาะกันบ้างระหว่างนักศึกษาแพทย์ กับทางผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับต่างๆ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ทั้งหมดก็เพื่อหาทางออกร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์สิ่งดี ผลิตแพทย์คุณภาพสร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

คาดหวังว่า ท่านอธิการบดีผู้เมตตากรุณา และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ เริ่มได้ให้ความใส่ใจกับนักศึกษาแพทย์มากขึ้น และเริ่มสนับสนุน ส่งเสริม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อที่มีมาตรฐานภาคปรีคลินิกก้าวทัดเทียมแพทย์รัฐบาลในระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อชื่อเสียงของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่สมัยคุณพ่อประสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์ ด้วยความเมตตากรุณาแก่พวกเราเสมอมา รวมถึงเพื่อชื่อเสียงและคุณภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิตเองทั้งสิ้น

จะเป็นไปดั่งความมั่นใจของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ยืนยันกับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ดังพาดหัวข่าวว่า

“ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์”

RetouchDSC_0063

ResizeDSC_0072

RetouchDSC_0033RetouchDSC_0050

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: การชุมนุม, ข่าวดัง, จดหมายร้องเรียน, นักศึกษาแพทย์, ประท้วง, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัญหาคุณภาพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ร้องเรียน, รังสิต, รุ่นพี่, อาทิตย์, แพทยศาสตร์, แพทยสภา, แพทย์, แพทย์รังสิต

What is mednight? MEDNIGHT2007 is great!!!

November 15, 2007 by Gla 10 Comments
เป็นโอกาสดีอีกครา ที่ได้ร่วมงาน MEDNIGHT 2007

SL706157-resized

งาน MEDNIGHT หรือเรียกว่างานแพทยศาสตร์สัมพันธ์ นี้ คืออะไรหรือ?
…งาน MEDNIGHT ถ้าเป็นในสถาบันแพทย์อื่นๆ คงเรียกว่า งานแต๊งก์พี่
คืองานที่รุ่นน้องปี1 ในแต่ละปีนั้น ต้องจัดขึ้นเป็นประเพณี เพื่อขอบคุณรุ่นพี่ที่ได้ต้อนรับน้องๆเข้ามาอยู่ในวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แห่งนี้
เนื่องด้วยว่าที่ผ่านมารุ่นพี่ทั้งในพรีคลินิก คือ ปี2,ปี3 และภาคคลินิก ปี4-5 มีกิจกรรมต้อนรับรุ่นน้อง และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ทั้งหลาย ให้แก่น้องๆ มาเป็นเวลาเกือบปีแล้ว
ทั้งกิจกรรมช่วงรับน้อง กิจกรรมปฐมนิเทศน์ การดูแลแนะแนวน้องๆต่าง การจัดค่ายให้น้องๆ(ค่ายพันธกิจทางการแพทย์ หรือค่ายพาน้องๆไปเที่ยวนั้นเอง) งานกีฬา การแสดงต่างๆ พิธีมอบเข็มวิทยาลัย พิธีบายศรีสู่ขวัญ ฯลฯ
*งานทั้งหลายทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ ส่วนใหญ่ข้าพเจ้าเขียนในblog หลายๆตอนที่ผ่านมาครับ หากสนใจ สามารถกลับไปอ่านตอนเก่าๆได้ตามอัธยาศัยครับ
งาน MEDNIGHT นี้ จึงเปรียบเสมือนกับการจัดงานตอบแทนคุณรุ่นพี่นั่นเอง
แรกเริ่มเดิมที งานMEDNIGHT ถูกจัดขึ้น เมื่อประมาณ 11 ปีก่อน
ริเริ่มโดยพี่ๆรุ่น8 (ปัจจุบัน งานล่าสุดถูกจัดขึ้นโดยน้องๆปีหนึ่งรุ่น19)
ทั้งนี้ ในสมัยนั้น คณะแพทย์ยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง และคณาจารย์ทั้งหลาย
จุดประสงค์แรกเริ่มจึงเป็นการจัดเพื่อให้มีการพบปะสังสรรค์ และเกิดความรัก ความสามัคคีกัน
โดยงานสมัยแรก ไม่ได้หรูหราอลังการเหมือนในยุคปัจจุบัน ที่ใช้เงินในการจัดงานมากเป็นแสนๆบาท (และก็ถูกคณบดีสุดที่รักของนักศึกษาแพทย์ – ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร ดุด่า ต่อว่ามาโดยตลอด ว่าฟุ่มเฟือย แต่ในปีหลังๆนี้ ด้วยความรักนักศึกษาแพทย์ กลัวจะเสียเงินกันมาก ท่านจึงช่วยเหลือจัดงบประมาณให้ทุกปี ปีล่ะ70,000บาท)
งานMEDNIGHTทุกปี จะต้องมีสโลแกน หรือ CONcept
สมัย ปี 2548 CONcept “COLORFUL”
 

สมัย ปี 2549 CONcept “MAsK Festival”
ในปีนี้ ConCept ของงาน  คือ “ANgel & Demon” เทวดา และ ปีศาจ
คอนเซ็ปท์ในแต่ละปีนั้น จะบ่งบอกถึงการแต่งกายของผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะหากเป็นรุ่นพี่แล้ว ควรจะพยายามแต่งตัวให้เข้าคอนเซ็ปท์ที่น้องๆตั้งเอาไว้
แต่ก็จะมีรุ่นพี่หลายๆคน ที่เพียงเพราะอยากทานอาหารฟรี หรือหลายๆท่านติดธรุ มาไม่ได้ก็มีอยู่มาก โดยเฉพาะฝั่งคลินิก ที่ต้องอยู่เวร อยู่วอร์ด ราวด์กัน วุ่นวาย
สำหรับข้าพเจ้า ปีนี้เป็นปีแรกที่ข้าพเจ้าได้แต่งกายตามใจตนเองสักที และพยายามแต่งเป็นเทวดา ไม่รู้จะทำได้ดีสักเท่าไร ต้องลองชมรูปดูกันนะครับ

SL706155

ที่ว่าแต่งกายตามใจตนเองได้เป็นปีแรก ก็เนื่องจาก สองปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าต้องมีการแสดงหรือภารกิจหน้าที่ที่จะต้องทำ
-สมัยปี2548ข้าพเจ้าก็ต้องแต่งกายเพื่อแสดงละครเวที และแต่งชุดนักดนตรีเพื่อเล่นเบสในนามวงLiMuZin
-ส่วนในปี2549ข้าพเจ้าก็เล่นดนตรีเช่นเคย จึงแต่งชุดนักดนตรีและใส่หน้ากากลิง ตามConCepTของงาน
DSC09004-edit<<<ปีหนึ่ง(แต่เวลาเล่นดนตรีจริง ใส่ชุดวงLimuzinครับ)
SL704006-edit<<<ปีสอง หน้ากากลิง เจี๊ยกๆ
ปีนี้ข้าพเจ้าจึงยินดี และดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้แต่งตัวตามใจตนเอง โดยได้ไปสรรหาเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ตามแหล่งห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในราคาไม่แพงนัก
แม้ว่าปีนี้จะได้แต่งตัวตามใจตนเอง แต่ก็มีภารกิจและหน้าที่ที่ทำในงานอยู่บ้างเช่นกัน อาทิเช่นในเรื่องพิธีการ หรือว่าการบอกคิวและเสนอแนะน้องๆผู้จัดงานไม่ให้ขาดตกบกพร้องในเรื่องต่างๆ
ปีนี้ มีรุ่นพี่ ศิษย์เก่า มาร่วมงานกันจำนวนไม่มาก แต่ว่าบุคคลสำคัญที่น้องๆอยากให้มา ก็ได้มา
และมี นพ.สมมนตร์ จินดากุล แพทย์ปักษ์ใต้ วีรบุรุษสึนามิ MED8 มาร่วมงาน ได้เล่าถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งแรกที่รุ่นเขาจัดงานMEDNIGHTขึ้น
อีกคน ที่ พี่ๆน้องๆนักศึกษาแพทย์ รักกันมาก คือ พญ.สุนิดา ริ้วสุวรรณ (พี่หมอหน่อย) ท่านเป็นอาจารย์แพทย์สอนพยาธิวิทยาให้แก่ภาคพรีคลินิกอีกด้วย ก็มาร่วมกล่าว เล่าประสบการณ์
แต่ท่านยังไม่อยากพูดมากสักเท่าไร เพราะกลัวจะหลุดมาดดุ และเข้ม เจ้าระเบียบ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์รุ่นน้องทุกคนเจริญรอยเป็นแพทย์ที่ดีมีระเบียบวินัย
งานส่วนใหญ่ จะเป็นการแสดงบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน ทั้งการทำหนังสั้น คลิปวิดีโอเฮฮา ตลกขบขัน
ปีนี้มีการแสดงละครเวทีจีนสนุกๆ อีกด้วย
และที่สำคัญที่เป็นประเพณีของ MEDNIGHT เลย ก็คือ การประกวด MISS MED
คือการบังคับให้น้องผู้ชายแท้ๆ มาแต่งตัวเป็นผู้หญิงและแสดงความเป็นผู้หญิง ให้สวยงามที่สุด และประกวดเพื่อหาผู้ชนะเลิศเป็น MISS MED
การประกวด MISS MED นี้จะเป็นที่ลุ้นของรุ่นพี่ ว่าน้องๆคนใดจะเป็นผู้เข้าร่วมประกวดบ้าง
และทุกปี รุ่นพี่จะพูดแกมบังคับ ล็อคคนหล่อๆ หน้าตาดีไว้ก่อน เพื่อมาแต่งเป็นผู้หญิง ให้สนุกสนาน น่ารัก
แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างหนึ่งว่า ระยะหลังนี้ ตั้งแต่รุ่นข้าพเจ้ามา รู้สึกว่าจะมีการผิดกฎระเบียบการประกวด
กล่าวคือ เอาผู้ชายเทียมมาแต่งหญิงเข้าประกวด ฮา ยิ้มแฉ่ง เป็นที่สนุกสนานกัน
SL706214<<<ภาพนี้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร เสื้อแดง คือ MISS MED ปีที่แล้ว มีพิธีการมอบตำแหน่งให้แก่ MISS MED รุ่น19นี้ คือคนเสื้อขาว ที่สองจากขวามือ ส่วนคนกลางที่งามเป็นนางงามนั้นคือพิธีกร (ชมภาพความงามแต่ละคนได้ในอัลบัมภาพนะครับ)
คนที่มาร่วมงานส่วนใหญ่นั้น มักจะชอบถ่ายรูปกันมากครับ ตอนหลัง งานที่จัดขึ้น จึงต้องมีฉากหรูๆ ไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ถ่ายรูป โดยเฉพาะ
และฉากในปีนี้ ก็ทำเป็นทั้งฉากดินแดนสวรรค์ และฉากมืดทมึนเท่ห์ๆครับ (ดูได้ที่อัลบัมภาพ)
นอกจากนี้ ปีนี้ ก็ไม่พลาด มีการแสดงวงดนตรีของรุ่นน้องปีรวมกับปีสองด้วยความสนุกสนาน (มือกลองเป็นผู้หญิงด้วย ตีเก่งมาก)
SL706203
โดยสรุปภาพรวมงานปีนี้ น้องๆก็ตั้งใจจัดงานกันออกมาได้เลิศหรู อลังการ และด้วยคอนเซ็ปท์ดังกล่าว ผู้ทีเข้าร่วมงานส่วนใหญ่จึงแต่งกายได้ดูมีสีสัน และสวยงามกันมาก
และงานปีนี้ เริ่ม-เลิกงานได้เร็ว ตรงเวลาครับ (เลิกงานสี่ทุ่มครึ่ง ปกติทุกปีเลิกงานเกือบตีหนึ่ง)
แม้ว่าจะมีความผิดพลาด และอุปสรรคบ้าง ก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ (และยอมรับคำแนะนำของพี่ๆ)

 

 

ทั้งนี้ หากผู้ใดสนใจ สามารถดูรูปอดีตงาน MEDNIGHT ย้อนหลัง ได้ ตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ
ภาพ MEDNIGHT 2006 ได้ที่ http://ginfreeces.spaces.live.com/photos/cns!523455B1DFF1E65A!2557/
ภาพ MEDNIGHT 2005 ได้ที่ http://ginfreeces.spaces.live.com/photos/cns!523455B1DFF1E65A!2375/
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณน้องๆปีหนึ่งมากครับ ที่ได้จัดงานให้แก่พี่ๆ ด้วยความตั้งใจ และเหน็ดเหนื่อย อดทน
พี่ๆมีความสุขมากครับ
และยินดีมากครับ ที่น้องปีสอง เพื่อนๆปีสาม พี่ๆคลินิก รวมถึงศิษย์เก่านั้น มาร่วมสนุกกันในปีนี้
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน ท่านคณบดีบุญเชียร(อาจารย์หมอพระแม่ผู้สนับสนุนงบประมาณและดูแลพวกเราเสมือนลูกมาโดยตลอด)
และขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ร่วมจัดงาน ร้านพี่โบ้ทเครื่องเสียง ฯลฯ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ปล.ช่วงหลังๆนี้ หลายๆท่านสอบถามมาว่าทำไมถึงไม่ค่อยจะอัพเดทblogสักเท่าไร ก็ขอชี้แจงว่าด้วยภารกิจการเรียนหนัก ,ภารกิจกิจกรรมของทางวิทยาลัยทั้งหลาย, การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย,ดูแล ช่วยเหลือ ยุ่งวุ่นวายกับปัญหาในวิทยาลัย และรุ่นต่างๆ, และส่วนร่วมการเมืองภาคมหาวิทยาลัย การเมืองระดับชาติอีกด้วย
ดังที่กล่าวมาซะเวอร์ใหญ่โตมโหฬาร(แต่เป็นความจริง) จึงทำให้การคิดจะเขียน blog แต่ละตอนซึ่งใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และคุ้มค่า รวมถึงการเสียเวลาเขียนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนอัลบัมภาพ ก็จะอัพเดทอยู่บ่อยๆอยู่แล้ว หากมีรูปหรือเรื่องราวน่าสนใจ เกี่ยวกับ “ชีวิตของข้าพเจ้า… และโลกใบนี้”
Posted in: ไม่มีหมวดหมู่ Tagged: 2007, 2550, mednight, กรมการแพทย์, กิจกรรม, ค่ำคืน, นักศึกษาแพทย์, มหาวิทยาลัยรังสิต

เข็มสัมพันธ์ครั้งที่ 21- ความประทับใจที่ไม่รู้ลืม ความร้อนระอุ และยุงโหดร้ายชุกชุม

October 27, 2007 by Gla 7 Comments
ผ่านกันไป สำหรับ งานกีฬาเข็มสัมพันธ์ ครั้งที่ 21
วันที่ 19-21 ตุลาคม 2550

Logo เข็มสัมพันธ์ ครั้งที่ 21 ปีนี้ 2550

งานกีฬาเข็มสัมพันธ์ เป็นงานกีฬาที่นักศึกษาแพทย์จากทุกสถาบัน ร่วมกับ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) จะร่วมกันจัดขึ้นปีละครั้ง
โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนแต่ละสถาบันเป็นเจ้าภาพ
แต่เดิม งานกีฬานี้ จัดขึ้นในตอนเริ่มแรก โดยมีชื่อเรียกว่า งานกีฬาเก้าเข็มฯ ต่อมา ก็เพิ่มเข็มขึ้นตามจำนวนสถาบันแพทย์ เป็นงานกีฬาสิบสามเข็มฯ
และเพิ่งจะมาเปลี่ยนอีกครั้งในปีล่าสุด เนื่องจากมีสถาบันแพทย์เปิดใหม่เพิ่มอีก 4 ที่ ด้วยความที่เกรงว่าจะเป็นยี่สิบสามสิบเข็มสัมพันธ์ จะไล่ชื่อกันไม่ไหว จึงใช้ชื่อว่า งานกีฬาเข็มสัมพันธ์ แทน
ในปีนี้ เจ้าภาพ หากผู้อ่านเป็นนักศึกษาแพทย์ คงจะทราบกันดีว่า คือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)
ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว นับว่านิสิตแพทย์ทั้งหลายประสานงานกันจัดงานได้ออกมา ถือว่าดี และไม่น้อยหน้าเจ้าภาพสถาบันอื่นในอดีตแต่อย่างใด (ทั้งนี้ต้องเข้าใจพื้นฐาน ว่า แพทย์ มศว. ปี1ของเขา เรียนแยกกับปี2-3 และเรียนแยกกับภาคคลินิกคือปี4-5-6 และอยู่ห่างกันมาก)
รวมถึงปีนี้ ทางเจ้าภาพประชาสัมพันธ์ข้อมูลได้ดีมาตั้งแต่ก่อนจะถึงงานกีฬา ผ่านเว็บไซต์อย่างสวยงาม ลองเข้าไปเยี่ยมชมได้ครับ
http://www.medicine.swu.ac.th/webmed/syringegame/index.html

 

SL706135

อันนี้คือ Mascot ของงานกีฬาเข็มสัมพันธ์ปีนี้ NagaDoc (มาจาก Naga(พญานาค)+Doc(Doctor))
และเจ้าภาพหัวใส ทำเป็นตุ๊กตาที่ระลึกขายตัวละ 250B ขายหมดเกลี้ยง

ข้าพเจ้าเข้าร่วมงานกีฬาเข็มสัมพันธ์ มาทุกปี ตั้งแต่เป็นน้องใหม่เข้าปี1 จนถึงบัดนี้ สังขารเริ่มร่วงโรย เป็นปี3 พี่ใหญ่ของพรีคลินิก และกำลังจะขึ้นปี4 ในเวลาอันไม่ใกล้ไม่ไกล
สมัยข้าพเจ้าอยู่ปี1 เจ้าภาพจัดงานกีฬาฯคือ ธรรมศาสตร์
สมัยปี2 เจ้าภาพคือเชียงใหม่ ข้าพเจ้ายังจำได้ดีถึงการที่แพทย์หลากหลายสถาบันที่อยู่ในกรุงเทพฯ เหมาขบวนรถไฟชั้นสามทั้งขบวน จากกรุงเทพ ไปเชียงใหม่ ปีที่แล้วเป็นปีที่เหนื่อยกับการเดินทางมาก และกล้องถ่ายรูปของข้าพเจ้าตอนนั้นก็เสีย ทำให้ไม่ได้เก็บภาพงดงามตระการตา ของจาวเจียงใหม่ มาฝากเพื่อนเลยเน้อ
ในสเปซจึงมีอัลบัมภาพถ่ายจากแค่ ตอนสมัย ธรรมศาสตร์ และในปีนี้เท่านั้น
งานกีฬาเข็มสัมพันธ์ นอกจากจะเป็นการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีเน้นกิจกรรมภาคกลางคืน และการแสดงสวยๆงามๆ แข่งกันโชว์ความอลังการงานสร้าง มาโดยตลอด
กล่าวคือ จะมีพิธีเปิดปิด รวมถึงการแสดงต่างๆ ที่งดงาม อลังการ ระดับสากล (แม้ว่าจะไม่เคยมีสื่อทีวีมาถ่ายทอดสดก็ตาม)
ในส่วนของการแข่งขันกีฬา ทุกๆปีจะมีการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท และขึ้นอยู่กับเจ้าภาพเป็นผู้กำหนด
ปีนี้ ก็แข่งขันกันหลายอย่าง ตั้งแต่ ฟุตบอล บาสเกตบอล แชร์บอล วอลเลย์บอล ปิงปอง เทนนิส แบดมินตัน เปตอง ว่ายน้ำ กรีฑา ฯลฯ
จริงๆแล้วตอนแรก เป็นที่ฮือฮามาก เพราะเจ้าภาพ มศว. จะจัดให้มีการแข่งขันตีกอล์ฟ และฟุตซอลล์ ในปีนี้
ปรากฏว่าในท้ายที่สุดก็ได้ตัดออกไป (สงสัยจะไม่ค่อยมีคนตีกอล์ฟกัน)
และสำคัญ คือทุกปี มีงานกลางคืน (งานไนท์) และกิจกรรมภาคกลางคืน มีอาหารให้เลือกรับประทานเป็นบู้ท มากมายหลากหลายชนิด หรืออาจเป็นโต๊ะจีนก็แล้วแต่วัน และแล้วแต่เจ้าภาพ
ยังรำลึกได้ดี กับปีที่แล้ว ที่เชียงใหม่ เจ้าภาพเลี้ยงขันโตกด้วย ในงานไนท์คืนที่สอง
และจะมีการแสดงสวยสดงดงาม และเฮฮา สนุกสนาน
ในปีนี้ ความประทับใจสำหรับงานกีฬาเข็มสัมพันธ์ ครั้งที่ 21 ในปีนี้
น่าจะอยู่ที่การแสดงที่เน้นวัฒนธรรมไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีการแต่งกาย และการแสดงฟ้อนรำ ที่งดงาม (มีเซิ้งด้วย)
มีวิดีทัศน์สนุกสนาน และเฮฮา ทั้งจากเจ้าภาพ และการแสดงจากสถาบันที่เปิดใหม่สี่สถาบัน(ปีนี้ไม่ได้ให้ทุกสถาบันส่งการแสดงเหมือนปีก่อนๆ)
และมันส์สุดเร้าอารมณ์ กับวงดนตรี ซึ่งปีนี้ ยอมรับว่าเจ้าภาพ มศว. นั้นเน้นงานไนท์มาก และจัดเป็นการประกวดดนตรีกันเลยทีเดียว ประกวดกันทั้งวัน ในวันแรก เพื่อหาวงสุดยอด สี่วงไปเล่นในงานไนท์คืนแรกเช่นกัน
ข้าพเจ้าระเบิดความมันส์สุดยอด ในตอนกลางคืน
มีเรื่องน่าเสียดายสำหรับคนไม่ได้ไป นั่นคือข้าพเจ้าว่าปีนี้ ถื่นเจ้าภาพ สาวๆ สวยๆ น่ารักเยอะสุดแล้วล่ะครับ ยิ้มแฉ่ง
และสำหรับสาวๆจะน้อยใจกัน หนุ่มๆหน้าตาดีนั้น ก็คงต้องยกให้รามาฯ เพราะปีนี้ขนนักร้องหน้าตาดี และคนดูดีมาร่วมงานกันเพียบ
(ลองไปดูอัลบัมภาพได้นะครับ)
สำหรับอุปสรรค และสิ่งที่ทำให้ลำบาก ท้อใจมาก กับงานกีฬาครั้งนี้ ก็มีอยู่บ้าง
ที่หนักหนาสาหัสที่สุดสองอย่าง ทุกคนน่าจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คือ เรื่อง ความร้อน และเรื่อง ยุง
ได้ยินคำเล่าลือจากเว็บเจ้าภาพก่อนไป ว่า ยุงดุสุดๆ ขนาดว่ากัดทะลุยีนส์ได้
และก็ไม่น้อยไปกว่าคำเล่าลือ ยุงที่นี่กัดทะลุเสื้อผ้า และทะลุกางเกงในได้สบาย…!!!
แล้วยุงที่ มศว. องครักษ์นี้ยังแปลกอีกต่างหาก คือกัดแล้วไม่ปล่อย ไม่ว่าเราจะพยายามเอามืดไล่ หรือสะบัดแขนไล่ยุง ยุงก็ไม่บินหนี
เป็นความทรมานมาก เพราะขนาดยาทากันยุง ยาจุดกันยุงก็ไม่สามารถห้ามทัพยุงได้
นอกจากนี้ ยังมีแมลงจำนวนมหาศาลที่เข้ามารุกรานผู้คนตลอดเวลา
โต๊ะจีน ในคืนที่สอง หากใครไม่สังเกตุให้ดี ก็กินแมลงไปกันไม่ถ้วน
อากาศก็ร้อนแสนสาหัสเหมือนอยู่ท่ามกลางทะเลทรายซาฮาร่า ทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืน
หอพัก แม้ว่าจะดูเฟอร์นิเจอร์เก่าและชำรุดอยู่บ้าง ก็ไม่มีปัญหา แต่ที่ทำให้เหนื่อยมาก คือเป็นห้องพัดลม(มีอยู่ตัวเดียว ไม่ทั่วถึง) และอากาศที่ร้อน ทำให้หลายๆคนนอนกันเป็นศพขึ้นอืดได้ทีเดียว
ดังนั้น หลังจากกลับมาจากงานกีฬาเข็มสัมพันธ์ ข้าพเจ้านอนซม สองวัน ด้วยอาการคันคะเยอทั้งตัว ตุ่มขึ้นทั้งตัว ภูมิแพ้กำเริบหนัก
ท้องเสีย เป็นไข้ เป็นหวัดอีกต่างหาก!!!ร้องไห้
หลังจากนั้น วันที่ 24 ตุลาคมก็มีสอบ Pathology ครั้งแรก ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ได้อ่านไปสอบเลย และก็ได้ผลกรรมจากความขี้เกียจ คือทำข้อสอบไม่ได้ เศร้าแท้ T_T
ประกาศผลรางวัลชนะเลิศ ถ้วยทอง และเหรียญทอง
สำหรับสถาบันข้าพเจ้าเองนั้น ปีนี้ รู้สึกจะไม่ค่อยได้เหรียญ กีฬาอะไรกับเขาเลยสักเท่าไร
การแข่งขันกีฬาหลายประเภท ก็เป็นการแข่งเล่นๆ สนุกสนาน ผิดกับหลายสถาบันที่ทำกันจริงจัง และมีชมรมกีฬาประเภทนั้นๆเลย (เช่น ม.ขอนแก่น นักวอลเลย์บอลอาชีพ และเพศทางเลือก มากมาย น่ากลัวดีแท้ หรืออย่าง มศว. ลงทุนจ้างโค้ชมาฝึกสอนนักฟุตบอลกันอย่างจริงจัง เป็นเดือนๆก่อนแข่งจริง)
ส่วนหนึ่งที่ได้ผลรางวัลดีก็เพราะว่า สถาบันเหล่านั้น รับนักศึกษาแพทย์เข้าเรียนต่อปี เป็นจำนวนมาก อย่าง ขอนแก่น หรือ เชียงใหม่ ก็รุ่นหนึ่งๆ ประมาณ 300 คน (ถ้าเทียบกับสถาบันข้าพเจ้าแล้ว มีแค่ชั้นปีละประมาณร้อยคนเอง)
ปีนี้ถ้วยพระราชทานกีฬารวม เป็นของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
และเป็นการแข่งขันคู่ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศที่มันส์ และสนุกสนานมาก ระหว่างศิริราชกับ มศว. (ดูได้ที่อัลบัมภาพ)
มาย้อนมองสถาบันตัวเอง เป็นที่ภาคภูมิใจ ว่านักศึกษาแพทย์รังสิต อาจแพ้ที่อื่นๆทั้งในด้านกีฬา หรือด้านวิชาการพรีคลินิก(คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต คุณภาพการเรียนการสอนมีปัญหา)
แต่ด้านการจัดการมวลชน การก่อม็อบ ไม่แพ้ใคร!!! (ว่างๆใครที่ยังไม่รู้ อยากรู้จะเล่าให้ฟัง ถึงการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของนักศึกษาแพทย์รังสิต ท่ามกลางการบริหารงานที่มีปัญหาของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งนี้)
ลืมบอกไปว่า ปีนี้ สถาบันข้าพเจ้า มีที่เชิดหน้าชูตา คือ เรื่องการประกวดขวัญใจเข็มสัมพันธ์ ที่รังสิตได้รางวัลขวัญใจ ชนะเลิศ ทั้งชาย และหญิง รวมถึง ได้รับรางวัล Popular Vote อีกด้วย
ขอปรบมือให้ แปะ แปะ (ในวันงานก็ตะโกนดีใจ กระโดดโลดเต้นไปเยอะแล้วครับ)
เข็มสัมพันธ์ปีนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หยาดเหงื่อ รอยผิวไหม้ และผื่นคัน อย่างคุ้มค่าครับ
ผ่านมา3ปี มองความหลัง ข้าพเจ้าร่วมงานทีไร ก็เข้าร่วมอย่างเต็มเวลาเสมอ (ถ้ามีเบี้ยเลี้ยง คงได้ค่าล่วงเวลา) คือแม้จะไม่ได้แข่งขันกีฬาอะไรสักเท่าไร แต่ทว่าก็อยู่ตลอดงาน
ทั้งทำในส่วนช่วยเชียร์เป็นกำลังใจ ช่วยแบกน้ำ แบกข้าวของ และช่วยดูแลนักกีฬา หรือน้องๆ
ปีนี้ข้าพเจ้าค่อนข้างจะรู้สึกน้อยใจอยู่บ้างที่ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ สถาบันของข้าพเจ้า มาเข้าร่วมงานกีฬาเข็มสัมพันธ์กันน้อย
ทั้งที่จัดที่ มศว.องครักษ์ นครนายก ที่ไม่ได้ไกลมาก
และปีนี้ เป็นปีที่ น้องใหม่ปีหนึ่ง ไม่ยอมมางานกัน ก็น่าเศร้าใจ เพราะว่าปกติแล้วแต่ละปี กำลังหลักที่มาร่วมงานก็คือปีหนึ่ง เพื่อมาเปิดโลกทัศน์ และทำให้ได้รู้จักเพื่อนๆร่วมวงการแพทย์ ที่จะสร้างสรรค์สาธารณสุขไทยให้ดีขึ้นในอนาคต
…ก็เลยขอแอบบ่นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าพเจ้าเอง ไปงานนี้ก็ไม่ผิดคาด ก็ได้เจอเพื่อนเก่าแก่ เพื่อนๆที่น่ารัก กันหลายคนอยู่ แม้ว่าจำนวนจะน้อยลงจากปีก่อนๆ เนื่องจากเมื่อเพื่อนๆแพทย์ขึ้นปีสูงขึ้น แล้วก็ห่างเหินจากกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
และก็ต้อง ขอขอบคุณ เจ้าภาพ และทีมงานจัดงานทุกคน มา ณ ที่นี้ ที่ได้สร้างสรรค์งานดีดีมีความสุขร่วมกัน ของนิสิตนักศึกษาแพทย์ทุกสถาบัน มาร่วมทำกิจกรรมดีดีร่วมกัน และรู้จักการเล่นกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ได้เห็นอะไรดีดี สวยๆงามๆ มากมาย ยิ้มแฉ่ง
ขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่อยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ ในงานนี้ หลายๆคนทนลำบาก ปาดหยาดเหงื่อ และอดทน จนจบงาน เพื่อสถาบันของเรา
ขอขอบคุณคณาจารย์ที่ดูแลพวกเรา อ.สุเทพ มงคลเลิศลพ (รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายกิจการนักศึกษา) ,ศ.คลินิก พญ.ประไพพรรณ ศุภจัตุรัส (รองคณบดีแพทย์รังสิต) และ อ.วันเพ็ญ อิ่มเอิบสิน ซึ่งคอยดูแลพวกเรามาโดยตลอด
รวมถึง ขอขอบคุณ อาจารย์แม่ของนักศึกษาแพทย์รังสิต ศ.คลินิก พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล คณบดีสุดที่รักของพวกเรา ที่แม้ครั้งนี้ท่านจะวุ่นวาย ติดภารกิจประชุม และสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก ท่านก็ส่งกำลังใจมาให้พวกเราเสมอ
และช่วยการอนุมัติงบประมาณสนับสนุน ทั้งในส่วนอุปกรณ์ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ทำให้พวกเราฟรีสบายตลอดงาน

 


สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดีย้อนหลังกับผลการสอบใบประกอบขั้นที่ 1 รอบเดือนตุลาคม ที่แพทย์รังสิตได้ เพิ่มขึ้น เป็น 38% ก้าวกระโดดจากปกติที่ได้แค่ปีละไม่ถึง10%
ส่วนผลใบประกอบขั้นที่ 2 ก็ขอแสดงความยินดีอีกครั้ง ที่ได้ถึง 99% (ปีก่อน 96%) จัดว่าทำลายสถิติกันเลยทีเดียว
แสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือจากทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่ อาจารย์บุญเชียรได้จัดติวพิเศษ เพื่อสอบใบประกอบขั้นที่1 มาโดยตลอด และทำให้สถิติดีขึ้นเป็นอย่างมาก
แม้ว่าพรีคลินิก การบริหารโดยคณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตที่มีอำนาจดูแล นศพ.พรีคลินิก จะจัดคุณภาพการเรียนไม่ได้มาตรฐาน และยังมีปัญหาภายในอย่างมากมาย
คณบดีวิทยาศาสตร์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ค่อยดูแลพรีคลินิกพวกเราเท่าไร ทั้งที่โดยหน้าที่และอำนาจจัดการพวกเราทุกอย่าง มหาวิทยาลัยรับเงินจากเราปีล่ะร้อยล้านบาท
แต่ท่านได้ประกาศชัดว่าการดูแลนักศึกษาแพทย์ไม่ใช่หน้าที่ของอาจารย์คณะวิทย์ พรีคลินิกแพทย์จึงไม่เคยพัฒนา
แต่ด้วยการสนับสนุน อาจารย์แพทย์ช่วยนักศึกษาแพทย์(แม้จะถูกทางฝั่งมหาวิทยาลัยหาว่า ก้าวก่ายการบริหารพรีคลินิก)
พิสูจน์ให้เห็นว่าเราแพทย์เอกชนก็มีศักยภาพภายใน และแรงผลักดันที่จะเป็นแพทย์ที่เก่งทางด้านวิชาการมากขึ้น และเจริญเติบโตไปเป็นหมอที่ดูแลรักษาคนไข้ได้เก่งไม่แพ้แพทย์รัฐบาลใดใดในประเทศ
ขอเป็นกำลังใจให้นักศึกษาแพทย์ทุกคน ที่มีต้นแบบอาจารย์หมอ คุณครูผู้เสียสละ เก่ง ดี มีคุณธรรม ได้เจริญตามรอยที่ดี
ขยันตั้งใจเรียน และนอกจากจะเพื่อไปเป็นหมอที่ดีแล้ว ยังเป็นคนที่ดีอีกด้วย
แม้ว่าจะมีอุปสรรคอันมากมาย ขอก็ให้ร่วมกัน สามัคคีกันฝ่าฟันทุกสิ่งไปให้ได้
นี่แหละความเป็นสถาบัน ของพวกเรา ไม่ได้อยู่ที่เจ้าของมหาวิทยาลัย(ที่ไม่ใส่ใจพวกเรา ห่วงแต่กระเป๋าเงิน) ไม่ได้อยู่ที่คณบดีวิทยาศาสตร์ แต่อยู่ที่ใจของพวกเราเอง
และขอขอบคุณคณาจารย์ทั้งคณะวิทย์และแพทย์ทุกท่านที่คอยช่วยเหลือ ดูแลพวกเรามาโดยตลอดครับ
“อุปสรรคทำให้คนเป็นคน”
เพราะรู้ซึ้งถึงความยากลำบากของสภาพแวดล้อมในตอนนี้ จึงเป็นแรงผลักดันให้หลายๆคนตั้งมั่น ตั้งใจ พยายามอย่างเต็มที่ ไปสู่จุดหมายชีวิตของตน

 

Posted in: ไม่มีหมวดหมู่ Tagged: 2550, ครั้งที่ 21, งานกีฬา, นักศึกษาแพทย์, มศว, ยิ่งใหญ่, เข็มสัมพันธ์

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.