• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

รังสิต

เล่าประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง รังสิต 3 ตุลา 57 ครับ

October 4, 2014 by Gla Leave a Comment

[เขียนถึงเพื่อนแพทย์ และพี่น้อง ม.รังสิต ครับ]

ยาวนะครับ แต่ ขอบันทึกไว้เป็นรอยในประวัติศาสตร์…

พี่น้อง หลายๆท่านร่วมยุคเดียวกัน (รังสิตรุ่น 14 – 21, ส่วนผมเอง รุ่น 17) คงพอทราบว่า…นักศึกษาแพทย์ ม.รังสิต นั้น มีส่วนในการผลักดันหลายๆอย่างให้แก่คณะ สมัยที่เรียนอยู่ เพราะตอนเรียนนั้นมีอุปสรรคเกิดขึ้นมาก ความรักในสถาบันผลักดันให้เราทำครับ…

เราผลักดัน ตั้งแต่เรื่องการ พัฒนาหลักสูตรนักศึกษาแพทย์ใหม่ การเพิ่มทรัพยากร อุปกรณ์ การเพิ่มอาจารย์ เพิ่มอาจารย์ใหญ่ตลอดจนการสร้างตึกคณะแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต สำเร็จในปัจจุบัน เป็นเพราะแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายๆท่าน และคณบดีท่านก่อน (พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล) ที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องหนึงที่สำคัญมาก เลย คือเรื่องการได้ไปใช้ทุน (หรือโครงการเพิ่มพูนทักษะ) ไปใช้ทุนตามต่างจังหวัด

ในสมัยปี 2553-2554 นั้น เราถูกตัดสิทธิ์ ไม่ได้ให้เข้าจับฉลาก เนื่องจากตำแหน่งที่ กพ.(ข้าราชการพลเรือน) ให้ทางกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงพอ มีการจะกีดกันไม่ให้แพทย์ที่จบจากรังสิต ได้จับฉลาก

หากไม่ได้จับฉลากไปใช้ทุน ก็จะลำบาก เพราะเราต่างมุ่งหมายใบเพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อไว้ใช้เรียนต่อแพทย์ประจำบ้าน สาขาต่างๆ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, รังสิต, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: กรรมการ, คณะแพทย์รังสิต, ชัญวลี ศรีสุโข, ชุมนุม, นักศึกษาแพทย์, รังสิต, ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, แพทยสภา

เยี่ยมพระนนท์ 15เมษายน 2557

April 15, 2014 by Gla Leave a Comment

วันนี้ (15เมย57) ได้ไปกราบพระนนท์ เพื่อนสนิท (นพ.นนทพันธ์ นาคแนวดี – ว่าที่แพทย์ประจำบ้านอายุรกรรม, อดีตผู้อภิวัฒน์รังสิต’48-54) ที่วัดด่านสำโรง

ท่านได้พาเดินชมวัด ชมคลอง เล่าประวัติความเป็นมาของวัดเก่าแก่แห่งนี้ และสนทนาธรรมกัน

ฟังท่านแสดงธรรมประมาณชั่วโมงครึ่ง จุดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาวพุทธและนำมาเล่าสู่กันฟัง

หลายคน ทุกวันนี้ ไม่รู้จุดมุ่งหมายชีวิต อยู่ไปทำไม ไร้จุดหมาย จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ นานแล้ว ถึง จุดหมาย 3 ขั้น (อัตถะ) ดังนี้

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ส่วนตัว Tagged: นนทพันธ์, นาคแนวดี, ผู้อภิวัฒน์รังสิต, รังสิต, อายุรกรรม, อายุรแพทย์

ความสำเร็จแพทย์รังสิตกับการบรรจุราชการ 2554

September 11, 2011 by Gla 2 Comments

การต่อสู้เพื่อการบรรจุราชการของแพทย์รังสิต โดย ชเนษฎ์และเพื่อนๆ

การต่อสู้เพื่อการบรรจุราชการของแพทย์รังสิต โดย ชเนษฎ์และเพื่อนๆ

ความสำเร็จแพทย์รังสิตกับการบรรจุราชการ 2554

ชเนษฎ์ ศรีสุโข : bloggla.com

การต่อสู้เพื่อการบรรจุราชการของแพทย์รังสิต โดย ชเนษฎ์และเพื่อนๆ

ความสำเร็จแพทย์รังสิตได้บรรจุราชการ ปี 2554

การต่อสู้เพื่อการบรรจุราชการของแพทย์รังสิต โดย ชเนษฎ์และเพื่อนๆ

ความสำเร็จแพทย์รังสิตได้บรรจุราชการ ปี 2554

ในอดีตที่ผ่านมา นักศึกษาแพทย์รังสิต ถูกกีดกันไม่ให้เข้ารับการบรรจุราชการ มีความพยายามไม่ให้เข้าจับฉลากจัดสรรพื้นที่ และสมัครทุนแพทย์พี่เลี้ยงของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท (CPIRD)

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, รังสิต, วงการแพทย์, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: จับฉลาก, นักศึกษา, บุญเชียร ปานเสถียรกุล, ผลักดัน, มหาวิทยาลัยรังสิต, รังสิต, รับราชการ, วารุณี จินารัตน์, ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, สมชัย นิจพาณิช, สุรวิทย์ เตชธุวานันท์, หมอรังสิต, แพทย์, แพทย์รังสิต, ไพจิตร์ วราชิต

ประวัติศาสตร์รังสิต : History of a medical college [Thai]

July 16, 2011 by Gla 3 Comments

เพื่ออรรถรสในการชมควรขยายหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น หรือกดคลิกสองครั้งในจอข้างล่าง


 

 

ประวัติศาสตร์การพัฒนาคณะแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง

การเคลื่อนไหวของนักศึกษาตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี เพื่อการพัฒนาคุณภาพสถาบันที่พวกเขารัก…

จากที่ไม่เคยมีอะไร จนได้มีทั้งหลักสูตร อุปกรณ์ คณาจารย์ สถานที่ และผลการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากยอดผู้สอบผ่าน 10% เป็นอันดับสุดท้ายของประเทศไทย ขึ้นมาในระดับ 60-70% ได้

ทั้งหมดล้วนเพราะการสนับสนุนจาก ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล มารดาผู้รักและเมตตานักศึกษา ผลักดันการเรียน การจัดกิจกรรมวิชาการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สังคมในหลายภาคส่วน การจัดค่ายในชนบท การจัดงานกีฬาในวงการแพทย์ ตลอดจน การคอยแก้ปัญหาต่างๆทั้งเรื่องส่วนรวมขององค์กรและเรื่องเดือดร้อนของนักศึกษา  การผลักดันสิทธิในการจับฉลากเพิ่มพูนทักษะและสมัครแพทย์พี่เลี้ยงร่วมกับแพทย์ของรัฐบาล (ซึ่งต่อมาหลังท่านเสียชีวิตเกิดปัญหาผู้ใหญ่ในภาครัฐตัดสิทธิ์คณะแห่งนี้ทั้งหมด แต่เกิดการผลักดันของนักศึกษาให้จับฉลากได้ในเวลาต่อมา)…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์, สถานการณ์บ้านเมือง, ส่วนตัว Tagged: Boonchian, Rangsit, กรมการแพทย์, การพัฒนา, การศึกษา, คณะแพทย์, จับฉลาก, บุญเชียร, ประวัติศาสตร์, ปานเสถียรกุล, รังสิต, วงการแพทย์, เพิ่มพูนทักษะ, เรียนต่อ, เรื่องจริง, แพทย์พี่เลี้ยง, แพทย์รังสิต, แพทย์เฉพาะทาง

สาธารณสุขกับคนรุ่นใหม่

May 22, 2011 by Gla Leave a Comment

สาธารณสุขกับคนรุ่นใหม่

ลงวารสารปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา ฉบับที่ 23 – เมษายน 2554

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

ฉีกกรอบ

(1)

เดือนก่อนได้รับเชิญให้พูด ออกรายการ “คิดนอกกรอบกับคนรุ่นใหม่” ทางช่อง NBT ครับ http://www.youtube.com/watch?v=VNteNqQc0YU

ทีมงานถามเกี่ยวกับเรื่องปัญหาในระบบสาธารณสุขไทย ว่ามีอะไรบ้าง? เป็นคำถามที่ยากเหมือนกันครับ เพราะคนรู้ปัญหา คนเห็นปัญหามีเยอะ แต่คนที่จะแก้ไข-มีแรงแก้ไข-ยอมต่อสู้ตรากตรำแก้ไข มีจำนวนน้อยกว่า

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, วงการแพทย์, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: คนรุ่นใหม่, นักศึกษาแพทย์, ปัญหา, ระบบ, รังสิต, สัมภาษณ์, สาธารณสุข, แพทย์, โทรทัศน์

ปัญหาสองมาตรฐานในวงการแพทย์ 2553

January 3, 2011 by Gla 1 Comment

ปัญหาสองมาตรฐานในวงการแพทย์ 2553

แพทย์รังสิต 2553

การต่อสู้ของแพทย์รังสิต เพื่อโอกาสการจับฉลากเพิ่มพูนทักษะ

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต และการเคลื่อนไหวภาคนักศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยแพทย์ขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่เป็นสมัยนักศึกษาแพทย์ จนถึงแพทย์ใช้ทุน

เป็น เรื่องจากปก วารสารปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา Demo-crazy.com ฉบับ พฤศจิกายน 2553

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: กระทรวง, การเคลื่อนไหว, คลิป, จับฉลาก, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, รังสิต, วงการ, วิกฤตใหม่, สองมาตรฐาน, สาธารณสุข, อยุติธรรม, เพิ่มพูนทักษะ, แพทย์, แพทย์จบใหม่, แพทย์รังสิต, ใบประกอบ

ปัจฉิมบทมหาวิทยาลัย

December 8, 2010 by Gla 3 Comments

ปัจฉิมบท มหาวิทยาลัย

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com

บทความนี้ ลงในวารสาร Demo-crazy.com เล่ม 21 เดือน กันยายน-ตุลาคม 2553

(1)

ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเป็นวิทยากรบรรยายร่วมกับท่านอาจารย์ นพ.มโน เมตตานันโท เลาหวณิช อดีตแพทย์ผู้บุกเบิกชมรมพุทธจุฬาฯ ผู้รู้แจ้งเรื่องธรรมกายและขัดแย้งกับผู้บริหารจนถอยตัวออกมา ผู้เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกถึงสามแห่ง ผู้เป็นอดีตตัวเต็งรัฐมนตรีในอดีต ฯลฯ นอกจากผมจะไปพูดมากเรื่องตนเองแล้ว นับเป็นโอกาส ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ใหญ่หลายๆท่าน เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ายิ่ง…

การได้ไปบรรยายร่วมครั้งนี้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เชิญไปพูดเรื่อง “มหาวิทยาลัย …มาหาอะไร”

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, รังสิต, ส่วนตัว Tagged: graduation, ธรรม, บรรยาย, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัจฉิมบท, มหาวิทยาลัยรังสิต, รังสิต, วิทยาลัยแพทยศาสตร์, เรียนจบ, แพทยศาสตร์, แพทย์, แพทย์จบใหม่, แพทย์รังสิต

สำรองข้อมูล: คำถามถึงอนาคต เพื่อนและน้องๆรังสิต

September 22, 2010 by Gla 3 Comments

คำถามถึงอนาคต เพื่อนและน้องๆรังสิต

โดยชเนษฎ์ ศรีสุโขณ วันที่ 22 กันยายน 2010 เวลา 9:12 น.

จะมีใครรู้อนาคต หลังการเสียชีวิตของคณบดีที่พวกเรารัก- อ.บุญเชียร ไปไม่กี่ปี

กับคำถามที่ว่า “ปีนี้ เราจะได้จับฉลากพร้อมกับเพื่อนแพทย์ที่อื่น” หรือเปล่า?

มี ความพยายามของคนในกระทรวง และผู้ใหญ่หลายท่าน โดยเหตุุผลที่ว่าเราคือเอกชน และไม่ได้จดสัญญาไว้กับรัฐบาล ดังนั้น ปีนี้อาจเป็นปีที่เราไม่ได้จับฉลากพร้อมกับแพทย์ที่อื่น ต้องรอเขาจับหมดแล้ว เหลือที่ที่คนไม่ไป หรือจังหวัดภาคใต้ (หากมองในแง่ดี ชีวิตไม่แน่นอนดีไปกว่าเก่า เราอาจได้ไปท่องเที่ยวผจญโลกอย่างมีความสุข ฝึกความเป็นยอดคน กับงานทุกประเภท และคนทุกรูปแบบ)…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: รังสิต, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: กรมการแพทย์, กีดกัน, คำถาม, จับฉลาก, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต, รังสิต, วิทยาลัยแพทยศาสตร์, แพทย์, แพทย์รังสิต

การชุมนุมนักศึกษาแพทย์! (อีกแล้ว)

August 22, 2009 by Gla 5 Comments

การชุมนุมนักศึกษาแพทย์! (อีกแล้ว)

ไม่น่าเชื่อว่า ภายในเวลาประมาณ 2 ปี เกิดการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ถึง สองครั้ง สองครา

นักศึกษาแพทย์ที่ชาวบ้านชาวเมืองคิดว่าต้องเป็นผู้คงแก่เรียนใส่แว่นตาหนาเตอะ หมกมุ่นกับกองหนังสือ กลับมาเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เดินหน้าพร้อมใจชุมนุม ต่อต้านความอยุติธรรม และความเลวร้ายที่เกิดขึ้น!

นักศึกษาแพทย์ชุมนุมครั้งนี้เพราะอะไร มาติดตามกัน

นักศึกษาแพทย์รังสิต มาเรียนม.รังสิต ต่างภาคภูมิใจในคณะ และมหาวิทยาลัย ทุกคนรักท่านอธิการบดี อาทิตย์ อุไรรัตน์ และเชื่อมั่นในตัวผู้ใหญ่ใจดี อดีตนักการเมืองและวีรบุรุษผู้สร้างประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง นักประชาธิปไตย ผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ เพื่อความถูกต้องอยู่เสมอ รักษาธรรมาธิปไตยให้ดำรงไว้ในแผ่นดิน เรา

นักศึกษาแพทย์ต่างสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมระดับชาติ และองค์กรระดับชาติมามาก โดยไม่คิดสิ่งตอบแทน ผลการสอบใบประกอบโรคศิลป์ และด้านวิชาการก็พัฒนาขึ้นมาก ภายใต้การสนับสนุนของอดีตคณบดีผู้ล่วงลับในสมัยก่อน คือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล ผู้แสดงธรรมให้ประจักษ์ สั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม ให้นักศึกษาแพทย์ยึดมั่นในการเป็นแพทย์ที่ดี และเป็นคนที่ดี เสียสละเพื่อส่วนรวม

เล่าความถึงเมื่อสามสี่ปีก่อน ปัญหาที่ผ่านมา ขาดแคลนทรัพยากร ขาดแคลนหลักสูตรการศึกษาที่ดี ขาดแคลนสถานที่ อาคาร อุปกรณ์การศึกษา และที่สำคัญกว่าสิ่งใด ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร เรียนด้วยตนเอง จบด้วยตนเอง เป็นศิษย์เก่าคิดอยากกลับมาช่วย ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ศิษย์เก่าจึง เสียใจ หนีหายกันไปมากนักศึกษาแพทย์สมัยนั้นนั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกันดี เพื่อยกระดับคณะให้ดีขึ้น

ครั้งก่อนนั้น นักศึกษาแพทย์จึงร้องเรียนกันเป็นเวลายาวนาน ขอร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาวิทยาลัยแพทย์ให้เจริญยิ่งใหญ่ขึ้น ร้องเรียน ชุมนุม เจรจากันหลายครั้ง เข้าพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยอยู่หลายหน แต่ทุกคำสัญญา ทุกท่าทีกลับเป็นการปฏิเสธนักศึกษา เหตุการณ์จึงทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดชุมนุมใหญ่นักศึกษามากกว่าสามร้อยชีวิต ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ออกข่าวสารลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และเว็บไซต์ข่าวชั้นนำจำนวนมาก (ไม่นับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ล่มมาโดยตลอดจากการถูกนักศึกษาโจมตีประเด็นต่างๆ) ต่อมาเรื่องจึงเดินทางไปถึงยังแพทยสภา และสำนักงานการอุดมศึกษาฯ ช่วยกดดันผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งที่คอยถ่วงความเจริญของคณะแพทย์

การเจรจาตกลงกับผู้ใหญ่ใจดีจึงเกิดขึ้น ท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้มีบารมีและอำนาจสูงสุดในฐานะท่านอธิการบดี ได้มีเมตตา เรียกแกนนำนักศึกษาเข้าประชุมโต๊ะกลมโดยทันที! และแสดงความจริงใจในการสัญญาตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทุกประการ

ท่านคณบดีบุญเชียร ผู้ต่อสู้ให้นักศึกษาแพทย์เช่นกัน ตอนหลังป่วยเป็นมะเร็งปอด ลามไปตับและอวัยวะภายใน ท่านยังสู้เพื่อนักศึกษาจนหยดสุดท้าย เดินหอบมาทำงานทุกวัน ป่วยให้เคโมจนเป็นไข้ก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำ แม้สามีและลูกห้าม ก็ดึงดัน รั้นที่จะร่วมสู้เพื่อนักศึกษาแพทย์ด้วยโดยไม่กลัวอำนาจ อิทธิพลใดใดของผู้ที่จะคอยกลั่นแกล้ง และเสียประโยชน์ จากการที่อธิการบดีตกลงสนับสนุนนักศึกษาแพทย์เต็มที่ในครั้งนั้น

สัญญาต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมาย มีการเซ็นสัญญา และการให้วาจาสัตย์กับนักศึกษาแพทย์ ในการสร้างอาคารเพิ่มขึ้น พื้นที่หลายไร่ การให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเพิ่มขึ้น และมุ่งตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี ที่ตรงกับนักศึกษาแพทย์ทุกคนว่า เราจะพัฒนาคณะนี้ ให้เจริญเทียบเทียมคณะแพทย์ชั้นนำอื่น สนับสนุนอย่างเต็มที่โดยไม่คิดเพียงกำไร เพราะ ม.รังสิต “สร้างบัณฑิตรู้ลึก สร้างสำนึกเพื่อสังคม” เรื่องนี้มหาวิทยาลัยได้ลงหนังสือพิมพ์หลายฉบับเช่นกัน เพื่อแก้ไขกรณีการร้องเรียนแพทยสภาของนักศึกษาแพทย์

นักศึกษาแพทย์ยินดีมาก ในครั้งนั้น และสรรเสริญท่านอธิการบดีและคณบดีบุญเชียร ประหนึ่งบิดาและมารดาของแพทย์รังสิตพลางคิดว่าเราจะเจริญได้แล้ว นักศึกษายิ่งมุ่งพัฒนาสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยมากขึ้นด้วยความรักในสถาบัน และการสนับสนุนของท่านอธิการบดี

แต่กาลกับตาลปัตร สัญญาที่ให้ไว้กลับมีปัญหามาโดยตลอด ทั้งการบิดพลิ้วของผู้บริหารท่านอื่นหลายท่าน อาคารที่สัญญาไว้ ถูกยึดคืนกลับไปหมดสิ้น หลักสูตรล่าช้า อุปกรณ์ ทรัพยากรต่างๆ ติดปัญหา ผู้บริหารไม่สนับสนุน ไม่อนุมัติ

หลัง คณบดีบุญเชียรเสียชีวิต ผู้บริหารบางท่านบอกกับนักศึกษาแพทย์ทำนองว่า “คนตายแล้ว ไม่มีใครสานต่อ ต้องล้มเลิกโครงการทั้งหมด”ชั้นอาคารของคณะแพทย์ เนื้อที่กว่า 3000 ตารางเมตร ที่ตกลงไว้ ทำสัญญาไว้ คณะแพทย์ปรับปรุงการก่อสร้างมาหลายครั้ง เพิ่งสร้างเสร็จ นักศึกษาแพทย์กำลังจะเข้าใช้ด้วยความยินดี กลับถูกยึด โดยอ้างเหตุผลเชิงธุรกิจไปเสียสิ้น!

จึงเกิดการลุกฮือของนักศึกษาแพทย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรอบสองปี ดังกล่าวแต่ต้น เกิดการเดินสาย เดินขบวน จนพัฒนาต่อเนื่องมายังเหตุการณ์ที่จะเป็นครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาแพทย์รังสิต 20 สิงหาคม 2552 (ต่อไปน่าจะเรียกว่า “สิงหาได้ชัย” เพราะชุมนุมใหญ่เดือนสิงหาคมตลอด)

การชุมนุมครั้งใหญ่ ครั้งนี้ ปิดล้อมใต้อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ ต่างจากครั้งที่แล้ว ที่เจรจากับอย่างสงบ สันติกับผู้บริหารหลายท่าน ที่พิสูจน์ให้นักศึกษาแพทย์รับทราบชัดในวันนี้ว่า เชื่อถือไม่ได้ ครั้งนี้เราไม่ได้แจ้งสื่อสารมวลชนใดใดเพราะเรารักในมหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดี และไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องเสื่อมเสียแก่มหาวิทยาลัย

การปิดล้อมเป็นเวลายาวนานกว่าห้าชั่วโมง หลังการเจรจาระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยตลอดนั้น จึงเริ่มได้ข้อสรุป นั่นคือ นักศึกษาแพทย์ จะได้รับการพัฒนา และอาคารของแพทย์ที่สร้างเสร็จ จะได้รับไปใช้เหมือนเดิมท่านอธิการบดีผู้เมตตา ได้ตกลงช่วยเหลือเรา ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติยืนเรียงแถวต่อหน้านักศึกษาแพทย์ ชี้แจงข้อมูลและให้สัญญาด้วยวาจาสัตย์ยิ่งกว่าครั้งก่อน ด้วยเกียรติภูมิของผู้ใหญ่ที่ทำงานให้สังคม เป็นพันธะทางใจระหว่างนักศึกษาแพทย์กับผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง

คณบดี ศ.(คลินิก) นพ.สุรวิทย์ เตชธุวานันท์ คนปัจจุบัน แม้เป็นคณบดีท่านใหม่ แต่มากด้วยประสบการณ์ทำงานในอดีต เปี่ยมคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นรองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้แสดงถึงความจริงใจ และกำลังเป็นที่รักของนักศึกษาแพทย์รังสิต คนต่อไป ทั้งในฐานะแพทย์ตัวอย่างผู้ทรงคุณงามความดีแก่สังคม และการเป็นอาจารย์ที่เมตตาช่วยเหลือลูกศิษย์ สนับสนุนลูกศิษย์ในการตั้งใจเรียน สร้างผลงานทางวิชาการ และกิจกรรมเพื่อสังคมสืบไป

นี่คือ ธรรมาธิปไตย สังคมที่กำลังจะเป็นธรรมอีกครั้ง หลังประชาธิปไตยของนักศึกษา การเมืองภาคประชาชนของนักศึกษา ที่อุดหนุน ค้ำยัน สร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ให้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต

นี่คือ ธรรมาธิปไตย ของท่านอธิการบดี และสัญญาทางใจระหว่างผู้บริหารทุกท่าน กับนักศึกษาแพทย์ จึงเป็นจุดจบของการชุมนุมในครั้งนี้ เราคงต้องรอเฝ้าดูกันว่า ภายในอีกสิบปี ยี่สิบปี แพทย์รังสิตจะพัฒนาไปในทิศทางใด ลบคำครหาต่อว่าในอดีต มุ่งสู่การสร้างสรรค์สังคมด้วยการเป็นแพทย์เก่ง ดี มีคุณธรรม คอยช่วยค้ำจุนสังคมสืบไป

ท่านอธิการบดี ฝันเห็น แพทย์รังสิต เป็นดั่งแพทย์ฮาร์วาร์ดของอเมริกา เราเชื่อเช่นนั้น และทุ่มเต็มที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนอย่างเต็มที่ของท่านอธิการบดี และผู้บริหารทุกคน นักศึกษาใคร่ขอกราบขอบคุณและสรรเสริญท่านในฐานะวีรบุรุษประชาธิปไตย ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และดำรงตนประหนึ่งผู้บริหารอันทรงธรรมที่สุดแห่งยุคสมัย ชื่อของท่านและม.รังสิต จะถูกจดจำไปนาน บันทึกในแผ่นดินตราบชั่วนิรันดร์ ถึงการเป็นผู้สมบูรณ์ประเสริฐพร้อมด้วยกุศลจิต ผู้มิเคยได้เห็นผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจาก “ประโยชน์ของประชาชน”

อ่านภาคหนึ่ง โรงเรียนแพทย์เอกชนได้ ที่นี่ http://www.bloggla.com/?p=84

Posted in: ข่าว, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: การชุมนุม, ข่าวดัง, นักศึกษาแพทย์, ประท้วง, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัญหาคุณภาพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ร้องเรียน, รังสิต, วิทยาลัยแพทยศาสตร์, อาทิตย์, แพทย์, แพทย์รังสิต

กล่าววันพระราชทานเพลิงฯ อ.บุญเชียร

September 21, 2008 by Gla 6 Comments

ท่านประธานในพิธี ท่านคณาจารย์ ท่านแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน และนักศึกษา-ลูกๆของอาจารย์บุญเชียรทุกคน

กระผมนายชเนษฏ์ ศรีสุโข ตัวแทนนักศึกษาแพทย์

ใคร่ขอกล่าวความในใจที่พวกเรามีต่อคุณแม่บุญเชียร

SL707551

อาจารย์บุญเชียรครับ ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆดำทะมึน ละอองน้ำโปรยลงมาจากเบื้องบน…เพราะมัน เป็นหน้าฝนนะครับอาจารย์ ท้องฟ้าที่มืดครึ้มนี้ไม่ต่างจากหัวใจของพวกเรา-ลูกๆที่อาจารย์รักและเอาใจใส่เปรียบดังลูกในไส้ของท่านอาจารย์

อาจารย์ครับ พวกเราไม่พบอาจารย์มาเป็นสัปดาห์ๆ ไม่ทราบว่าอาจารย์เจ็บป่วยหนักหนาเพียงใด แต่ถ้อยคำที่อาจารย์ส่งมาถึงพวกเรา ยังเป็นห่วงพวกเราหนักหนา บอกให้พวกเราขยันเรียน ตั้งใจ เพื่อการสอบให้ผ่านให้ได้ คำพูดสุดท้ายที่ได้กล่าวกับผม คือ “ไม่ต้องมาเยี่ยมเด็ดขาดนะ”

อาจารย์ครับ นับตั้งแต่วันนี้ไป เวลาเรามีปัญหา เราจะไปเล่าปัญหาให้ใครฟังได้อีก เหมือนที่อาจารย์จะสั่งสอน ให้กำลังใจด้วยเสียงอันดัง แต่เปี่ยมด้วยความเมตตา ช่วยเหลือนักศึกษาทุกคน เป็นทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง อย่างเต็มที่ อย่างสุดความสามารถ

ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่ง ที่ชอบไปหาปรึกษาอาจารย์ครับ อาจารย์ไม่เคยถือยศถาบรรดาศักดิ์ อาจารย์ให้ความใกล้ชิดแก่พวกเราอย่างที่ไม่มีใครให้กับพวกเรา อาจารย์ดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาได้เข้าไปพูดคุยกับท่าน

ยิ่งพวกเรารู้จักอาจารย์มากขึ้นเท่าใด พวกเราก็รู้ว่า อาจารย์บุญเชียรไม่เคยแก่เฒ่า ทั้งความคิดและการปฏิบัติ อาจารย์เป็นคุณแม่สาวสวย สิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นสิ่งที่สาวสวย ผู้แข็งแกร่งเท่านั้น ที่จะทำได้…

ในต้นปีพุทธศักราช 2550 พวกเรานักศึกษาแพทย์กว่าหลายร้อยชีวิต ไปดักรอพบอาจารย์ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการตัดเกรด โดยคาดหวังว่าอาจารย์จะเป็นที่พึ่งพิงให้พวกเรา และพวกเราก็คิดไม่ผิด อาจารย์จะคอยต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ความอยุติธรรมต่างๆ เสมอมา

อาจารย์ให้ความรัก ดูแลนักศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีรักใครชอบใครเป็นพิเศษ อาจารย์ดูแลสารทุกข์สุขดิบ ของนักศึกษา อาจารย์มิใช่เป็นเพียงคณบดีของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อาจารย์ทำทุกอย่าง อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นทั้งคนคอยยุติการทะเลาะวิวาทเวลานักศึกษาทะเลาะกัน เป็นทั้งแม่บ้าน รักษาความสะอาด เป็นคนรักษาความปลอดภัย เดินตรวจตราทุกที่ เป็นตำรวจทหารที่คอยดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปกป้อง ป้องกันอันตรายทุกสิ่งทุกอย่างแก่พวกเรา อาจารย์เป็นแม่พระ สอนสั่งจริยธรรม ศีลธรรมสังคม เป็นแม้กระทั่งนายธนาคาร ที่แอบให้เงินกู้ยืมแก่นักศึกษาหลายคนทุกเดือนๆ อาจารย์บอกพวกเราว่า “เธอจะเป็นผู้ใหญ่ เธอต้องรู้อะไรอีกมาก” อาจารย์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของพวกเรา เป็นดั่งคุณแม่ของทุกคนที่ไม่ว่าพวกเราจะทำตัวเลวร้ายแค่ไหน อาจารย์พร้อมจะให้อภัย และสั่งสอนเสมอ

อาจารย์เป็นนักวางแผน มีโครงการมากมายที่ช่วยเหลือให้นักศึกษากระตือรือร้น ขวนขวายอ่านหนังสือ ตั้งใจศึกษาเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพ อาจารย์จะดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาสอบได้คะแนนดี หัวใจของอาจารย์นั้นงดงาม มีแต่ให้ และหาทางออกให้ทุกคนเสมอ

อาจารย์เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ความสวยของอาจารย์เกิดจากการต่อสู้อย่างดุเดือด ต่อสู้ตลอดเวลา เพื่อนักศึกษา ใครก็ตามที่มาทำร้าย มาดูถูก มาต่อว่านักศึกษา มากลั่นแกล้ง เอาประโยชน์จากนักศึกษานั้น ไม่ว่าคนนั้นจะใหญ่โตมาจากไหน อาจารย์ไม่กลัวเจ็บไม่กลัวเดือดร้อน อาจารย์จะเข้าไปต่อสู้ชนิดว่า อยู่ร่วมโลกกันมิได้แล้ว มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สมัยก่อน อาจารย์ เคยแม้กระทั่งชกต่อยกับผู้ชาย นี่คือความเป็นนักเลงของอาจารย์ ที่เวลาผ่านไปสามสิบสี่สิบปี เพื่อสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อาจารย์ไม่เคยเปลี่ยนไป ต่อสู้เพื่อพวกเรา…

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง เป็น ยิ่งกว่าความพึ่งพิง ยิ่งกว่าความเมตตากรุณาหาที่สุดมิได้ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สานความสัมพันธ์ ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง ปี6 อาจารย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษาทั้งมวล โดยที่อาจารย์อาจไม่รู้สึกตัว อาจารย์จำได้ไหมครับ พวกรุ่นน้องแต่งเพลง ร้องเพลงให้อาจารย์ฟัง นักศึกษาเอาของฝากติดไม้ติดมือมาให้กำลังใจอาจารย์ พวกเราประชุมกันสรรหาสารพัดวิธีแสดงความเคารพรักท่านอาจารย์ ตอนแรกพวกเราคิดว่าสิ่งที่เราทำจะทำให้ท่านอาจารย์ดีใจ อาจารย์เฉลยว่า สิ่งที่อาจารย์ต้องการที่สุด ดีใจที่สุด คือให้พวกเราสอบผ่านใบประกอบฯทุกคน เรียนจบไปเป็นแพทย์ที่ดี เพียงแค่นั้นจริงๆ [-]

ย้อนไปปีก่อน หลายคนตกใจครับ เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์เป็นโรคร้าย แพร่ลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ผมและเพื่อนไปเยี่ยมอาจารย์ที่ รพ.จุฬาฯ อาจารย์ยังยิ้มบอกพวกผมว่า “ครูไม่เป็นไร นี่ ถ้ายาไม่ตอบสนอง ครูคงตายในเจ็ดวันแล้ว” [-]

อาจารย์ทำเป็นไม่ป่วย ไม่ว่านักศึกษาจะจัดกิจกรรมอะไร จัดงานที่ไหน ออกต่างจังหวัด ไปไกลสุดหล้าฟ้าเขียว อาจารย์จะเดินทางไปให้กำลังใจพวกเราทุกที่ อาจารย์ช่วยหางบมาสนับสนุนนักศึกษาได้เสมอ สนับสนุนการสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ของสังคม แม้แต่รุ่นพี่พวกเราที่จบไปแล้ว อาจารย์ก็ยังยินดีช่วยเหลือ เดินทางไปหาสู่เสมอ หลายคนถามผมว่า ข่าวที่ว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายนั้น เป็นข่าวโคมลอยใช่หรือไม่ พวกเราก็หวังว่าจะให้เป็นเช่นนั้น… [-]

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ร่างกายอาจารย์อ่อนแอลง น้ำหนักลดเป็นสิบกิโล อาจารย์ทำตนว่าแข็งแรง อาจารย์ต้องคอยแอบคนอื่น ไปหลบตามมุมเงียบๆเพียงเพื่อที่จะเหนื่อยหอบ แกล้งทำเป็นแข็งแรงทั้งที่เดินขึ้นบันไดสองสามขั้นยังไม่ไหว [-] ผมเคยสงสัยและถามอาจารย์ว่า ทำไมอาจารย์ถึงยังต้องมาทำงานอยู่อีก ทำงานคณบดีที่เหน็ดเหนื่อย วุ่นวาย ทรมานร่างกายและจิตใจ ทั้งที่อาจารย์มีทุกอย่างพร้อมแล้ว มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบริวารผู้คนรู้จักรักใคร่ มีเงินทองทรัพย์สินจนไม่ต้องหาเงินอีก อยู่บ้านไม่สบายกว่าหรือครับอาจารย์ อาจารย์ตอบผมว่า “เมื่อรับตำแหน่งมาแล้ว ก็ต้องทำให้ถึงที่สุด” “สิ่งที่ครูทำทุกวันนี้ เพื่ออนาคตอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้าของพวกเธอ” “ขนาดลูกครู ครูยังไม่ได้ดูแลขนาดนี้เลย” หลายคนได้สัมผัสและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

พวกเรารู้สึกว่า สิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตของท่าน คือ นักศึกษา อาจารย์ทำงานหนักจนลืมรับประทานยาให้ตรงเวลา ทานยาไม่ครบ อาจารย์ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน ผมกระเซ้าอาจารย์เสมอว่า เป็นผู้ป่วยที่ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง อาจารย์กลับหัวเราะ แม้ตอนหลังอาจารย์รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหลายขนาน ร่างกายทรุดโทรม เป็นไข้บ่อย อาจารย์ก็ยังเดินทางมาคอยดูแลพวกเราตลอดเวลา ยิ้มแย้มหัวเราะ ไม่แสดงออกให้ใครเห็นว่าเจ็บป่วย

ต้นปีที่ผ่านมา อาจารย์บอกว่า “หมอบอกว่าครูจะอยู่ได้แค่หกเดือน ตอนนี้ครูอยู่ได้เจ็ดเดือน นี่คือกำไรชีวิตแล้ว” ทุกคนปรบมือแสดงความดีใจ เหนืออื่นใด คือยินดีที่คนที่พวกเรารัก เทิดทูน คนที่ให้ความอบอุ่น ดูแข็งแรงดี อาจารย์บอกพวกเราว่า การตายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่ากลัว

อาจารย์ครับ…พวกเราเรียนรู้หลายสิ่งจากอาจารย์ คุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ อาจารย์สอนให้พวกเรารู้ว่า “การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” นั้นเป็นเช่นไร อาจารย์เป็นตัวอย่างของแพทย์ ที่เป็นคนดีของสังคม

พระคุณของอาจารย์นั้น ไม่ว่าชาติไหนก็คงตอบแทนไม่หมด น้ำใจที่กว้างใหญ่ อาจารย์ได้หล่อหลอมพวกเราขึ้นมา จากเด็กไม่รู้จักคิด ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้น มีความคิดมากขึ้น พร้อมที่จะเป็นแพทย์ในอนาคต

ผมในฐานะตัวแทนของนักศึกษาขอกราบขอขมาทุกสิ่งที่เคยรบกวนอาจารย์ ทำให้อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ลำบาก คอยต่อสู้เพื่อพวกเราตลอดมา และต่อจากนี้ พวกเรา ลูกศิษย์ทุกคนจะตั้งใจฝ่าฟันอุปสรรค และจบไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมครับ ให้สมดังสิ่งที่อาจารย์คาดหวัง ยืนหยัดต่อไปได้ด้วยตนเอง สืบสานเจตนารมณ์อาจารย์… “ความแข็งแกร่ง”ของอาจารย์

อาจารย์เชื่อเรื่องความดีงาม อาจารย์บอกพวกเราเสมอว่า คนเราถ้าทำดีแล้ว อยู่ที่ไหนก็ดี ความดีย่อมคุ้มภัย พวกเราเรียนรู้ด้วยว่าทำดีแล้ว แม้ตายก็มิอาจพรากความดีที่ทำไว้ได้เลย

ความดีของอาจารย์จะประทับอยู่ในจิตใจของพวกเราทุกคนตลอดไป…

“กราบแทบเท้าครั้งสุดท้าย ท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล – มารดาของแพทย์รังสิต”

Posted in: บทความ, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: คณบดี, ดร, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, พญ, รังสิต, สุดยอด, หมอ, อาจารย์, อาทิตย์, แพทย์

…อาจารย์บุญเชียร

September 15, 2008 by Gla 9 Comments

บุญเชียร ปานเสถียรกุล

…อาจารย์บุญเชียร

กราบเรียนท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล ครับ

ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆดำทะมึน ละอองน้ำโปรยลงมาจากเบื้องบน… เป็นหน้าฝนนี่ครับ อาจารย์

ผมไม่ได้พบอาจารย์มาเป็นสัปดาห์ จันทร์ที่แล้วได้พูดคุยกับอาจารย์ผ่านทางโทรศัพท์อาจารย์ยังส่งเสียงมาตามสาย ว่าให้พวกนักศึกษาขยันเรียน ตั้งใจ เพื่อการสอบให้ผ่านได้คะแนนดี และ “ไม่ต้องมาเยี่ยมเด็ดขาดนะ” อาจารย์บอกนักศึกษาคิดถึงอาจารย์มากนะครับ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ถามหาว่า อาจารย์บุญเชียร หายไปไหน…


อาจารย์ครับ ผมมีเรื่องอยากเล่าให้อาจารย์ฟังมากมายเลยครับเหมือนทุกครั้ง เวลานักศึกษาทุกคนมีปัญหา มีเรื่องเล่าต่างๆ นานา ทุกคนจะเข้าไปหาอาจารย์ จะได้ยินเสียงดังดัง จากอาจารย์เสมอครับ หลายครั้งอาจารย์ดุด่าว่ากล่าวจนหลายคนกลัว แต่ลึกๆแล้ว อาจารย์เมตตาทุกคน ช่วยเหลือทุกคนอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ

ผมเป็นหนึ่งคนที่ชอบไปหาอาจารย์ มีคนถามผมว่า ทำไมชอบไปหาอาจารย์ มีอะไรน่าสนุกอย่างนั้นหรือ ไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่ ผมคิดในใจ ทุกครั้งที่ไม่ว่านักศึกษาคนไหนก็ตามเข้าไปพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจารย์จะเมตตาและมีความสุขที่ได้ฟังเรื่องราวนั้นๆ อาจารย์จะยิ้มแย้ม จะหัวเราะก็ล้วนเพราะเรื่องของลูกศิษย์ทั้งหลาย ผมคิดว่าผมไม่ได้คุยกับคนแก่คนเฒ่า อาจารย์บุญเชียรยังคงเป็นสาวสวยสำหรับผมและหลายๆคนอยู่เสมอครับ เพราะสิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นสิ่งที่สาวสวยผู้แข็งแกร่งเท่านั้น ที่จะทำได้…

ผมจำได้ครับ เมื่อย้อนกลับไป วันแรกที่ผมได้มีโอกาสรู้จักอาจารย์ ต้นปี2550 วันนั้น เป็นวันที่ผมและเพื่อนๆ น้องๆ กว่าหลายร้อยชีวิต ไปดักพบอาจารย์ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการตัดเกรด โดยคาดหวังว่าอาจารย์จะเป็นที่พึ่งพิงให้พวกผม และพวกผมก็คิดไม่ผิด อาจารย์จะคอยต่อสู้เพื่อความไม่ยุติธรรมต่างๆ เสมอมาและเหนืออื่นใด เพื่อผลประโยชน์ของนักศึกษา

อาจารย์ให้ความรัก ดูแลนักศึกษา ทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีรักใครชอบใครเป็นพิเศษ อาจารย์ดูแลสารทุกข์สุขดิบ คอยถามนักศึกษาว่ามีปัญหาอะไรไหม ถ้ามี อาจารย์จะวิ่งเข้าใส่ปัญหา ลุยกับมัน

อาจารย์มิใช่เพียงคณบดีของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นทั้งคนคอยยุติการทะเลาะวิวาทเวลานักศึกษาทะเลาะกัน เป็นทั้งแม่บ้าน รักษาความสะอาด เป็นคนรักษาความปลอดภัย เดินตรวจตราทุกที่ เป็นตำรวจที่คอยดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพระ สอนสั่งจริยธรรม ศีลธรรมสังคม อาจารย์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของพวกเรา เป็นดั่งผู้ปกครองของทุกคนที่ไม่ว่าพวกเราจะทำตัวเลวร้ายแค่ไหน อาจารย์พร้อมจะให้อภัย และสั่งสอนเสมอ

อาจารย์มีโครงการมากมายที่ช่วยเหลือให้นักศึกษากระตือรือร้น ขวนขวายอ่านหนังสือ ตั้งใจศึกษาเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพ อาจารย์จะดีใจทุกครั้งที่นักศึกษาสอบได้คะแนนดี และใครที่สอบไม่ดี แม้อาจารย์เสียใจ แต่ก็ไม่เคยแสดงออก จะมีแต่คอยตักเตือน ดุด่าว่ากล่าว ผมรู้สึกเสมอว่าอาจารย์ปากร้าย แต่ใจดีมาก เวลาใครมีปัญหาด้านการเรียน อาจารย์จะเรียกมาพบ ดุด่าเสร็จ จะพูดคุยด้วยความเข้าใจ หาทางออกให้ทุกคนเสมอ

นอกจากเรื่องเรียนแล้ว ไม่ว่าเป็นเรื่องกิจกรรมใดใด อาจารย์จะช่วยหางบมาลงสนับสนุนนักศึกษาได้เสมอ สนับสนุนการสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ของสังคม การเล่นกีฬา ดนตรี การจัดค่าย การจัดกิจกรรมต่างๆ การสร้างผลงานสู่สายตานักศึกษาที่อื่น ฯลฯ อาจารย์บอกว่าแต่ก่อนอาจารย์เป็นนักกิจกรรม ทำกิจกรรมหลายชนิด ชอบเชียร์กีฬาอย่างสนุกสนาน กระโดดโลดเต้นไถไปกับพื้น

อาจารย์เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ความสวยของอาจารย์เกิดจากการต่อสู้อย่างดุเดือด ต่อสู้ตลอดเวลา เพื่อนักศึกษา ใครก็ตามที่มาทำร้าย มาดูถูก มาต่อว่านักศึกษา มากลั่นแกล้ง เอาประโยชน์ อาจารย์จะเข้าไปต่อสู้ชนิดว่า ใครคนนั้นอยู่ร่วมโลกกันมิได้แล้ว มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สมัยก่อน อาจารย์ เคยแม้กระทั่งชกต่อยกับผู้ชาย นี่คือความเป็นนักเลงของอาจารย์ ที่เวลาผ่านไปสามสิบสี่สิบปี เพื่อสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อาจารย์ไม่เคยเปลี่ยนไป ต่อสู้เพื่อพวกเรา…

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง เป็น ยิ่งกว่าความพึ่งพิง ยิ่งกว่าความเมตตากรุณาที่หาที่สุดมิได้ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สานความสัมพันธ์ ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง ปี6 อาจารย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษาทั้งมวล โดยที่อาจารย์อาจไม่รู้สึกตัวอาจารย์จำได้ไหมครับ พวกรุ่นน้องแต่งเพลงให้อาจารย์ พวกเราชุมนุมให้อาจารย์ พวกเราสรรหาสารพัดวิธีแสดงความรักต่ออาจารย์ ผมคิดว่าอาจารย์ดีใจอยู่มาก อาจารย์บอกว่า สิ่งที่อาจารย์ต้องการที่สุด คือให้พวกเราสอบผ่าน เรียนจบไปเร็วๆ เพียงแค่นั้นจริงๆ

ย้อนไปปีก่อนหลายคนตกใจครับ เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายที่ปอด และแพร่ลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจารย์ยังยิ้มบอกว่า “ไม่เป็นไร”

อาจารย์ทำเป็นไม่ป่วยครับ ไม่ว่านักศึกษาจะจัดกิจกรรมอะไร จัดงานที่ไหน ออกต่างจังหวัด ไปไกลสุดหล้าฟ้าเขียว อาจารย์จะเดินทางไปให้กำลังใจพวกเราทุกที่ หรือแม้แต่รุ่นพี่พวกเราที่จบไปแล้ว อาจารย์ก็ยังยินดีช่วยเหลือ เดินทางไปหาเสมอ หลายคนถามผมว่า ข่าวที่ว่าอาจารย์เป็นโรคร้ายนั้น เป็นข่าวโคมลอยใช่หรือไม่ ผมก็หวังว่าจะให้เป็นเช่นนั้น…

อาจารย์ทำตนว่าแข็งแรง มาตลอดกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา อาจารย์ต้องแอบคนอื่น ไปหลบตามมุมเพียงเพื่อที่จะเหนื่อยหอบ ต้องทำเป็นแข็งแรงทั้งที่เดินขึ้นบันไดสองสามขั้นยังไม่ไหว ผมเคยแอบถามอาจารย์ว่า ทำไมอาจารย์ถึงยังต้องมาทำงานอยู่อีก ทำงานคณบดีที่เหน็ดเหนื่อย วุ่นวาย ทรมานร่างกายและจิตใจ ทั้งที่อาจารย์มีทุกอย่างพร้อมแล้ว มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบริวารผู้คนรู้จักมากมาย มีเงินทองทรัพย์สินจนไม่ต้องหาเงินอีก อยู่บ้านไม่สบายกว่าหรือครับอาจารย์ อาจารย์ตอบผมว่า “เมื่อรับตำแหน่งมาแล้ว ก็ต้องทำให้ถึงที่สุด” เธอต้องรู้นะว่า ครูเหนื่อยกับพวกเธอเพียงไร “สิ่งที่ครูทำทุกวันนี้ เพื่ออนาคตอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้าของพวกเธอ”

อาจารย์บอกว่า “ขนาดลูกครู ครูยังไม่ได้ดูแลขนาดนี้เลย” หลายคนได้สัมผัสและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ว่าอาจารย์ดูแลพวกเราเปรียบดังพวกเราเป็นบุตรหลานของท่าน

ทุกคนรักและเป็นห่วงอาจารย์มากครับ ที่ผ่านมา มีคนให้เครื่องรางของขลัง สิ่งศักดิ์สิทธิ บทสวดภาษาต่างๆแก่อาจารย์มากมาย อาจารย์เคยเล่าให้ผมฟังพลางหัวเราะ ตลก ว่าถ้าอาจารย์สวดทุกบทคงเหนื่อยตายพอดี อาจารย์บอกว่าอาจารย์ไม่เชื่อเรื่องพวกนี้ คนเราถ้าทำดีแล้ว อยู่ที่ไหนก็ดี ให้ความดีคุ้มภัย ไม่ต้องไปใช้เครื่องรางของขลัง

อาจารย์เหน็ดเหนื่อยทำงานหนักเพื่อพวกเราตลอดมา จนลืมใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ยาก็ไม่ทานตรงตามเวลา ทั้งหมดเพราะเห็นสิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตของตน นั่นคือ นักศึกษา จนแม้ตอนหลังอาจารย์รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหลายขนาน ร่างกายทรุดโทรม เป็นไข้บ่อย อาจารย์ก็ยังเดินทางมาคอยดูแลพวกเราตลอดเวลา ยิ้มแย้มหัวเราะ ไม่พยายามแสดงออกให้ใครเห็นถึงความเจ็บป่วย

สัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์เหนื่อยหอบบ่อยขึ้น อาจารย์พูดกับผมว่า “สงสัยครูจะอยู่ได้อีกไม่นานแล้วล่ะ ครูเหนื่อยเหลือเกิน” ผมนึกว่าอาจารย์หยอกล้อพวกผมเล่นเหมือนเคย ในใจสวดมนต์อ้อนวอนระลึกให้อาจารย์ไม่เป็นไร

ผมจำได้ อาจารย์เคยบอกพวกเราเมื่อต้นปีว่า “หมอบอกว่าครูจะอยู่ได้แค่หกเดือน ตอนนี้ครูอยู่ได้เจ็ดเดือน นี่คือกำไรชีวิตแล้ว” ทุกคนปรบมือแสดงความดีใจ เหนืออื่นใด คือยินดีที่คนที่พวกเขารัก เทิดทูน คนที่ให้ความอบอุ่น อาจารย์ยังดูเหมือนว่าแข็งแรงดีอาจารย์เป็นคนไม่กลัวตาย อาจารย์พูดกับผมบ่อยมากว่า การตายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่ากลัว คนอยู่นั้นน่ากลัว พวกเธอก็น่ากลัว อาจารย์หัวเราะ

สุดท้ายผมก็ไม่ได้พบอาจารย์ อาจารย์บอกผมว่าอย่ามาเยี่ยม เลยไม่ได้เยี่ยมจริงๆเลยครับ

•••

พวกเราเรียนรู้หลายสิ่งจากอาจารย์ครับ คุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ อาจารย์สอนให้พวกเรารู้ว่า “การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” นั้นเป็นเช่นไร อาจารย์เป็นตัวอย่างของแพทย์ ที่เป็นคนดีของสังคมด้วย

พระคุณของอาจารย์นั้น ไม่ว่าชาตินี้ชาติไหนก็คงตอบแทนไม่หมด น้ำใจที่กว้างใหญ่ อาจารย์ได้หล่อหลอมพวกเราขึ้นมา จากเด็กไม่รู้จักคิด ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้น มีความคิดมากขึ้น พร้อมที่จะเป็นแพทย์ในอนาคต

แม้ต่อไปนี้ผมอาจไม่ค่อยได้ไปหา เพื่อพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของนักศึกษา ให้อาจารย์ฟัง

แต่เชื่อว่า ทุกครั้งที่นักศึกษาทุกคนระลึกถึงอาจารย์ ต่อจากนี้ไป นั่นเปรียบเสมือนการส่งต่อข้อความไปถึงอาจารย์ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ชีวิตของพวกเราทั้งผองที่อาจารย์ได้ฟูมฟักดูแล ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างในอนาคต ทำอะไรกันอยู่ เติบใหญ่ไปเป็นแพทย์กันเช่นไร

พวกผมคงต้องกราบขอขมาทุกสิ่งที่เคยรบกวนอาจารย์ ทำให้อาจารย์เหน็ดเหนื่อย ลำบาก คอยต่อสู้เพื่อพวกผมตลอดมา และต่อจากนี้ พวกเรานักศึกษา ลูกศิษย์ทุกคนจะตั้งใจฝ่าฟันอุปสรรค และจบไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมครับ ให้สมดังสิ่งที่อาจารย์คาดหวัง ต่อไปนี้เราจะต้องยืนหยัดต่อไปได้ด้วยตนเอง สืบสานเจตนารมณ์อาจารย์ “ความแข็งแกร่ง”ของอาจารย์

อาจารย์จะประทับอยู่ในจิตใจของพวกเราทุกคนตลอดไป…

“ท่านอาจารย์บุญเชียร ปานเสถียรกุล – มารดาของแพทย์รังสิต”

กราบแทบเท้าด้วยความเคารพรักครับอาจารย์

แต่งกลอนมาฝากด้วยครับ

มาวันนี้ ไม่มี เธอที่รักสุดจะหัก ห้ามจิต คิดโศกศัลย์

จักจดจำ คำสั่งสอน ทุกคืนวันที่สอนว่า ให้เรานั้น เป็นคนดี

ให้อดทน กล้าแกร่ง เผชิญหน้าอุปสรรค ฟันฝ่า ไม่ถอยหนี

มีคุณธรรม นำความรู้ คู่ชีวีหมั่นเพียรนี้ ช่วยเราได้ ให้มั่นคง

ใช้โอกาส ที่ท่านให้ เป็นทางผ่านสู่งานการ สำเร็จล่วง สมประสงค์

มิตรภาพ ทั้งผองไว้ ให้ดำรงความซื่อตรง ความรัก สามัคคี

แม้เธอจาก ไปแล้ว ไม่ไปลับสร้างรังสิต มีระดับ เกียรติศักดิ์ศรี

เป็นคนงาม น้ำใจ ให้เมื่อมีแพทย์ที่ดี สืบสาน เจตนารมณ์


 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข ปีที่4 (ผู้แต่ง) และนักศึกษาแพทย์ทุกคน

15 กันยายน 2551

Posted in: กลอน, ข่าว, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: คณบดี, ดร, บุญเชียร, ปานเสถียรกุล, พญ, รังสิต, สุดยอด, สุดยอดคณบดี, หมอ, อาจารย์, อาทิตย์, แพทย์

โรงเรียนแพทย์เอกชน

March 12, 2008 by Gla 6 Comments

โรงเรียนแพทย์เอกชน

มีประเด็นเป็นข่าววงการศึกษา เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา

นศ.แพทย์ม.รังสิตร้องแพทยสภา ตรวจสอบภาคพรีคลินิก– กรุงเทพธุรกิจ

ม.รังสิตพร้อมแจงแพทยสภายังมั่นใจ5ปีเป็นม.แพทย์ชั้นนำ– เดลินิวส์

ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์ –สยามรัฐ

ร้องแพทยสภาตรวจสอบภาคพรีคลินิกม.รังสิต– คมชัดลึก

บทความนี้ มิได้มีเจตนาจะกล่าวให้ร้าย หรือโจมตีผู้ใด หากแต่ถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่จะได้ชี้แจง และอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงอันดีงามอีกด้วย และชื่นชมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ถ้าพูดถึงโรงเรียนแพทย์แล้ว คนทั่วไปมักไม่ค่อยได้เข้ามาสัมผัสรู้ลึก คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักชื่อเพียงโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ โด่งดัง เช่น ศิริราชพยาบาล รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ วชิรพยาบาล ฯลฯ

ResizeDSC_0027

ในความเป็นจริง ปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย รวมกัน มากถึง 16 สถาบันแล้ว และกำลังเพิ่มมากขึ้น

สำหรับแพทย์รังสิตนั้น ก่อตั้งสมัยคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้เมตตากรุณา ได้มีความพยายามผลักดัน จนทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้ในปีการศึกษา 2532

ตลอดระยะเวลาในยุคแรก มีการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความมีคุณภาพทัดเทียมแพทย์รัฐบาลจนแพทยสภาได้รับรองมาตรฐานหลักสูตรเมื่อปีพ.ศ. 2537 คุณพ่อประสิทธิ์มุ่งหวังสร้างสรรค์แพทย์เอกชน ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ โดยมิหวังผลกำไรเกินควร แพทย์รังสิตจึงค่อยๆเจริญงอกงาม ดุจต้นกล้า มีภาพลักษณ์ และชื่อเสียงอันดี

การบริหารงานของมหาวิทยาลัยรังสิต ต่อมาได้ตกอยู่ใต้การดูแลของดร.อาทิตย์ ท่านได้มีความพยายามในการระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดคณะต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งมีความพยายามเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาคณะต่างๆ และนักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มค่าเรียน เพิ่มค่าลงทะเบียน

การเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง ปริมาณ กับคุณภาพการศึกษา และได้มีการถ่ายโอน การบริหารแพทย์รังสิต 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ให้คณะวิทยาศาสตร์ดูแล ภาคปรีคลินิกจึงขึ้นตรงกับทางผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วน 3ชั้นปีหลัง (ภาคคลินิก)ยังขึ้นตรงต่อคณบดีแพทย์ซึ่งปัจจุบันคือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และคณาจารย์แพทย์ ผู้ซึ่งเป็นที่รัก คอยดูแลนักศึกษาแพทย์เป็นอย่างดีตลอดมา

แม้ว่าภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในขั้นเยี่ยมยอด

แต่สำหรับแพทย์เองนั้น มีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง เป็นปัญหาภายใน 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ซึ่งรับผิดชอบดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาแพทย์จำนวนมากรู้สึก ถึงความไม่ชอบธรรม ความขาดแคลน และขาดความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาแพทย์ จากผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รวมถึงจากผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ขั้นที่1 (สอบหลังจบปรีคลินิก) ที่แพทย์รังสิตได้น้อย และต่ำสุดมาหลายปี ในขณะที่ขั้นที่2, 3 (สอบหลังเรียนภาคคลินิก) สอบได้คะแนนสูงติดอันดับประเทศ เป็นข้อสรุปว่า คณะวิทยาศาสตร์ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทางด้านคุณภาพการเรียนการสอน ทั้งหลักสูตร และทรัพยากร อุปกรณ์ อาคาร บุคลากร ฯลฯ ที่ยังไม่เพียงพอและไม่ดีเท่าที่ควรตามเกณฑ์ขั้นต่ำแพทยสภา

รวมถึงในส่วนนักศึกษาแพทย์เองก็ยังมีหลายคนที่ไม่ตั้งใจ และไม่ขยันเรียนเท่าที่ควร

ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์และแกนนำ มีการร้องเรียนอยู่ภายในมาโดยตลอด เป็นการเมืองภาคนักศึกษาแพทย์ มีหนังสือร้องเรียนจำนวนหลายฉบับ ชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้ง จนถึง เมื่อวันที่ 3สิงหาคม 2550 มีการชุมนุมใหญ่กว่า300คน (ดังภาพ) การพบปะผู้บริหารหลายระดับ

การร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องหลักสูตร ทรัพยากร อุปกรณ์การสอน ฯลฯ กันมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อต้องการสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่พวกเขาควรจะได้รับ และเพื่อคุณภาพที่แท้จริง เหตุการณ์ดำเนินเรื่อยมาจนถึงกรณีนักศึกษาแพทย์ยื่นหนังสือร้องเรียนแพทยสภา แม้ว่าในท้ายสุด ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ขอระงับนักศึกษาแพทย์ให้ถอนหนังสือดังกล่าวก็ตาม

เรื่องราวทั้งหมดนี้ นับจารึกไว้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์แพทย์รังสิต แม้ว่าจะคล้ายกับมีการต่อสู้ ถกเถียง ทะเลาะกันบ้างระหว่างนักศึกษาแพทย์ กับทางผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับต่างๆ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ทั้งหมดก็เพื่อหาทางออกร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์สิ่งดี ผลิตแพทย์คุณภาพสร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

คาดหวังว่า ท่านอธิการบดีผู้เมตตากรุณา และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ เริ่มได้ให้ความใส่ใจกับนักศึกษาแพทย์มากขึ้น และเริ่มสนับสนุน ส่งเสริม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อที่มีมาตรฐานภาคปรีคลินิกก้าวทัดเทียมแพทย์รัฐบาลในระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อชื่อเสียงของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่สมัยคุณพ่อประสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์ ด้วยความเมตตากรุณาแก่พวกเราเสมอมา รวมถึงเพื่อชื่อเสียงและคุณภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิตเองทั้งสิ้น

จะเป็นไปดั่งความมั่นใจของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ยืนยันกับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ดังพาดหัวข่าวว่า

“ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์”

RetouchDSC_0063

ResizeDSC_0072

RetouchDSC_0033RetouchDSC_0050

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: การชุมนุม, ข่าวดัง, จดหมายร้องเรียน, นักศึกษาแพทย์, ประท้วง, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัญหาคุณภาพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ร้องเรียน, รังสิต, รุ่นพี่, อาทิตย์, แพทยศาสตร์, แพทยสภา, แพทย์, แพทย์รังสิต

หนังสือเรียนปรึกษาชี้แจง และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ภาคพรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1-3)

August 6, 2007 by Gla 3 Comments

ตอนนี้ ข้าพเจ้ามีโครงการจะเขียน แถลงการณ์ความจริง เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์

แต่ก่อนอื่น ขอเท้าความถึงวัน D DAY วันแห่งจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่และชัยชนะของแพทยศาสตร์ รังสิต
ที่จะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นหนังสือ ที่ข้าพเจ้าและแกนนำหลายๆคนได้ร่วมร่าง ในนามของนักศึกษาแพทย์ทุกคน
และ ได้เข้ายื่นกับมือ ดร อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต
และบ่งบอกสภาพปัญหาโดยภาพรวม คร่าวๆ ถึงการต่อสู้ทั้งหลายที่ผ่านมา จนถึงวันD DAY
 


 

ขอปรึกษาชี้แจงและเสนอแนวทางการพัฒนา

คุณภาพการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ภาคพรีคลินิก

มหาวิทยาลัยรังสิต

27 กรกฎาคม 2550

เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่อง ขอปรึกษาชี้แจงและเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ภาคพรีคลินิก

มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแนวหน้าของประเทศไทย มีชื่อเสียง มีภาพลักษณ์ดีงาม เป็นสถาบันที่มีศักยภาพ และมีการพัฒนาที่ดีมาโดยตลอด สามารถผลิตบัณฑิตที่จบออกไปเป็นบัณฑิตคุณภาพ และสร้างบัณฑิตในสาขาที่ตรงกับความต้องการของประเทศ ดังปณิธานที่มหาวิทยาลัยรังสิตตั้งไว้ นอกจากนี้การเปิดคณะหรือสาขาใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกในการเรียน ทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันวิชาการ ที่รวบรวมความรู้ศาสตร์และนักวิชาการแขนงต่างๆ ทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้การบริหารงานของท่านอธิการบดีที่เป็นทั้งนักบริหารและนักการศึกษา ที่มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ และผลงานมากมายในการบริหารงานระดับชาติอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันแห่งหนึ่งของสังคมที่หล่อหลอมพัฒนาบุคลากรของประเทศ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ต่อสังคม มหาวิทยาลัยรังสิตยังจัดกิจกรรมระดับประเทศ ระดับนานาชาติ อันสร้างชื่อเสียงและประโยชน์ให้กับประเทศ อาทิ การเป็นเจ้าภาพประธานฝ่ายพิธีการและพิธีเปิด–ปิดกีฬาการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ หรือ การทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เมื่อปลายปีที่ผ่านมาอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยความสามารถท่านอธิการมหาวิทยาลัยรังสิตที่นำชื่อเสียง และความภูมิใจมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิต

ในด้านการผลิตบัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามแนวความคิดที่มุ่งหวังให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นสถาบันแพทย์เอกชนชั้นนำของประเทศ และมีคุณภาพเทียบเท่ากับสถาบันแพทยศาสตร์ชั้นนำในต่างประเทศ เช่นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ก่อตั้งและเปิดดำเนินการเรียนการสอนมาเป็นเวลา 19 ปี ผลิตบัณฑิตแพทย์ไปแล้ว 13 รุ่น กว่า 700 คน ทั่วประเทศ การจัดการเรียนการสอนมีทั้งส่วนของภาคพรีคลินิก ผ่านทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และภาคคลินิกผ่านทางสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์–มหาวิทยาลัยรังสิต นับเป็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ของอธิการบดี และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัย (ท่านประสิทธิ์ อุไรรัตน์) ที่สร้างความร่วมมือในการผลิตแพทย์ ระหว่างรัฐและเอกชน อีกทั้งเลือกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และมีความทันสมัยเป็นอันดับต้นของประเทศ และภูมิภาคเอเชีย เป็นที่ฝึกภาคคลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์ โดยการร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดตั้งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์–มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้บัณฑิตแพทย์ที่จบออกไป เป็นที่ยอมรับของแพทย์และสังคมทั่วไป

ในการนี้เชื่อว่า มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่างมีเป้าหมายเจตนารมณ์เดียวกัน คือพัฒนาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษาให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพเทียบเท่าระดับนานาชาติ รวมถึงการปลูกฝังให้นักศึกษาแพทย์มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ในส่วนของนักศึกษาแพทย์ทุกคนต่างก็ มีเป้าหมายเช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัย คือ การเป็นแพทย์ที่มีความรู้เป็นเลิศในทางการแพทย์ มีมาตรฐาน คุณธรรมจริยธรรมดีเยี่ยม และเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป อันนำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ให้โอกาสเยาวชนมากมาย ในการสานฝัน อุดมการณ์ในการเป็นแพทย์ ด้วยระยะเวลา 6 ปี ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ปั้นและหล่อหลอมในการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม ในการสร้างคน และปั้นดินให้เป็นดาว

ในปัจจุบันมาตรฐานชี้วัดที่สามารถสะท้อนถึงการมีคุณภาพ มีหลายมาตรฐานชี้วัด เช่น การที่บัณฑิตแพทย์ได้ออกไปปฏิบัติงานจริงหลังจบการศึกษา การสอบวัดผลระดับชาติ การสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ซึ่งแต่เดิมวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันเดียวที่ถูกประเมินมาตรฐาน แต่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2548เป็นต้นมาทางแพทยสภาได้กำหนดให้นักศึกษาแพทย์ทุกสถาบัน และบัณฑิตแพทย์จากต่างประเทศที่จะทำงานในประเทศไทย ต้องผ่านการประเมินคุณภาพร่วมกันด้วยการสอบวัดผลระดับชาติ หากพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ในการชี้วัดมาตรฐานการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ และบัณฑิตแพทย์ ซึ่งถูกผลิตจากทุกสถาบันได้อย่างเด่นชัด เพราะใช้เกณฑ์ในการวัดด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน และจะเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพการศึกษาของสถาบันเอกชน ที่ดียิ่งขึ้นหากเรามีผลสอบในระดับเทียบเท่ากับสถาบันอื่นๆ

การสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา แบ่งออกเป็น 3 ขั้น

1. ขั้นที่ 1 วัดกระบวนความรู้วิชาพื้นฐานทางการแพทย์ และพรีคลินิก สอบปลายปีชั้นปีที่ 3

2. ขั้นที่ 2 วัดทักษะความสามารถและความรู้ทางหัตถการ สอบปลายปีชั้นปีที่ 5

3. ขั้นที่ 3 วัดกระบวนความรู้ทฤษฎีทางคลินิก สอบหลังปลายปีชั้นปีที่6

อย่างไรก็ดีผลสะท้อนจากการสอบวัดความรู้ระดับชาติ การสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นที่1ของแพทยสภา ปรากฏว่านักศึกษาแพทย์ ม.รังสิต มีผลการสอบผ่านในจำนวนร้อยละที่ต่ำมาก เป็นเวลาติดต่อกันใน 2 ปีที่ผ่านมา (เริ่มมีการสอบได้ 2 ปี) เมื่อเทียบกับผลสอบของนักศึกษาแพทย์จากสถาบันอื่น

จากผลการสอบใบประกอบฯ ทำให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ถูกสังคมถามถึงมาตรฐาน คุณภาพในการจัดการศึกษาทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อนักศึกษาแพทย์ที่จะจบออกไปทำงานว่าจะได้รับการยอมรับมากน้อยเพียงใด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนักศึกษาแพทย์และผู้ปกครองต่างมีความกังวล และอยากให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมานักศึกษาแพทย์ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้ชี้แจงให้ผู้ปกครองรับทราบ นอกจากนี้ยังมี นักศึกษาจำนวนหนึ่งโพสข้อความลงเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยและเว็บบอร์ดของทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็น ด้วยเพียงแต่หวังให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับทราบปัญหา สาเหตุ และข้อเสนอแนะ เพราะท่านอธิการเป็นความหวังและที่พึ่งของนักศึกษาได้รับโอกาสจากมหาวิทยาลัย ในการทำให้เราเป็นแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการนักศึกษาแพทย์ร่วมกับนักศึกษาชั้นพรีคลินิกได้จัดให้มีการประชุมวิเคราะห์ถึงปัญหาและจัดให้มีการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวางซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของปัญญาหลักๆได้ดังนี้

1. ปัจจัยจากทางด้านตัวนักศึกษา

เกิดจากคุณภาพนักศึกษาแพทย์เองที่มีความพร้อมทางวิชาการ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความใส่ใจในการศึกษา ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับนักศึกษาแพทย์ของโรงเรียนแพทย์รัฐบาล ซึ่งปัญหาส่วนนี้ทางสโมสรฯ ได้พยายามจัดการแก้ไขปัญหาโดยพยายามสนับสนุนให้นักศึกษาปรับปรุงตนเองให้ขยัน พยายาม และตั้งใจเรียน อีกทั้งยังมีโครงการ “พี่สอนน้อง” และภายในรุ่นของนักศึกษาแต่ละชั้นปีได้จัดทำโครงการ “เพื่อนสอนเพื่อน” เพื่อช่วยนักศึกษาที่มีปัญหาความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องที่มีความสามารถ การเรียนดี มาเป็นกลุ่มผู้สอนและแนะนำแนวทางการเรียน เช่นการจัดการติวภายในรุ่น การอบรม การทำเอกสารส่งเสริมการเรียนรู้ในวิชาต่างๆส่งต่อแต่ละรุ่น การหาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ฯลฯ

ในการนี้จะเห็นได้ว่านักศึกษามิได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิด ได้มีการพยายามพัฒนาตนเอง มีการให้ความช่วยเหลือระหว่างเพื่อน ให้มีความทัดเทียมกับสถาบันอื่นในภาครัฐ ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นตามเหตุผลที่ชี้แจงข้างต้นทางนักศึกษาแพทย์จึงมีมติให้ทางสโมสร จัดทำหนังสือขอปรึกษาชี้แจงและเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์

2. ปัจจัยที่มาจากทางมหาวิทยาลัยรังสิต

อาจจะกล่าวได้ว่านับตั้งแต่มีเสียงสะท้อนถึงปัญหาดังกล่าว ทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่นักศึกษามองเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์มีการจัดให้มีโครงการจัดติวเพื่อสอบใบประกอบฯ การกระตุ้นและดูแลเอาใจใส่จากอาจารย์ ตลอดจนการสนับสนุนเอกสาร ตำราเรียน รวมไปถึงเงินทุนสนับสนุนทางด้านกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งทางวิชาการ และคุณลักษณะที่ดีของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจและความเอาใจใส่ต่อปัญหาดังกล่าวในระดับหนึ่ง ซึ่งทางนักศึกษาแพทย์รู้สึกขอบคุณวิทยาลัยแพทยศาสตร์ , คณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิตที่ได้ให้ความสำคัญของปัญหานี้

ในเรื่องนี้ทางนักศึกษาแพทย์ ซึ่งถือเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ตระหนักว่าถ้ามีโอกาสในการเข้าชี้แจงจะสามารถสะท้อนถึงปัญหาบางประการที่ทางผู้บริหารได้รับทราบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด พร้อมทั้งนำเสนอปัญหาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เช่น ทางด้านทรัพยากรที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาวิชาแพทย์ จำนวนสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน จำนวนอุปกรณ์การทดลองปฏิบัติการต่อจำนวนนักศึกษา ภาระงานของอาจารย์ที่มากและต้องรับผิดชอบนักศึกษาหลายคณะ ความไม่เชี่ยวชาญทางคลินิกที่จะประยุกต์ความรู้ของอาจารย์ผู้สอน สภาพห้องเรียน และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษา การเชิญอาจารย์พิเศษให้เพียงพอต่อการให้คำปรึกษาสร้างเสริมความรู้ทางวิชาการจากสถาบันอื่น เพื่อให้นักศึกษาแพทย์รวมถึงผู้ปกครองจะได้หาทางช่วยกันพัฒนาแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัย พวกเราระลึกถึงอธิการบดี ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่มีจิตใจเมตตาต่อนักศึกษาทุกคนในมหาวิทยาลัยรังสิตมาโดยตลอดและเป็นนักบริหารที่มีประสบการณ์สูง

ในการนี้นักศึกษาแพทย์ ขอความกรุณาท่านให้เวลานักศึกษาแพทย์เข้าปรึกษาหารือชี้แจงปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในมุมมองของนักศึกษาแพทย์ ให้ท่านอธิการบดีรับทราบ เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ร่วมกันระหว่างนักศึกษาแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิต โดยนักศึกษาแพทย์มีความปรารถนา และคาดหวังว่าท่านอธิการบดี จะให้ความรัก ความใส่ใจแก่นักศึกษาแพทย์ พร้อมชี้แจงแนวทางในการแก้ปัญหาของท่าน เพื่อผลประโยชน์ของทั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อสร้างสรรค์ ผลิตนักศึกษาแพทย์ที่มีคุณภาพ ที่สมบูรณ์ สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต

ทั้งนี้นักศึกษาแพทย์จะขอความกรุณาเข้าพบท่านเพื่อเรียนปรึกษาและขอรับฟังคำชี้แจงกับอธิการบดีโดยตรง ตลอดจนเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อท่าน ในเวลา 15:00น ของวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2550

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Posted in: ไม่มีหมวดหมู่ Tagged: คณะแพทย์, คุณภาพ, จดหมาย, ปรับปรุง, ปัญหา, มหาวิทยาลัย, รังสิต, อธิการ, แพทย์

อวดผลงานวิชาคอมพิวเตอร์

March 21, 2007 by Gla 12 Comments
การบ้านวิชาคอมพิวเตอร์ หัวข้อ “ชีวิตในรั้วโรงเรียนมัธยม” ไม่เกิน20 บรรทัด

 

นักศึกษาทุกคน ก่อนที่จะมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ ทุกคนย่อมเคยเป็นนักเรียน และผ่านโรงเรียนมัธยมมาด้วยกันทั้งนั้น

ย้อนนึกถึงสมัยเมื่อเราเรียนอยู่มัธยม ช่างแตกต่างกับชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัยเสียเหลือเกิน

ข้าพเจ้าเรียนจบมัธยมต้นจากโรงเรียนนครสวรรค์ห้องคิงและเป็นห้องโครงการดาวรุ่งมุ่งสู่โอลิมปิก จบมัธยมปลายจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่เป็นโรงเรียนประจำและทุกคนเป็นนักเรียนทุน ทั้งสองโรงเรียนนี้มีความเหมือนกันบนความแตกต่าง คือได้ให้ประสบการณ์และบทเรียนที่ดีแก่ข้าพเจ้าในด้านต่างกัน แต่มีบุญคุณ ทำให้ข้าพเจ้าได้ดีจนถึงทุกวันนี้เหมือนกัน

ความสำเร็จของคนแต่ละคนนั้น กล่าวได้ว่าหนทางไกลหมื่นแสนลี้เริ่มต้นจากก้าวแรก ข้าพเจ้าเชื่อว่านอกเหนือจากครอบครัวซึ่งสำคัญเป็นอันดับหนึ่งแล้ว ชีวิตในรั้วโรงเรียนมัธยมมีส่วนสำคัญมากในการสร้างพื้นฐาน และบ่มเพาะรากฐานของชีวิตคนคนหนึ่ง สภาพแวดล้อมใน สมัยเรียนมัธยม และการสอนสั่ง ปลูกฝังจากอาจารย์ มีผลต่ออนาคตของนักเรียน ไปจนถึงจุดสูงสุดของชีวิต

สมัยมัธยมต้น ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมาโดยตลอด อยู่หอพักที่มีอาจารย์หอพักดี เอาใจใส่ และเน้นให้เด็กมีระเบียบวินัย การเรียนในห้องเรียน อาจารย์ผู้สอนมีความสามารถและทำให้ข้าพเจ้าตักตวงความรู้ได้มาก นอกจากนั้นด้วยความสนใจส่วนตัว และการสนับสนุนของอาจารย์ ข้าพเจ้าจึงมักจะแข่งขันทางวิชาการและได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศหรือระดับจังหวัด สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน ในสมัยมัธยมต้นข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจการกระทำของคนอื่นสักเท่าไร และยังช่วยเหลือเผื่อแผ่เพื่อนๆหรือสังคมได้ไม่มาก ซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ในสมัยมัธยมปลายสภาพแวดล้อมดีมากขึ้น และด้วยคุณภาพของโรงเรียน ข้าพเจ้าจึงยิ่งได้รับโอกาสมากได้พบกับสิ่งดีดี มีความรู้ ข้าพเจ้าไม่เคยต้องเรียนพิเศษเหมือนที่นักเรียนส่วนใหญ่ในประเทศเรียนกัน ข้าพเจ้ากลายเป็นนักกิจกรรม และได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย ได้ความรู้และมีความสามารถในหลายด้าน เรียกได้ว่า ความรู้นอกบทเรียน ซึ่งยังผลความสำเร็จและทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและก็ยังเป็นเช่นดังว่ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ที่นี่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จัก พบเจอกับเพื่อนที่มีความคิด มีความสามารถระดับประเทศหลายคน ข้าพเจ้าได้ประสบการณ์หลายอย่างที่ดี

ในสมัยมัธยม เรื่องหลักๆที่จะเป็นความประทับใจ และไม่ลืมเลือน สำหรับคนทั่วไป ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นเรื่อง “เพื่อน”

คุณแม่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า “เราจะสนิทกับเพื่อนตอนเป็นนักเรียนมัธยมปลาย มากที่สุด” และข้าพเจ้าเชื่อว่าคนหลายๆคนก็คงคิดเช่นกัน สำหรับข้าพเจ้าเอง คิดต่างไปเล็กน้อย เพราะข้าพเจ้าเป็นคนมีเพื่อนมาก และมีเพื่อนสนิทกันหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสมัยไหน มหาวิทยาลัย มัธยม หรือประถม จนไปถึงกระทั่งสมัยเรียนชั้นอนุบาลก็ตาม

เพื่อนในสมัยมัธยมมีผลกระทบต่อเราอย่างมาก ถ้าช่วยกันกระตุ้นการเรียนก็จะช่วยกันในทางที่ดี แต่หากชวนกันไปสำมะเรเทเมา ก็ทำให้เหลวแหลก ข้าพเจ้ามีเพื่อนทุกประเภท ตั้งแต่ขายยา เที่ยวผู้หญิง จนไปถึงระดับนักเรียนทุนโอลิมปิคต่างประเทศ ความสนิทกันนั้น ทำให้ข้าพเจ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหลายวงการ มีเพื่อนทุกวงสังคม และข้าพเจ้าไม่เคยลืมเพื่อน หมั่นติดต่อกันอยู่เสมอ

สิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าทำให้คนเราสนิทกันได้มากในสมัยเป็นนักเรียนมัธยม เป็นเพราะว่าความใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนตอนเป็นผู้ใหญ่

มัธยมที่ผ่านพ้นไปเป็นความทรงจำที่ดี เป็นเบื้องหลัง เป็นที่มาของตัวตนข้าพเจ้าในวันนี้ และสำคัญที่สุดคือเป็นแรงผลักดันให้ข้าพเจ้าและหลายๆคนเดินก้าวต่อไปในทางที่มุ่งไป เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสามารถ มีคุณธรรม ทำประโยชน์ให้แก่สังคม ไม่เสียทีที่เกิดมา ด้วยศรัทธา “สูญเสียเพื่อนดีดียิ่งกว่าเสียทรัพย์นับแสน แต่สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธายิ่งกว่าเสียเพื่อนหมื่นพันมหาศาล”


ช่วงนี้เริ่มวุ่นวายอีกแล้วครับท่าน วันนี้ไม่สามารถอัพบล็อกได้เนื่องจากติดภารกิจครับ
ดังนั้น วันนี้ จึงใคร่ขอขึ้นผลงานวิชาคอมพิวเตอร์ CSC100 ไปพลางๆก่อนละกันครับ มีสองส่วน คือ
1.เรียงความโดยใช้ Notepad 2.ผลงานวาดภาพโดยใช้โปรแกรม MS paint
[ช่างเป็นหลักสูตรการเรียนที่เก่าแก่ ขนาด Storage media ยังใช้ Floppy Disk (A:) แผ่นสี่เหลี่ยม 1.44MB รุ่นเก่ากึกอยู่เลยล่ะครับ]
Posted in: บทความ, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: กระต่าย, คอมพิวเตอร์, บทความ, มหาวิทยาลัย, รังสิต, วิชา, ศิลปะ

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.