• About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

MD. Dr. Chanesd Srisukho นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข หมอกล้า Dermatology

ประวัติ นายแพทย์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข

แพทยสภา

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ

October 25, 2020 by Gla Leave a Comment

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ

บทความนี้เป็นการแกะสคริปต์ รายการหมอกล้าเล่า ตอนพิเศษ AI กับ วงการแพทย์

คุณรู้หรือไม่ว่า A.I. มีบทบาทสำคัญกับวงการแพทย์ ถ้าอยากรู้ติดตามดูคลิปนี้นะครับ  

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการหมอกล้าเล่า ผมหมอกล้านะครับ หรือ ชเนษฎ์ ศรีสุโข  

AI หรือ Artificial intelligence  ได้มีความสำคัญกับโลกของเราในปัจจุบันมากขึ้น จนกลายเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของโลกในยุคถัดไป 

AI คือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ การที่หุ่นยนต์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น มีการพัฒนาสมองที่ไปไกลกว่ามนุษย์ ซึ่งมีศัพท์คำนึงที่น่าสนใจ คือคำว่า “Singularity” 

โดย Singularity คือ วันที่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ จะมีความฉลาดเหนือมนุษย์ มี Productivity และสามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่า 

ย้อนไปในอดีต อะไรที่ทำให้เกิด “จุดเปลี่ยน” ของมนุษยชาติ  

จากหนังสือเรื่อง “Homo sapiens” หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนโดยนายแพทย์จากประเทศอิสราเอล ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นึงในอดีต ที่ทำให้มนุษย์เกิดการพัฒนาสมองอย่างก้าวกระโดด นั่นคือ เหตุการณ์ที่มนุษย์ได้ค้นพบ “ไฟ” 

การค้นพบไฟ ทำให้ แทนที่มนุษย์จะเอาสมองไปคอยตามหาแสงสว่าง อาหาร หนีศัตรู หรืออื่นๆ มันทำให้มนุษย์สามารถ “พลิกเกมส์” จาก “ผู้ถูกล่า” เป็น “ผู้ล่า” 

หลังจากนั้น สมองของมนุษย์ได้พัฒนาก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องมาคอยคิดเรื่องหนีอันตราย จึงทำให้เกิดการพัฒนาด้านภาษาควบคู่ไปกับวัฒนธรรม และในเวลาต่อมา “เรื่องเล่า” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น 

            ในหนังสือ “Homo sapiens” ได้กล่าวว่า หากเราปล่อยให้คนอยู่รวมกันตามธรรมชาติ จะอยู่รวมกลุ่มกันได้ไม่เกิน 150 คน ถ้าไม่มี เรื่องเล่า ความเชื่อ หรือสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน  สักพักคนกลุ่มนี้จะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ 

เรื่องเล่าร่วมกันในอดีต นั้นเริ่มมาจาก การบอกต่อๆกันว่า มีศัตรู แหล่งน้ำ หรือแหล่งอาหารอยู่ตรงไหน  

จนกระทั่ง “เรื่องเล่า” ได้พัฒนามาเป็น “หลักการมโนธรรม” ที่มีคุณค่า ซึ่งได้แก่ “ศาสนา” “คุณงามความดี” รวมไปถึง “ความเป็นชาติ” และ “กฎหมายต่างๆ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสเรื่องราวนั้นๆในประสบการณ์เดียวกันเลยด้วยซ้ำไปครับ 

เรื่องที่เล่ามานี้ คือ กลไกและวิวัฒนาการการพัฒนาของมนุษย์ โดยหลังยุคการค้นพบไฟและหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยี A.I. กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สำคัญที่ทำให้มนุษยชาติก้าวไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

บทบาทของ A.I. กับการแพทย์นั้น มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณหมอและทีมงาน รวมไปถึงทีมสาธารณสุข ในการช่วยดูแลผู้ป่วยหลายๆด้าน ได้แก่ 1. การตรวจ 2. การวินิจฉัย 3. การรักษา  

อาทิเช่น คุณหมอสามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถวินิจฉัยลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ คุณหมอสามารถตรวจความผิดปกติ (Pathology) ของสมอง ช่องท้อง หรือช่องอก ด้วยการอ่านภาพ Imaging ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CT หรือ X-ray เพื่อให้วินิจฉัยมีความผิดปกติได้ด้วยฟิล์มต่างๆ ทำให้คุณหมอและทีมสามารถวางแผนการรักษาร่วมกับคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในด้านคุณหมอผิวหนัง ระบบ A.I. เข้ามามีบทบาทในเรื่อง การสร้างภาพถ่ายของผิวหนังคนไข้ เพื่อช่วยคุณหมอในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของโรคผิวหนัง ทำให้การวางแผนการรักษารวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น 

ในด้านคุณหมอผ่าตัด ระบบ A.I. เข้ามามีบทบาทในเรื่องการใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) หรือแม้กระทั่ง สถานพยาบาลต่างๆ ก็มีหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการดูแลคนป่วย  

ถึงแม้ว่า A.I. จะมีบทบาทในด้านการแพทย์มากแค่ไหนก็ตาม กฎหมายของแต่ละประเทศยังคงให้คุณหมอและทีมเป็นผู้ดูแลและควบคุม เพื่อป้องกันความผิดพลาดของระบบ 

ในประเทศไทย มีคณะแพทย์หลายที่ ได้มุ่งเน้นเรื่องของการเรียนหมอและเรียนรู้เพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีร่วมด้วย ซึ่งบางที่ มีการผลักดันให้เรียนแพทย์จบ ป.ตรี และได้ปริญญาโทเกี่ยวกับด้านวิศวกรรม A.I. ร่วมด้วย   

ปัจจุบันนี้ การเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเทคโนโลยีการแพทย์ หรือ เทคโนโลยี A.I. เราพบว่า ได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นแรงงานที่ต้องการในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน 

เทคโนโลยี A.I. นั้น ก็ได้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่มีความรวดเร็ว คือ 5G และ 6G  ซึ่งทำให้คุณหมอสามารถทำอะไรได้อย่างฉับไวมากขึ้น อาทิเช่น คุณหมอสามารถดูแลคนไข้อีกซีกโลกนึงได้ผ่านทางระบบ A.I. ได้เลยครับ 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดยังคงเป็น “คุณหมอ” ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลคนไข้ เพราะการสื่อสารที่ดี การสื่อสารจากใจถึงใจ และการอธิบาย ทำให้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพื่อร่วมกันหาแนวทางดูแลรักษา ก่อให้เกิดความผูกพันที่ดีต่อกัน 

“องค์กร” ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทางการแพทย์ไทยโดยตรง คือ “แพทยสภา”  

“แพทยสภา” ก่อตั้งขึ้นตาม “พระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม” โดยคุณหมอในปัจจุบันสามารถร่วมเลือกตั้ง เพื่อให้มีทีมกรรมการ มาคอยดูแลเกี่ยวกับเรื่องการออกกฎหมายทางการแพทย์ และเป็นตัวแทนของแพทย์ไทย เพื่อนำเสนอนโยบายต่อรัฐบาล ซึ่งต่อไปเราจะต้องมีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมเรื่อง A.I. ซึ่งเรื่องที่เราได้ยินบ่อยๆ คือ การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine  

ในช่วงนี้ แพทยสภาก็มี “การเลือกตั้ง” ซึ่งปีนี้เราใช้ระบบออนไลน์ นี่ก็เป็นเรื่องของการที่ A.I. เข้ามีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมองย้อนไปในสมัยก่อน เราเลือกตั้งด้วยการใช้กระดาษและดินสอ 2B แต่ปัจจุบันไปจนถึงอนาคต คนรุ่นใหม่ๆ สามารถเลือกตั้งออนไลน์ได้ ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น 

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็น A.I. , Telemedicine หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “พวกเราทุกคนมีส่วนร่วม” เพื่อมา “เปลี่ยนแปลง” และ“พัฒนาการแพทย์” ไปด้วยกันนะครับ 

ขอบคุณครับ ชเนษฎ์ ศรีสุโข (หมอกล้า)

FB: www.facebook.com/chanesd

ประวัติผู้เขียน https://www.bloggla.com/?page_id=27

AI กับวงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ, รายการหมอกล้าเล่า Special Episode คุณหมอกล้าวิเคราะห์เรื่อง AI กับวงการแพทย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องนี้
Posted in: รายการหมอกล้าเล่า Tagged: A.I., AI กับวงการแพทย์, จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, วงการแพทย์, หมอกล้าเล่า, แพทยสภา

รณรงค์ เพื่อนแพทย์เลือกตั้งกรรมการแพทยสภา 17 พฤศจิกายน 2557 ถึง ต้นมกราคม 2558

November 2, 2014 by Gla Leave a Comment

คลิปรณรงค์ให้แพทย์ออกมาเลือกตั้งแพทยสภาครับ วาระ 2558-2560

An awareness campaign for TMC ‘s 2015 election in Thailand (The Medical Council of Thailand’s elected committee).

English ,Chinese and Thai subtitles are available.


http://www.youtube.com/watch?v=L3XGSVcacCA

 

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์, สถานการณ์บ้านเมือง Tagged: กรรมการแพทยสภา, ประชาธิปไตย, วงการแพทย์, เลือกตั้ง, แพทยสภา

เล่าประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง รังสิต 3 ตุลา 57 ครับ

October 4, 2014 by Gla Leave a Comment

[เขียนถึงเพื่อนแพทย์ และพี่น้อง ม.รังสิต ครับ]

ยาวนะครับ แต่ ขอบันทึกไว้เป็นรอยในประวัติศาสตร์…

พี่น้อง หลายๆท่านร่วมยุคเดียวกัน (รังสิตรุ่น 14 – 21, ส่วนผมเอง รุ่น 17) คงพอทราบว่า…นักศึกษาแพทย์ ม.รังสิต นั้น มีส่วนในการผลักดันหลายๆอย่างให้แก่คณะ สมัยที่เรียนอยู่ เพราะตอนเรียนนั้นมีอุปสรรคเกิดขึ้นมาก ความรักในสถาบันผลักดันให้เราทำครับ…

เราผลักดัน ตั้งแต่เรื่องการ พัฒนาหลักสูตรนักศึกษาแพทย์ใหม่ การเพิ่มทรัพยากร อุปกรณ์ การเพิ่มอาจารย์ เพิ่มอาจารย์ใหญ่ตลอดจนการสร้างตึกคณะแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต สำเร็จในปัจจุบัน เป็นเพราะแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายๆท่าน และคณบดีท่านก่อน (พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล) ที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องหนึงที่สำคัญมาก เลย คือเรื่องการได้ไปใช้ทุน (หรือโครงการเพิ่มพูนทักษะ) ไปใช้ทุนตามต่างจังหวัด

ในสมัยปี 2553-2554 นั้น เราถูกตัดสิทธิ์ ไม่ได้ให้เข้าจับฉลาก เนื่องจากตำแหน่งที่ กพ.(ข้าราชการพลเรือน) ให้ทางกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงพอ มีการจะกีดกันไม่ให้แพทย์ที่จบจากรังสิต ได้จับฉลาก

หากไม่ได้จับฉลากไปใช้ทุน ก็จะลำบาก เพราะเราต่างมุ่งหมายใบเพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อไว้ใช้เรียนต่อแพทย์ประจำบ้าน สาขาต่างๆ

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, รังสิต, วงการแพทย์, ส่วนตัว Tagged: กรรมการ, คณะแพทย์รังสิต, ชัญวลี ศรีสุโข, ชุมนุม, นักศึกษาแพทย์, รังสิต, ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, แพทยสภา

ฟิลเลอร์ ฉีดจมูก ตาบอด!!!

June 4, 2014 by Gla Leave a Comment

[4 มิย 57]

เรื่องฟิลเลอร์ฉีดจมูกตาบอด เร็วๆนี้ คนฉีดไม่ใช่แพทย์ แต่ แพทย์ทั่วประเทศที่ฉีดฟิลเลอร์ กำลังจะรับเคราะห์!!!

แพทยสภาเตรียมประกาศเลิกใช้ฟิลเลอร์ ฉีดจมูก ข่าวพาดหัวเร็วๆนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ประชาชนไปฉีดฟิลเลอร์กับหมอเถื่อน แล้ว ตาบอด

การแก้ปัญหาปลายเหตุเช่นนี้ เป็นแนวคิดเหมือนสมัย กรณีซูโดเอฟฟรีดีน (pseudoephedrine) ยาแก้คัดจมูกที่ช่วยคนได้ทั่วประเทศ แต่ดันมี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลายแห่ง แอบยาทำรั่วไหลไปให้ขบวนการผลิตยาเสพติด
เลยมีการประกาศห้ามใช้ ยกเลิกซูโดเอฟฟรีดีนทั่วประเทศ

(หมออดใช้ยารักษา ส่วนพวกค้ายาเสพติดก็ แค่ “เปลี่ยนวัตถุดิบกับแหล่งที่มา” และ “ลักลอบขายยาต่อ”)

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: ข่าว, บทความ, วงการแพทย์, วิชาการ, ส่วนตัว Tagged: จมูก, ฉีด, ตาบอด, ฟิลเลอร์, แพทยสภา

ศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

June 29, 2011 by Gla 8 Comments

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์ (1)

(Terminology about Thai Medical Education : part I)

ชเนษฎ์ ศรีสุโข bloggla.com – มิถุนายน 2554

ด้วยรำลึกถึง อ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และขอบคุณบุพการี ต้นแบบอย่างแพทย์ที่ดี

Thai medical education term

คำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาต่อทางการแพทย์

*เขียนอุทิศไว้เป็นวิทยาทานและความบันเทิงแก่แพทย์รุ่นหลัง ที่รุ่นพี่หรืออาจารย์ของน้องอาจไม่ได้บอกไว้ชัดเจน ความดีทั้งหมดยกให้วงการแพทย์ครับ

คำเตือน บทความนี้อาจมีสาระอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เสียดสีสังคมเพื่อความบันเทิง
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น…

[คลิกเพื่ออ่านต่อ Read more…]

Posted in: บทความ, ยอดนิยม, วงการแพทย์, วิชาการ Tagged: cpird, New tract, การศึกษาต่อ, การแพทย์, คลินิก, ความหมาย, คือ, นักศึกษาแพทย์, นิสิต, ปรีคลินิก, วงการแพทย์, ศรว, ศัพท์, ศัพท์การแพทย์, ศัพท์เฉพาะ, ศูนย์แพทย์, หมายถึง, องค์กรแพทย์, อาจารย์แพทย์, เรียนต่อ, แปลว่า, แพทยสภา, แพทย์ประจำบ้าน, แพทย์พี่เลี้ยง, แพทย์เฉพาะทาง, แพทย์ใช้ทุน, โรงเรียนแพทย์เอกชน, ใบประกอบ, ใบเพิ่มพูนประสบการณ์

โรงเรียนแพทย์เอกชน

March 12, 2008 by Gla 6 Comments

โรงเรียนแพทย์เอกชน

มีประเด็นเป็นข่าววงการศึกษา เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา

นศ.แพทย์ม.รังสิตร้องแพทยสภา ตรวจสอบภาคพรีคลินิก– กรุงเทพธุรกิจ

ม.รังสิตพร้อมแจงแพทยสภายังมั่นใจ5ปีเป็นม.แพทย์ชั้นนำ– เดลินิวส์

ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์ –สยามรัฐ

ร้องแพทยสภาตรวจสอบภาคพรีคลินิกม.รังสิต– คมชัดลึก

บทความนี้ มิได้มีเจตนาจะกล่าวให้ร้าย หรือโจมตีผู้ใด หากแต่ถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่จะได้ชี้แจง และอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงอันดีงามอีกด้วย และชื่นชมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ถ้าพูดถึงโรงเรียนแพทย์แล้ว คนทั่วไปมักไม่ค่อยได้เข้ามาสัมผัสรู้ลึก คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักชื่อเพียงโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ โด่งดัง เช่น ศิริราชพยาบาล รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ วชิรพยาบาล ฯลฯ

ResizeDSC_0027

ในความเป็นจริง ปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย รวมกัน มากถึง 16 สถาบันแล้ว และกำลังเพิ่มมากขึ้น

สำหรับแพทย์รังสิตนั้น ก่อตั้งสมัยคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้เมตตากรุณา ได้มีความพยายามผลักดัน จนทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้ในปีการศึกษา 2532

ตลอดระยะเวลาในยุคแรก มีการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความมีคุณภาพทัดเทียมแพทย์รัฐบาลจนแพทยสภาได้รับรองมาตรฐานหลักสูตรเมื่อปีพ.ศ. 2537 คุณพ่อประสิทธิ์มุ่งหวังสร้างสรรค์แพทย์เอกชน ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ โดยมิหวังผลกำไรเกินควร แพทย์รังสิตจึงค่อยๆเจริญงอกงาม ดุจต้นกล้า มีภาพลักษณ์ และชื่อเสียงอันดี

การบริหารงานของมหาวิทยาลัยรังสิต ต่อมาได้ตกอยู่ใต้การดูแลของดร.อาทิตย์ ท่านได้มีความพยายามในการระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดคณะต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งมีความพยายามเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาคณะต่างๆ และนักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มค่าเรียน เพิ่มค่าลงทะเบียน

การเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง ปริมาณ กับคุณภาพการศึกษา และได้มีการถ่ายโอน การบริหารแพทย์รังสิต 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ให้คณะวิทยาศาสตร์ดูแล ภาคปรีคลินิกจึงขึ้นตรงกับทางผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วน 3ชั้นปีหลัง (ภาคคลินิก)ยังขึ้นตรงต่อคณบดีแพทย์ซึ่งปัจจุบันคือ ศ.(คลินิก)พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล และคณาจารย์แพทย์ ผู้ซึ่งเป็นที่รัก คอยดูแลนักศึกษาแพทย์เป็นอย่างดีตลอดมา

แม้ว่าภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในขั้นเยี่ยมยอด

แต่สำหรับแพทย์เองนั้น มีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง เป็นปัญหาภายใน 3ชั้นปีแรก(ภาคปรีคลินิก) ซึ่งรับผิดชอบดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาแพทย์จำนวนมากรู้สึก ถึงความไม่ชอบธรรม ความขาดแคลน และขาดความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาแพทย์ จากผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รวมถึงจากผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ขั้นที่1 (สอบหลังจบปรีคลินิก) ที่แพทย์รังสิตได้น้อย และต่ำสุดมาหลายปี ในขณะที่ขั้นที่2, 3 (สอบหลังเรียนภาคคลินิก) สอบได้คะแนนสูงติดอันดับประเทศ เป็นข้อสรุปว่า คณะวิทยาศาสตร์ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทางด้านคุณภาพการเรียนการสอน ทั้งหลักสูตร และทรัพยากร อุปกรณ์ อาคาร บุคลากร ฯลฯ ที่ยังไม่เพียงพอและไม่ดีเท่าที่ควรตามเกณฑ์ขั้นต่ำแพทยสภา

รวมถึงในส่วนนักศึกษาแพทย์เองก็ยังมีหลายคนที่ไม่ตั้งใจ และไม่ขยันเรียนเท่าที่ควร

ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์และแกนนำ มีการร้องเรียนอยู่ภายในมาโดยตลอด เป็นการเมืองภาคนักศึกษาแพทย์ มีหนังสือร้องเรียนจำนวนหลายฉบับ ชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้ง จนถึง เมื่อวันที่ 3สิงหาคม 2550 มีการชุมนุมใหญ่กว่า300คน (ดังภาพ) การพบปะผู้บริหารหลายระดับ

การร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องหลักสูตร ทรัพยากร อุปกรณ์การสอน ฯลฯ กันมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อต้องการสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่พวกเขาควรจะได้รับ และเพื่อคุณภาพที่แท้จริง เหตุการณ์ดำเนินเรื่อยมาจนถึงกรณีนักศึกษาแพทย์ยื่นหนังสือร้องเรียนแพทยสภา แม้ว่าในท้ายสุด ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ขอระงับนักศึกษาแพทย์ให้ถอนหนังสือดังกล่าวก็ตาม

เรื่องราวทั้งหมดนี้ นับจารึกไว้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์แพทย์รังสิต แม้ว่าจะคล้ายกับมีการต่อสู้ ถกเถียง ทะเลาะกันบ้างระหว่างนักศึกษาแพทย์ กับทางผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับต่างๆ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ทั้งหมดก็เพื่อหาทางออกร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์สิ่งดี ผลิตแพทย์คุณภาพสร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

คาดหวังว่า ท่านอธิการบดีผู้เมตตากรุณา และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ เริ่มได้ให้ความใส่ใจกับนักศึกษาแพทย์มากขึ้น และเริ่มสนับสนุน ส่งเสริม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อที่มีมาตรฐานภาคปรีคลินิกก้าวทัดเทียมแพทย์รัฐบาลในระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อชื่อเสียงของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่สมัยคุณพ่อประสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์ ด้วยความเมตตากรุณาแก่พวกเราเสมอมา รวมถึงเพื่อชื่อเสียงและคุณภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิตเองทั้งสิ้น

จะเป็นไปดั่งความมั่นใจของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ยืนยันกับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ดังพาดหัวข่าวว่า

“ม.รังสิตรับลูกนศ. ฟื้นคุณภาพว.แพทย์ คาด5ปีติดท็อปไฟว์”

RetouchDSC_0063

ResizeDSC_0072

RetouchDSC_0033RetouchDSC_0050

Posted in: ข่าว, บทความ, ยอดนิยม, รังสิต, วงการแพทย์ Tagged: การชุมนุม, ข่าวดัง, จดหมายร้องเรียน, นักศึกษาแพทย์, ประท้วง, ประวัติ, ประวัติศาสตร์, ปัญหาคุณภาพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ร้องเรียน, รังสิต, รุ่นพี่, อาทิตย์, แพทยศาสตร์, แพทยสภา, แพทย์, แพทย์รังสิต

Search everything ค้นหา

Archives บทความ

Categories ประเภท

Recent Posts ประกาศล่าสุด

  • Be Original: Chanesd Srisukho (Health and Beauty Center by Doctor Gla)
  • ร่วมรำลึกถึงคุณย่าอัมพร ตันเจริญ
  • รายการหมอกล้าเล่า ถึงไหนแล้ว
  • หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข
  • หมอกล้าเล่า ตอนแรก, TheOrigin, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, หมอกล้าเล่า

Pages หน้า

  • About (Eng)
  • Introduction to Bloggla.com
  • Multimedia
  • ชเนษฎ์ ศรีสุโข เว็บไซต์ส่วนตัว หมอ ต้นกล้า Chanesd Srisukho
  • รู้จักคุณหมอชเนษฎ์
    • Education & Work
    • การศึกษาและงาน
    • เกียรติประวัติและกิจกรรม

เลือกอ่านบทความตามคำค้นหา

cpird MWIT กระทรวง กลอน กล้า การชุมนุม การเมือง กีดกัน จับฉลาก จิตวิทยา จิตเวช ชุมนุม ชเนษฎ์ ชเนษฎ์ ศรีสุโข ทักษิณ ธรรม นักการเมือง นักศึกษาแพทย์ บทความ บุญเชียร ประท้วง ประวัติ ประวัติศาสตร์ ปัญหา ปานเสถียรกุล พญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหิดลวิทยานุสรณ์ รังสิต รุ่นพี่ วงการแพทย์ ศรีสุโข สาธารณสุข หมอ หมอกล้าเล่า อาจารย์ อาทิตย์ เพิ่มพูนทักษะ เรียนต่อ แพทยสภา แพทย์ แพทย์ชนบท แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์รังสิต โรคจิต

Copyright © 2015 (A) Blog (of) Gla : Chanesd Srisukho.